ความเป็นมาของภารตะนาฏตะยัม


นาฏศิลป์

 นาฏศิลป์อินเดีย

 นาฏศิลป์อินเดียมีความผูกพันอยู่กับคติความเชื่อ และศรัทธาในศาสนาฮินดู การแสดงนาฏศิลป์สะท้อนให้เห็นถึงการเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมที่เน้นความลึกลับ ศักดิ์สิทธิ์ อินเดียถือว่านาฏศิลป์เป็นทิพยกำเนิดตามคัมภีร์ภารตะนาฏยศาสตร์ ซึ่งได้กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของนาฏศิลป์อินเดีย และการแสดงที่อินเดียยึดถือเป็นแบบแผน ยกย่องว่าเป็นศิลปะประจำชาติมาพอสังเขป ดังนี้

 ประวัติความเป็นมาของนาฏศิลป์อินเดียตามคัมภีร์นาฏยศาสตร์    พระภารตะมุนีเป็นผู้รับพระราชทานนาฏลีลาจากพระพรหม และพระศิวะ ชาวฮินดูจึงยกย่องพระศิวะเป็น “นาฏราชา” หมายถึง พระราชาแห่งการฟ้อนรำ

 ภารตะนาฏยัม เป็นนาฏศิลป์ที่เก่าแก่ที่สุดในอินเดีย มีส่วนสำคัญในพิธีของศาสนาฮินดูสมัยโบราณ สตรีฮินดูจะถวายตัวรับใช้ศาสนาเป็น “เทวทาสี” ร่ายรำขับร้อง บูชาเทพในเทวาลัย ซึ่งจะเริ่มฝึกตั้งแต่อายุ 5 ขวบ ศึกษาพระเวท วรรณกรรม ดนตรี การขับร้องของเทวทาสีเปรียบประดุจนางอัปสรที่ทำหน้าที่ร่ายรำบนสวรรค์  

 การแสดง ผู้แสดงต้องได้รับการฝึกฝนอย่างมีแบบแผน ด้วยระยะเวลายาวนานจนมีฝีมือยอดเยี่ยม สามารถเครื่องไหวร่างกายได้สอดคล้องกับจังหวะดนตรี เนื้อหาสาระของการแสดง สะท้อนสัจธรรมที่ปลูกฝังยึดมั่นในคำสอนของศาสนา แสดงได้ทุกสถานที่ ไม่เน้นเวที ฉาก เพราะความโดดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของภารตะนาฏยัม คือลีลาการเต้น และการ่ายรำ

 ดนตรี ที่ใช้ประกอบการแสดง ในวงดนตรีจะมีผู้ขับร้อง 2 คน คนหนึ่งจะตีฉิ่ง คอยให้จังหวะแก่ผู้เต้น อีกคนจะเป็นผู้ขับร้องและตีกลองเป็นหัวใจสำคัญของการแสดงภารตะนาฏยัม ส่วนเครื่องดีด และเครื่องเป่า เช่น ขลุ่ย เป็นเพียงส่วนประกอบให้เกิดความไพเราะเท่านั้น

เครื่องแต่งกาย ในยุคโบราณ จากหลักฐานที่ปรากฏตามรูปปั้น รูปแกะสลัก ไม่สวมเสื้อ สวมแต่ผ้านุ่งยาวแค่เข่า ใส่เครื่องประดับ สร้อยคอ ต่างหู กำไล ข้อมือ ข้อเท้า ต้นแขน ปละเครื่องประดับที่ศีรษะ ปัจจุบันสวมเสื้อ ยึดหลักการแต่งกายสตรีที่เป็นชุดประจำชาติของอินเดีย แต่สมัยใหม่ก็ได้มีการปรับปรุงให้สวยงามมากยิ่งขึ้น

 

คำสำคัญ (Tags): #ภารตะนาฏยัม
หมายเลขบันทึก: 408293เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2010 13:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 08:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

อาจจะเป็นความรู้สำหรับผู้ต้องการศึกษา ร่วมแสดงความคิดเห็นด้วยนะค่ะ

ครูแก้วค่ะ รูปภาพนี้เขาใส่รองเท้าจริงๆ ใช่มั้ยค่ะ หนูอยากได้ค่ะ

เป็นการแสดงที่สวยงาม ผู้แสดงคงใช้เวลามากในการแต่งกายนะคะ จากภาพสังเกตว่าผู้แสดงไม่ได้ใส่รองเท้า

ส่วนใหญ่คนอินเดียใช้สีมาตกแต่งค่ะ

ฝากบอกเพื่อน ๆ ด้วยว่าพรุ่งนี้ เสาร์ที่ 19 มีค. 54 ไม่ต้องมาเรียนแล้ว อาจารย์ให้คะแนนจากงานใน Blog เลยค่ะ

อ.นิภาภรณ์

 

เป็นการแสดงทางตอนใต้ของอินเดีย ผู้แสดงจะต้องฝึกฝนตั่งแต่ยังเด็ก

อยากรู้ว่าเรียนได้ที่ไหนคะภารตะนาฏตะยัม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท