สพฐ = OECD


การศึกษาขั้นพื้นฐานจากมุมมองของคนอื่น

     เมื่อลูกตุ้มเหวี่ยงกลับด้าน-การศึกษาขั้นพื้นฐาน-มุมมองจาก OECD

          ขอออกตัวก่อนว่าผู้เขียนไม่ได้เป็นบุคลากรของ สพฐ. แต่ตระหนักในความสำคัญของ สพฐ. และมีความเชื่อส่วนตัวว่า "ครูดีๆ ยังมีอยู่มาก"

          ในการประชุมของ UNESCO ในกรุงเทพเมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา  ผู้เขียนได้ฟัง Koji Miyamoto เสนอเรื่องการศึกษากับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ตอนท้ายเขาแนะนำว่ามีหนังสือออกใหม่ชื่อ Improving Health and Social Cohesion through Education

 

    ตามไปค้นหามาอ่านแล้วพบข้อความที่น่าสนใจ ขอเสนอบางส่วนที่น่าสนใจจากบทสรุปผู้บริหาร

         - ในช่วงประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา การพัฒนาประเทศ และความเจริญก้าวหน้าของประเทศที่วัดกันจากตัวเลขทางเศรษฐกิจ (เช่นรายได้ การจ้างงาน ผลิตภัณฑ์มวลรวม) กลับมาเป็นเรื่อง สุขภาพ การมีส่วนร่วมของพลเมือง ความสนใจของพลเมืองต่อการเมือง อาชญากรรม รวมทั้งความสุข

         -  คำว่า Social Cohesion ขอแปลว่า “สามัคคีสังคม” เป็นปัญหาที่นับวันจะมีปริมาณมากขึ้น โดยสังเกตได้จากสภาพที่เป็นอยู่ในประเทศสมาชิกของ OECD ในเรื่องการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง การทำงานแบบอาสาสมัคร (จิตอาสา) และความไว้วางใจระหว่างกันของคนในสังคม (ปรองดอง???) อยู่ในระดับต่ำทั้งนั้น

         -  ดังนั้น เพื่อการสร้างสุขภาวะและสามัคคีสังคม การศึกษาเป็นคำตอบสุดท้าย เพราะว่า การศึกษาสามารถช่วยพัฒนาสังคม ด้วยการ (1) ให้ข้อมูลและสารสนเทศที่บุคคลนำไปใช้ในการตัดสินใจที่ฉลาด  (2) ทำให้บุคคลมีรายได้สูงขึ้น ฐานะทางสังคมดีขึ้น และสร้างเครือช่ายสังคมมากขึ้น และ (3) ทำให้บุคคลมีความสามารถในการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับลูกหลานของตน

      นี่ก็คือหล้กฐานที่บ่งบอกว่า  โครงการพัฒนาความฉลาดทางสุขภาวะ เป็น

สิ่งที่อยู่ในความสนใจขององค์กรนานาชาติต่างๆ ทั้ง WHO UNESCO และ

OECD 

*มีข้อความที่น่าสนใจอีกหลายประเด็น  แต่ผู้เขียนคิดว่าน่าจะเล่าเพียงแค่นี้ ถ้าสนใจก็ไปที่เว็บไซต์ของ OECD  เพราะว่าการไปค้นหาความรู้ในโลกปัจจุบันนั้นง่ายแค่กระดิกนิ้ว  การอ่านและทำความเข้าใจยากกว่า  ผู้เขียนเองกำลังอยู่ในสภาพ  “หนังสือท่วมหัวเอาตัวไม่รอด”

  **ขออภัยถ้าเอามะพร้าวห้าวมาขายสวน OECD ย่อมาจาก Organisation for EconomicCo-operation and Development สำนักงานตั้งอยู่ที่ ปารีส ฝรั่งเศส มีประเทศสมาชิก ดังนี้ ออสเตรเลีย ออสเตรีย แคนาดา ชิลี สาธารณรัฐเชค เดนมาร์ก ฟินแลนด์  ฝรั่งเศส  เยอรมัน กรีซ ฮังการี ไอซ์แลนด์ อิสราเอลอิตาลี ญี่ปุ่น  เกาหลี  ลักเซ็มเบิร์ก เม็กซิโก  เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ นอร์เวย์ โปแลนด์  ปอร์ตุเกส สาธารณรัฐสโลวัก สโลวีเนีย สเปน สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ ตุรกี อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา

หมายเลขบันทึก: 408087เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2010 11:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 03:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีครับ  ท่านอาจารย์

มาอัพเดตเรื่องดีดีที่มีคุณค่ากับเด็กๆ กับสังคม 

"การศึกษาเป็นคำตอบสุดท้าย เพราะว่า การศึกษาสามารถช่วยพัฒนาสังคม ด้วยการ (1) ให้ข้อมูลและสารสนเทศที่บุคคลนำไปใช้ในการตัดสินใจที่ฉลาด  (2) ทำให้บุคคลมีรายได้สูงขึ้น ฐานะทางสังคมดีขึ้น และสร้างเครือช่ายสังคมมากขึ้น และ (3) ทำให้บุคคลมีความสามารถในการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับลูกหลานของตน"

จะลองนำไปปรับใช้กับหลานม่อน ขอบพระคุณมากครับ

ท่านอาจารย์สบายดีนะครับ ขอให้สุขภาพแข็งแรง เป็นกำลังใจให้ท่านสร้างสรรสังคม การศึกษาของเด็กๆไทยตลอดไป  ด้วยความระลึกถึง

ช่วงนี้กำลังศึกษาเรียนรู้ WINDOW 7   มีตัวช่วยแยะดี สะดวกรวดเร็ว ตั้งแต่ลงโปรแกรม  ง่ายกว่าที่คิด  รักษาสุขภาพด้วยนะครับ

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณอย่างสูงค่ะที่อ่านบล็อก ตอนนี้ก็กำลังอ่านบทความแล้วทำงานส่งเสริม

การสอนของโรงเรียนเพื่อให้นักเรียนมีความรู้และความคิด

ลองอ่านใน เว็บ ๅ www.thaihl.org ก็ได้ค่ะ มีบทความประมาณ 2 หน้าอธิบาย

เรื่องความฉลาดทางสุขภาวะ อีกไม่นานจะลงแผนการสอนของคุณครูในสาระวิชา

ต่างๆ ที่สอน จัดกิจกรรม และประเมินที่สอดคล้องกับการสร้างเสริมความฉลาด

ทางสุขภาวะค่ะ

หลานโตเร็วมากนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท