การผลิตพืชผักเชิงระบบ เพื่อพัฒนามาตรฐานสินค้า


การผลิตพืชผักเชิงระบบ เพื่อพัฒนามาตรฐานสินค้า
บางคนยังสงสัยว่า ทำไมต้อง ผลิตพืชผักเชิงระบบ ?
      "เกษตรต้องได้รับการผลักดันสู่วิธีคิดและจักการเชิงธุรกิจมากขึ้น เพราะจริงๆแล้วการเพาะปลูกต่างๆที่เกษตรกรทำอยู่ก็เพื่อขายแลกเปลี่ยนเป็นเงินเพื่อหมุนเวียนเศรษฐกิจในครอบครัวกันทั้งนั้นการเพาะปลูกแบบยังชีพนั้นมันไม่พอยังชีพมานานแล้วก่อนที่จะถึงยุคเศรษฐกิจไร้พรมแดน ส่วนจะแบ่งไว้กินเองเท่าไหร่นั้นเป็นเรื่องการจักการของแต่ละครอบครัว" เป็นคำกล่าวของเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ (พิทักษ์ สภนันทการ.2553)
      ซึ่งข้อความข้างต้นผู้เขียนเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง ทุกวันนี้การผลิตพืชเกษตรกรต้องการขายกันทั้งนั้น แต่ที่ถูกกดราคาถูกกีดกันก็เพราะข้ออ้างเรื่องของคุณภาพ และมาตรฐานความปลอดภัย การผลิตพืชผักเชิงระบบจำเป็นต้องพัฒนามาตรฐานสินค้า โดยอาศัย ระบบ GAP เป็นส่วนสำคัญ
      มีคำถามต่อมา ทำไมต้อง ผลิตในระบบ GAP ?
       GAP(Good Agriculture Practices) คือ แนวทางในการทำการเกษตร เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีตรงตามมาตรฐานที่กำหนด ได้ผลผลิตสูงคุ้มค่าการลงทุนและขบวนการผลิตจะต้องปลอดภัยต่อเกษตรกรและผู้บริโภค มีการใช้ทรัพยากรที่เกิดประโยชน์สูงสุด เกิดความยั่งยืนทางการเกษตรและไม่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม โดยหลักการนี้ได้รับการกำหนดโดยองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) พูดสั้นๆก็คือ "การผลิตทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม" นั่นเอง
  GAP เป็นระบบการผลิตเบื้องต้น มีข้อกำหนด 8 ข้อ คือ
                  1. แหล่งน้ำ
                      - น้ำที่ใช้ต้องได้จากแหล่งที่ไม่มีสภาพแวดล้อมซึ่งก่อให้เกิดการปนเปื้อนวัตถุอันตรายและจุลินทรีย์
                  2. พื้นที่เพาะปลูก
                     - ต้องเป็นพื้นที่ที่ไม่มีวัตถุอันตรายและจุลินทรีย์ที่จะทำให้เกิดการตกค้างหรือปนเปื้อนในผลิตผล
                     - จัดทำประวัติแปลงและการใช้ประโยชน์ที่ดินในแปลง
                     - ประเมินความเสี่ยงของพื้นที่/ทำแผนผังแปลง
                  3. การใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร
                     - หากมีการใช้สารเคมีในกระบวนการผลิตให้ใช้ตามคำแนะนำ หรืออ้างอิงคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตรหรือตามฉลากที่ขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
                      - ต้องใช้สารเคมีให้สอดคล้องกับรายการ
                      - ห้ามใช้วัตถุอันตรายที่ระบุในทะเบียนวัตถุอันตรายทางการเกษตรที่ห้ามใช้
                  4. การจัดการคุณภาพในกระบวนการผลิตก่อนการเก็บเกี่ยว
                       - การจัดการอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ
                       - การจัดการของเสีย บรรจุภัณฑ์และวัสดุเหลือใช้
                       - การจัดการขั้นตอนการผลิต
                       - การจัดการปัจจัยการผลิต
                  5. การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังเก็บเกี่ยว
                       - สถานที่เก็บรักษาต้องสะอาด อากาศถ่ายเทได้ดีและสามารถป้องกันการปนเปื้อนของวัตถุแปลกปลอม วัตถุอันตรายและสัตว์พาหะนำโรค
                       - อุปกรณ์และพาหะในการขนย้ายต้องสะอาดปราศจากการปนเปื้อนสิ่งอันตรายที่มีผลต่อความปลอดภัยในการบริโภค
                       - ต้องขนย้ายผลิตผลอย่างระมัดระวัง
                       - การปฏิบัติและการจัดการตามแผนควบคุมการผลิต
                       - คัดแยกผลิตผลด้อยคุณภาพไว้ต่างหาก
                 6. การพักผลผลิต การขนย้ายในบริเวณแปลงปลูกและเก็บรักษา
                       - สถานที่เก็บสะอาด อากาศถ่ายเท
                       - ป้องกันการปนเปื้อนจากวัตถุแปลกปลอม วัตถุอันตราย สัตว์พาหะนำโรค
                       - อุปกรณ์และพาหนะขนย้ายสะอาด ปราศจากการปนเปื้อน
                       - ขนย้ายอย่างระมัดระวัง
                 7. สุขลักษณะส่วนบุคคล
                       - ความปลอดภัยอาหาร
                       - สิ่งแวดล้อม
                       - สุขภาพ ความปลอดภัยและสวัสดิภาพของผู้ปฏิบัติงาน
                       - คุณภาพของผลิตผล
                8. การบันทึกข้อมูลและการควบคุมเอกสาร
                       - ต้องมีการบันทึกข้อมูลที่เกี่ยวกับการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร
                       - ต้องมีการบันทึกข้อมูลการสำรวจและการป้องกันจำกัดศัตรูพืช
                       - ต้องมีการบันทึกข้อมูลการจัดการเพื่อให้ได้ผลิตผลคุณภาพ
         ซึ่งปัจจุบันระบบการผลิตพืช GAP กำลังเป็นที่แพร่หลายด้วยการส่งเสริมทั้งภาครัฐแลเอกชน ได้มีการพัฒนาระบบ GAP ให้เทียบเคียงและทัดเทียมกับมาตรฐาน Global GAP ที่เป็นที่ยอมรับในตลาดยุโรป ซึ่งเป็นมาตรฐานรับรองการผลิต เพื่อยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตรไทย
        การส่งเสริมให้เกษตรผลิตพืชผักเชิงระบบก็เพื่อต้องการให้เกษตรกรได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มผลผลิต พัฒนาประสิทธิภาพการผลิต ปรับแนวคิดการใช้ประโยชน์ในที่ดินให้ก่อประโยชน์สูงสุดจนเกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้ จุดประสงค์ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ เกษตรกรที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้ไปแล้ว สามารถนำเอาองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนและเกษตรกรที่สนใจต่อไป
หมายเลขบันทึก: 408836เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2010 16:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 22:34 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เป็นความรู้ที่ดีคับ....จะติดตามต่อไป

เป็นข้อมูลที่ดีมาก...

การนำเสนอข้อมูลที่ดีต้องมาจากความเข้าใจในวิชาการ การเขียนองค์ความรู้ต้องให้เกียรติผู้เป็นอาจารย์ด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท