ภาษาไทยในยุคโลกาภิวัฒน์


สิ่งที่มากับวัฒนธรรมการแชทก็คือการใช้ภาษาของคนไทยที่มีลักษณะไปในทาง "ขี้เกียจพิมพ์"

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าในปัจจุบันภาษาไทยที่เป็นภาษาประจำชาติไทยของเรานั้น มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลล้วนแล้วแต่มาจาก "ความใส่ใจ" "ความสนใจ" ทางด้านภาษาไทยของคนไทยเองลดน้อยลง

เมื่อวัฒนธรรมการแชทออนไลน์ หรือ ที่นิยมเรียกกันอย่างติดปากว่า "ออนเอ็ม" (MSN) เข้ามาแทรกซึมในการดำรงชีวิตประจำวันของคนไทยไม่ว่าจะเป็นเด็กวัยเรียน หรือแม้กระทั่งผู้ใหญ่วัยทำงาน ทำให้การ "ออนเอ็ม" กลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ ยิ่งปัจจุบันนี้มีการอำนวยความสะดวกให้กับ "ขาแชท" อย่างมากมาย ที่เป็นได้ชัดเจนที่สุดก็คงหนีไม่พ้นการบริการแชทผ่านทางมือถือ ทั้ง MSN BB OVI เป็นต้น เพื่อเป็นการตอบสนองถึงพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของคนในยุคปัจจุบัน ที่ถึงแม้ว่าจะนั่งอยู่ตรงข้ามกันแต่ไม่คุยกันกลับเอาแต่แชทผ่านมือถือ หรือเครื่อง Notebook

การแชท MSN

 

แต่สิ่งที่มากับวัฒนธรรมการแชทก็คือการใช้ภาษาของคนไทยที่มีลักษณะไปในทาง "ขี้เกียจพิมพ์" เพราะถ้าแชทกันผ่านหน้าจอ เรื่องเวลาในการพิมพ์สำคัญที่สุด ถ้าพิมพ์ช้าก็จะไม่สามารถโต้ตอบเพื่อนได้อย่างทันควัน ดังนั้น การพิมพ์แบบย่อ จึงเป็นสิ่งที่ประหยัดเวลา และสามารถตอบเพื่อนได้อย่างรวดเร็วทำให้การสนทนาไม่มีสะดุด เช่น คำว่าใช่ไหมในภาษาไทย กลายเป็นคำว่า ชิมิ หรือคำว่าตัวเอง เหลือเพียงคำว่า เตง เป็นต้น แต่ถ้าหากคนไทยใช้ภาษาชนิด "ขี้เกียจพิมพ์" นี้เฉพาะในการแชท มันก็จะไม่มีปัญหา แต่หากทว่า วัฒนธรรมการใช้คำเหล่านี้กลับแพร่หลายมากขึ้นถึงขนาดว่าไม่สามารถแยกแยะได้แล้วว่าคำๆ นั้นจริงๆ แล้วสะกดอย่างไร เขียนอย่างไรและใช้อย่างไร เพราะคนไทยนำภาษาเหล่านั้นมาใช้ในชีวิตประจำวันนั่นเอง

เห็นได้ชัดมากก็ตอนที่ให้เด็กเขียนเรียงความมาส่ง ภาษาของเด็กทุกคนในห้องเรียน 100% เป็นภาษาแชท มั้ง ช่ายยยยป่ะ, อิอิ, 555+, หุหุ,ช่ายมั้ย หรือแม้กระทั่งเขียนรูปสื่ออารมณ์หรือเรียกอีกอย่างว่า Emoticon เช่น ^__^, T__T เหล่านี้เป็นต้น ทำให้งานการเขียนเรียงความหมดคุณค่าลงทันที เด็กเห็นว่าการเขียนเรียงความเป็นเหมือนการแชทให้ครูอ่าน มากกว่าจะเป็นการเห็นถึงคุณค่าของการเขียนภาษาไทยอย่างที่ครูต้องการให้เด็กได้เห็นอย่างแท้จริง

 

หมายเลขบันทึก: 408100เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2010 11:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 22:15 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะ...

  • ก็ต้องขึ้นอยู่กับหน้าที่ครู ที่จะต้องบอกด้วยมังค่ะว่า สิ่งที่เขาทำอยู่นั้นไม่ถูกต้อง
  • เพราะจะทำให้ภาษาไทย วิบัติไป
  • ถ้าแก้ปัญหาตรงนี้ไม่ได้ คงจะมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ภาษาไทย เป็นรุ่นใหม่นะค่ะ
  • น่าเป็นห่วง...
  • สิ่งใดของเดิม ๆ ดีแล้ว ควรที่จะรักษาไว้
  • ต้องหันมาร่วมกันรณรงค์อีกมากเลยละค่ะ...
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท