ภาพรวมขบวนองค์กรการเงินชุมชน จากประสบการณ์ในพื้นที่ (ผู้ใหญ่เทพพิทักษ์ ทนทาน)ตอนแรก


ขอบคุณผู้ดำเนินรายการ กราบนมัสการพระคุณเจ้า และกราบเรียนท่านสันติ อุทัยพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้าน และชุมชนเมืองแห่งชาติ ที่มานั่งในเวทีแห่งนี้ และขอกล่าวคำว่าสวัสดีกับทีมงานวิจัยตลอดจนภาคีเครือข่าย พี่น้องจากกระทรวง ทะบวง กรม ตลอดจนกลุ่มองค์กรต่าง ๆ ที่อยู่ในเวทีแห่งนี้ด้วยความจริงใจและความมุ่งมั่นที่จะมาจังหวัดสงขลาแห่งนี้ อยากนำประสบการณ์ นำสิ่งที่ค้นพบ นำมิติใหม่แห่งองค์กรกรเงินเพื่อเชื่อมโยงไปสู่การจัดสวัสดิการ มาพูดคุยกับพี่น้องเรา เพราะสิ่งที่ ม.วลัยลักษณ์ ได้ลงเข้าไปจัดทำโครงการพัฒนาเพื่อการวิจัยองค์กรการเงินระดับฐานราก ถ้าเราดูข้อมูลเมื่อวานนี้จะเห็นชัดเจนเลยว่า องค์กรการเงินที่ฝังตัวอยู่ในฐานรากจริง ๆ และเป็นองค์กรที่ใหญ่ที่สุดในขณะนี้ก็คือกองทุนหมู่บ้าน ในงานวิจัยซึ่งเราทำอยู่ใน 5 พื้นที่ ในประเทศไทย ตามกรอบแนวทางเราทำงานวิจัยใน 2 พื้นที่หลัก ๆ ที่ใหญ่ก็คือ พื้นที่ชุมชนเมือง และพื้นที่ชุมชนชนบท พื้นที่ชุมชนบทเราได้เราพื้นที่เครือข่ายกองทุนหมู่บ้านตำบลกระหรอ จังหวัดนครศรีธรรมราช มาเป็นต้นแบบ เป็นกรอบแนวคิด ส่วนพื้นที่ชุมชนเมือง ซึ่งมีความหลากหลาย ซึ่งมีความสลับซับซ้อน ซึ่งมีความซ่อนเงื่อนหลาย ๆ ประเด็นเอาพื้นที่ ต.ในคลองบางปลากด ซึ่งผมอยู่ใน 1 ของทีมงานของคุณอำนวยที่ร่วมกับคณะวิจัย และสิ่งที่ผมบอกว่ามิติใหม่ของการทำวิจัย ในหนึ่งรอบปีที่ผ่านมานั้น เชื่อไหมครับท่านนักวิชาการทั้งหลาย พี่น้องทั้งหลายครับในงานวิจัยซึ่งสิ่งที่เราเข้าไปสัมผัสกับพื้นที่จริง ๆ เราเข้าไปพูดคุยกับผู้นำขบวนการ ผู้นำกลุ่มองค์กรจริง ๆ นะอดีตที่ผ่านมานั้น การวิจัยเป็นเรื่องของนักวิชาการ เป็นเรื่องของคนนอกชุมชน เป็นเรื่องของคนนอกหมู่บ้าน แต่ขณะเดียวกันงานวิจัยชิ้นนี้เพื่อพัฒนาองค์กรการเงินเพื่อไปสู่สวัสดิการขององค์กร เป็นสิ่งที่เราเข้าไปค้นพบ ค้นพบอย่างไรครับ

                สิ่งแรกที่เราเข้าไปในหมู่บ้านในชุมชนเราถือว่า คณะกรรมการเครือข่ายเป็นองค์กร ซึ่งอยู่ในระดับตำบลที่เราจะเข้าไปศึกษา และก็คณะกรรมการเครือข่าย ที่ทางสำนักงานกองทุนหมู่บ้านเข้าไปสนับสนุนให้ก่อเกิดตั้งแต่ต้นปี 2546 แต่เราเข้าไปทำการวิจัย ไปค้นพบในพื้นที่หลักและพื้นที่เป้าหมายที่เราไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สิ่งที่ผ่านมาเชื่อไหมครับ คณะกรรมการเครือข่ายซึ่งเป็นบุคคลากรที่เราบอกว่าถูกพัฒนามาอยู่ในระดับหนึ่งแล้ว เขาบอกว่าการวิจัยเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก เป็นเรื่องใหม่ เป็นเรื่องที่สับสน เพราะฉะนั้นการวิจัยก็อยากจะฝากนักวิจัยทั้งหลายที่อยู่ในเวทีแห่งนี้นะครับ อดีตที่ผ่านมานะครับ ส่วนหนึ่งนะครับไม่ใช่ทั้งหมด นักวิชาการเข้าไปจัดทำกับชาวบ้าน ไปจัดเก็บข้อมูลกับชาวบ้าน มีกระดาษแผ่น 2 แผ่น ให้เด็กนักศึกษาบ้าง ตัวเองบ้างลงไปคลุกับพื้นที่ลงไปพูดไปคุยลงไปเก็บข้อมูลในการทำวิจัยในแต่ละโครงการนั้น แต่ผลสะท้อนย้อนกลับไปชาวบ้านนั้นไม่รู้ ผลจะออกมายังไง การกระทำจะออกมาอย่างไร เขาจึงบอกว่าเป็นเรื่องใหม่ แต่วิธีคิดวิธีการที่คณะทำงานเราตลอดจนทีมงานเราโดยเฉพาะท่านอาจารย์ภีม ที่ลงไป ลงไปครั้งแรกในทีมของคณะกรรมการเครือข่ายเป็นเรื่องใหม่เป็นสิ่งที่ยุ่งยาก พยายามสะท้อนหลากหลายประเด็นปัญหาให้ แต่วันนั้นท่านอาจารย์ภีม ไปแบบวัยรุ่น ใส่เสื้อยืดกางเกงยืน ความเชื่อถือ ตอนแรกตัวผมเองก็ยังคิดว่าเรากำลังเดินผิดทางไหม แต่พอท่านอาจารย์ได้ให้ข้อคิด ให้ข้อเสนอแนะ ไปทำวิธีการกระบวนตรงนั้นจึงเกิดเกิดงานวิจัยในพื้นที่แล้วสิ่งที่เราค้นพบ เป้าประเด็นเราจะเข้าไปพัฒนากองทุนเข้าไปส่งเสริม จะไปเสริมหนุน ไปร่วมจัดกระบวนการ เราเพียงไปจัดกระบวนการคิด สิ่งที่เราพบเราเห็นเป็นภาพลวงตา ไม่ใช่พื้นที่ในคลองฯ หรือพื้นที่กะหรอนะครับ แต่ภาพของชุมชนเมืองเกือบทั้งหมด เป็นภาพของชุมชนชนบทเกือบทั้งหมดที่เราค้นพบ ที่เราไปสัมผัส ที่เราไปศึกษาดูงาน สิ่งที่เราเห็น ณ วันนี้องค์กรการเงินขนาดใหญ่ อยู่ในพื้นที่หมู่บ้านหรือชุมชนในขณะนี้กำลังมีปัญหา เพราะภาพที่ทีมวิจัยนำเสนอเมื่อวานแสดงให้เห็นชัดเจนแล้วครับ 13 หมู่บ้าน ที่เราเข้าไปศึกษา เข้าไปวิจัย เข้าไปตั้งหลักตั้งประเด็นเข้าไปหานั้น ตอนแรกก็จะร่วมเดินทาง ผลสุดท้ายอย่างภาพที่เราเห็นเมื่อวาน เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่า การบริหารจัดการกองทุนด้วยนโยบายของรัฐ ที่ถือว่าเป็นนโยบายที่ดีที่สุดในการพัฒนาประเทศในฐานะมุมมองของฐานรากจริงๆ เป็นนโยบายที่ดีที่สุดในการพัฒนาประเทศที่ผ่านมา แต่ขณะเดียวกันเป็นนโยบายที่เร่งด่วนที่ผลักดันไปให้พี่น้องประชาชนในพื้นที่ในหมู่บ้านดำเนินการกัน นั่นแหละครับเป็นสิ่งที่เราค้นพบ หลังจากที่ค้นพบแล้วในฐานะภาคีพี่เลี้ยงต่าง ๆ  ที่ไปเสริมหนุน ถ้าในเวทีหลาย ๆ เวทีสะท้อนให้เห็นร้อยละ 80 หลังจากปี 2547 กลาง ๆ ปี เป็นต้น ถึง ณ วันนี้ ภาคีหนุนเสริมร้อยละ 80 หยุดนิ่งในการสนับสนุนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับกองทุนหมู่บ้าน ถามว่าภาคีหนุนเสริมที่ไปแลกเปลี่ยนกับภาคีหนุนเสริมสอดประสานรับไปหลาย ๆ พื้นที่ หลาย ๆจังหวัดเพราะอะไรความหยุดนิ่งของภาคีหนุนเสริมไม่กระตุ้น ไม่ส่งเสริมในการจัดกระบวนทัพขององค์กรขนาดใหญ่ของประเทศซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาล ตรงนี้มีปัญหาในเรื่องของคำว่าบูรณาการซึ่งชาวบ้านอย่างผมไม่ค่อยเข้าใจ เป็นภาคีหนุนเสริม เป็นการไม่เข้าใจคำว่าบูรณาการระดับชาวบ้านส่วนภาคี หนุนเสริมนั้นผมก็ยังไม่แน่ใจว่าเข้าใจคำว่าบูรณาการหรือเปล่าเพราะสิ่งที่หน่วยงานแต่ละหน่วยเข้าไปในพื้นที่ไปส่งเสริมสนับสนุนในการก้าวเดินของกองทุนหมู่บ้านนั้นไม่ไปในทิศทางเดียวกันและไปส่งเสริมขาด ๆ เกินๆ   พอมาถึงตรงนี้แล้วผมมองภาพของโครงสร้างจากอดีต ถึงปัจจุบันบอกว่ามีปัญหาเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านหรือความสำเร็จของกองทุนหมู่บ้านถูกการประเมิน 5 ตัวชี้วัดตั้งแต่มีการประเมิน ถ้าคนที่อยู่ในวงการนี้ครั้งแรกตัวชี้วัดมาจากกรมการพัฒนาชุมชนตัวที่ 1 ตัวชี้วัดตัวที่ 2 มาจาก มรภ.แล้ว 3 จากเครือข่ายประชารัฐ ตัวชี้วัดที่ 4 กองทุนหมู่บ้าน ลักษณะตัวชี้วัดกองทุนหมู่บ้านนั้นเป็นตัวที่ 4 โครงการวิจัยพัฒนาศักยภาพกองทุนหมู่บ้าน เพราะอะไรผมถึงบอกว่าเป็นตัวชี้วัดที่ทำให้เกิดความสับสนกับประชาชนที่ทำงานเรื่องกองทุน เพราะตัวชี้วัดตัวนี้กองทุนไหนได้ระดับ 3 A เมื่อปี 2546 รัฐบาลจะหนุนเสริมเงินเพิ่มทุนอีก 1 แสนบาท เป้นตัวชี้วัดที่ผมบอกว่าสับสน พอตัวชี้วัดตัวที่ 5 เข้ามาเป็นตัวชี้วัดที่ส่งเสริมด้านศักยภาพของกองทุน เป็นตัวชี้วัดที่ให้คณะกรรมการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านเป็นผู้ดำเนินการกับกองทุนและให้สถาบันการศึกษาในพื้นที่เป็นคนรวบรวมประเมินผล พอตัวชี้วัดตัวที่ 5 ออกมาแล้วผลของการจัดเก็บข้อมูลที่ผ่านคณะกรรมการเครือข่ายแสดงผลชัดเจนครับในการลดจากระดับ 3A  2A มาเป็น 1 A เป็นจำนวนมากถึงร้อยละ 60-70  ตรงนี้เป็นสิ่งที่สะท้อนให้ในเวทีนี้เห็นว่า ณ วันนี้เครือข่ายกองทุนหมู่บ้านถ้าเราไม่นิ่งพัฒนาหรือ เราไม่ลงไปวิจัย หรือหนุนเสริมให้ถูกทิศทางผมคิดว่าแย่กว่านี้แน่นอน ช่วงแรกผมคงไม่เชื่อมโยงไปถึงเป้าหมายหรือความคาดหวังที่ทางทีมงานไปค้นพบว่า ณ วันนี้กองทุนหมู่บ้าน ภาคีสนับสนุน ทิศทางจะเดินไปทางไหน เส้นทางเช่นไรรอบสองผมจะนำเสนอต่อ

คำสำคัญ (Tags): #ทรงพระเจริญ
หมายเลขบันทึก: 40744เขียนเมื่อ 25 กรกฎาคม 2006 09:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 เมษายน 2012 22:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท