วิธีการวิจัย


วิธีการวิจัย

วิธีการวิจัย

สำหรับการแบ่งการวิจัยออกเป็นกี่ประเภทนั้นขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่งว่าจะยึดถือสิ่งใดเป็นเกณฑ์หรือเป็นหลัก   ด้วยเหตุนี้ประเภทของการวิจัยจึงแบ่งกันได้หลายแบบซึ่งขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้จึงขอกล่าวถึงประเภทของการวิจัยโดยใช้เกณฑ์ต่าง ๆ กัน

1. ใช้ระเบียบวิจัยเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง
                 1.1 การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ (Historical research) เป็นการวิจัยที่เน้นถึงการศึกษาค้นคว้า รวบรวมข้อมูลหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมาแล้วในอดีต ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการศึกษาเหตุการณ์ในปัจจุบัน หรือสามารถนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจ เพื่อแก้ไขปัญหา ต่าง ๆ
                 1.2 การวิจัยเชิงบรรยาย หรือการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) เป็นการวิจัยที่เน้นถึงการศึกษารวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน การวิจัยแบบนี้เป็นการค้นคว้าหาข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอยู่แล้ว มีการวิจัยหลายชนิดที่จัดไว้ว่าเป็นการวิจัยเชิงบรรยายได้แก่
                               (1) การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research)
                               (2) การวิจัยเชิงสังเกต (Observational research)
                               (3) การวิจัยเชิงเปรียบเทียบสาเหตุ (Causal Comparative)
                               (4) การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ (Correlation research)
                               (5) การศึกษาเฉพาะกรณี (Case study)
                 1.3 การวิจัยเชิงทดลอง (experimental research) เป็นการวิจัยเพื่อพิสูจน์ความสัมพันธ์เชิงเหตุผลของ ปรากฏการณ์ต่าง โดยมีการจัดกระทำกับตัวแปรอิสระเพื่อศึกษาผลที่มีต่อตัวแปรตาม และมีการควบคุมตัวแปรอื่นมิให้มีผลกระทบต่อตัวแปรตาม ซึ่งนิยมมากทางด้านวิทยาศาสตร์

2. ใช้จุดมุ่งหมายของการวิจัยเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง
                   2.1 การวิจัยบริสุทธิ์ (Pure research) คือ การวิจัยที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการตอบสนองความอยากรู้หรือมุ่งที่จะหาความรู้ โดยไม่คำนึงถึงการนำผลการวิจัยที่ได้ไปใช้ได้ การวิจัยประเภทนี้ก่อให้เกิดทฤษฎีใหม่ ๆ ตามมา
                   2.2 การวิจัยประยุกต์ (Applied research) คือ การวิจัยที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำผลการวิจัยที่ได้ไปใช้ใน การแก้ปัญหา หรือปรับปรุงความเป็นอยู่และสังคมของมนุษย์ให้ดีขึ้น

                  2.3 การวิจัยเชิงปฏิบัติการหรือวิจัยเฉพาะกิจ (Action research) คือ การวิจัยเพื่อนำผลมาใช้แก้ปัญหาอย่างรีบด่วนหรือปัจจุบันทันที ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเฉพาะเพื่อจะนำผลที่ได้มาใช้แก้ปัญหาเฉพาะเรื่องในวงจำกัด
                2.4 การวิจัยสถาบัน (Institutional research) คือ การวิจัยที่มุ่งนำผลการวิจัยมาใช้เพื่อปรับปรุงงานด้านการบริหารของหน่วยงานหรือ สถาบันนั้น ๆ

3. ใช้ลักษณะและวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง
                 3.1 การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) คือ การวิจัยที่มุ่งค้นคว้าหาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ตามธรรมชาติ โดยที่จะศึกษาข้อมูลแต่ละด้าน มาบรรยายถึงความสัมพันธ์ของ เงื่อนไขต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ การวิจัยนี้เป็นการศึกษาในแนวลึกมากกว่าแนวกว้าง การรวบรวมข้อมูล วิธีการรวบรวมข้อมูล ได้แก่  การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการจะเป็นวิธีการหลักของการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิเคราะห์ข้อมูล จะใช้วิธีการสรุปบรรยายทฤษฎีและแนวคิด ในการอธิบายและวิเคราะห์
               3.2 การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research)คือ งานวิจัยที่มุ่งค้นคว้าข้อเท็จจริง  เพื่อหาข้อสรุปในเชิงปริมาณ เป็นการศึกษาในแนวกว้างมากกว่าแนวลึก เพื่อที่จะนำข้อสรุป ที่ได้จากกลุ่มตัวอย่างอ้างอิงไปใช้กับกลุ่มประชากร โดยอาศัยวิธีการทางสถิติ การรวบรวมข้อมูล เน้นหนักไปในทางปริมาณหรือค่า ที่สามารถวัดได้ วิธีการรวบรวม ข้อมูล มีหลายรูปแบบ เช่น การส่งแบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การสังเกต การสร้างสถานการณ์สมมติการทดลองและการทดสอบ การวิเคราะห์ข้อมูล จะใช้วิธีการทางสถิติเข้ามาใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล

4. ใช้ลักษณะศาสตร์และสาขาวิชาที่เกี่ยวกับการวิจัยเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง

1. การวิจัยทางสังคมศาสตร์ คือ การวิจัยเกี่ยวกับสังคม การเมือง การปกครอง การศึกษา เศรษฐกิจ

2. การวิจัยทางมนุษยศาสตร์ คือ การวิจัยเกี่ยวกับคุณค่าของมนุษย์ เช่น ภาษาศาสตร์ ดนตรี ศาสนา โบราณคดี ปรัชญา

3. การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ คือ การวิจัยทางชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ วิศวกรรม แพทย์ พยาบาล เทคนิคการแพทย์ เภสัชศาสตร์ เป็นต้น

5. ใช้วิธีการควบคุมตัวแปรเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง
               1. การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental research) เป็นการวิจัยเพื่อพิสูจน์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ โดยมีการจัดสถานการณ์ทดลอง ด้วยการควบคุมระดับของตัวแปรต้น และกำจัดอิทธิพลของตัวแปรภายนอกต่าง ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องแล้วทิ้งไป

              2. การวิจัยเชิงกึ่งทดลอง (Quasi Experimental research) เป็นการวิจัยที่สามารถควบคุมตัวแปรภายนอกที่ไม่ต้องการได้เพียง บางตัว เนื่องจากไม่สามารถสุ่มตัวอย่างให้เท่ากันได้
                3. การวิจัยเชิงธรรมชาติ (Naturalistic research) เป็นการวิจัยที่ค้นหาความจริงของ สภาพการณ์ในสังคม ใช้การสังเกตการณ์เป็นสำคัญ และสรุปผลโดยใช้การวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่าอนุมาน และอุปมาน

หมายเลขบันทึก: 408144เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2010 16:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 21:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท