การสื่อสารกับผู้รับบริการและผู้ป่วย


นักศึกษามาฝึกงานต้องเรียนรู้จัดการในการให้บริการกับผู้รับบริการ ผู้ป่วย เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน ช่วยทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ

สวัสดีครับ

วันนี้ขอนำเสนอภาพจากกิจกรรมที่ทางหลักสูตรรังสีเทคนิค ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดขึ้น เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างคณาจารย์ บุคลากรและนักศึกษาทั้งในและต่างสถาบัน วันนี้มีนักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เข้าร่วมด้วย จำนวน 6 คน 

 

 

 

 

ผมได้มอบหมายงานให้นักศึกษาร่วมกันคิดและเขียนบันทึกว่า การสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติงงานกับผู้รับบริการตรวจ ที่หน่วยรังสีวินิจฉัย หรือ ห้องเอกซเรย์ควรมีอะไร? ควรทำอย่างไร?

 

 

บางส่วนที่สรุปร่วมกันในครั้งนี้...

การสื่อสารกับผู้รับบริการ ที่นักรังสีเทคนิค ควรปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม คือ

1.รับใบขอตรวจ (X-ray request)

เริ่มต้นด้วย... การแนะนำตัวว่า เราเป็นใคร?

จากนั้นก็... สอบถามและตรวจสอบชื่อ/นามสกุล ของผู้รับบริการ อ่านรายละเอียด/ข้อมูลจากใบขอตรวจ ให้เข้าใจ

2. การให้ข้อมูลหรือคำแนะนำเกี่ยวกับการตรวจตั้งแต่ก่อนตรวจ/ระหว่างตรวจและเสร็จสิ้นการตรวจ

โดยแจ้งให้ผู้รับบริการ... ทราบว่าต้องทำการตรวจอะไรบ้าง? จากนั้นก็สอบถามประวัติของผู้รับบริการ (กรณีตรวจพิเศษ) เช่น สอบถามประวัติโรคประจำตัว การแพ้ยาหรือแพ้อาหารทะเล

ผู้รับบริการได้เตรียมตัวพร้อมสำหรับการตรวจหรือไม่?

เตรียมตัวอย่างไรในการตรวจ? เช่น การเปลี่ยนเสื้อผ้า การถอดวัสดุที่ทึบต่อรังสีบริเวณที่ต้องการตรวจวินิจฉัย อธิบายขั้นตอนการตรวจเพื่อทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน การฝึกซ้อมการกลั้นหายใจ เป็นต้น

การดูแลตัวเองหลังการตรวจ ควรทำอย่างไร? 

การติดต่อรับผลการตรวจ ควรทำอย่างไร? 

 

 

ส่วนการสื่อสารด้วยท่าทางที่เป็นมิตร ที่ยิ้มแย้มแจ่มใส ที่ทำให้ผู้รับบริการเกิดความเข้าใจที่ชัดเจน สำหรับนักศึกษาแล้ว คงต้องฝึกทักษะเหล่านี้ไปเรื่อยๆ

 

 

ทำด้วยใจ ยิ้มจากใจ ทำได้ไม่ยากเลย เห็นได้จากภาพ (หลายรอยยิ้ม)

 

นักศึกษารังสีเทคนิค ม.เชียงใหม่ และ อาจารย์ผู้ช่วยสอน พิเชฐ จันผิว (หน่วยรังสีรักษา) เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

 

 

 

จากนั้นนักศึกษา ม.เชียงใหม่ ได้นำเสนอสิ่งที่ได้พบเห็น ได้เรียนรู้จากการฝึกงานทักษะในห้องตรวจระบบหลอดเลือด นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักศึกษารังสีเทคนิค ม.ขอนแก่น    

 

 

สรุป :

การแลกเปลี่ยนเรียนทำได้ทุกที่ ทุกเวลา

 

การสื่อสารกับผู้รับบริการ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ มีความสุข สามารถทำได้ไม่ยาก ทำด้วยกาย ทำด้วยใจ ทำด้วยการฝึกฝน  

หากว่าทำได้ยังไม่ดี ควรพัฒนา แก้ไข ปรับปรุง เพื่อคุณภาพ ประสิทธิภาพ และความสุขในชีวิต

 

 

หมายเลขบันทึก: 407535เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2010 11:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 00:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เรียน อ.ต้อมที่เคารพ

-จากประสบการณ์ทำงานทำให้ทราบว่า "การพูดคุย สื่อสาร ทำความเข้าใจกับผู้รับบริการอย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยลดความวิตกกังวลของผู้รับบริการ และทำให้เกิดความร่วมมือในการตรวจเป็นอย่างดี ส่งผลให้ได้ภาพถ่ายทางรังสี/ผลตรวจที่มีคุณภาพ"...ขอบคุณค่ะที่ได้ร่วม ลปรร.

เรียน คุณฐิตินันท์

นักศึกษา เป็นผู้เริ่มต้น ต้องสะสมประสบการณ์

สำหรับพี่นักรังสีเทคนิค เป็นมืออาชีพ การทำงานอย่างมืออาชีพ ที่มีความรับผิดชอบ ย่อมทำให้ผู้รับบริการมีความพึงพอใจและปลอดภัย การพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ย่อมนำมาซึ่งผลดีต่อตนเองและผู้อื่น

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยม มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครับ

มาชื่นชมในฐานผู้รับบริการค่ะ..ปลูกฝังกันตั้งแต่ต้นในการทำงานด้วยหัวใจรักเพื่อนมนุษย์เช่นนี้..ย่อมมีความสุขทั้ง "ผู้ให้" และ "ผู้รับ" นะคะ..

 

              งานมหกรรมประกวดพื่อเจ้าตัวเล็ก

เรียน คุณนงนาท

นักศึกษาต้องฝึกฝน พัฒนา เพื่ออนาคตของชาติไทย ครับ

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยม ครับ

ชมนาด วิจิตรานนท์

เป็นการแบ่งปันสิ่งดีๆๆให้ทุกคนได้ทราบ

ชมนาด วิจิตรานนท์

เรียน อ.ต้อม

ดีใจทีได้เจอสิ่งดีๆปัจจุบันภาระมากขึ้นการสื่อสารกับผู้ใช้บริการอาจจะน้อยไปหน่อยจะพยายามปรับปรุงตัวเองให้ทันต่อเหตุการด้วยดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท