ข้อสังเกตุเด็กอ่านหนังไม่ค่อยได้


พ่อ แม่กับการใช้โทรทัศน์เลี้ยงลูก

เพราะพ่อ แม่เห็นว่าเด็กๆ อายุ ๕ - ๖ ขวบนั้นจะชอบการ์ตูนและให้ความสนใจมากโดยเฉพาะการ์ตูนญี่ปุ่น นั่งหน้าจอตาไม่กระพริบ จึงถือโอกาสให้โทรทัศน์เป็นพี่เลี้ยงไปเลยส่วนตัวก็ไปทำงานได้สะดวก เด็กจึงจดจำสิ่งต่างๆที่สื่อโทรทัศน์นำเสนอทั้งโฆษณา เพลง เซ็กส์ และความกร้าวร้าวตามบทบาทที่แสดงในจอ ยุทธวิธีที่ชวนให้ต้องติดตามตอนต่อไปก็เป็นสาเหตุ เมื่อโทรทัศน์เข้ามาเป็นส่วนสำคัญของเด็ก หนังสือที่ต้องให้เด็กอ่านจึงไม่มีช่องเข้ามาแทรกได้เลย (ถ้าไม่มีใครกวดขัน) เมื่ออ่านไม่ออกก็ไม่อยากอ่านเพราะถือว่าไม่สำคัญ ร้องขอให้พ่อซื้อ ซี ดี หนังการ์ตูนมาดูดีกว่า บางบ้านสะสมไว้แทบทุกเรื่องที่เป็นการ์ตูนเป็นร้อยๆพันๆ ไปโรงเรียนครูก็สอนอ่านหนังสือ เด็กๆใช่ว่าจะรับได้เต็มร้อยทุกคน สิ่งที่ตามมาคือเด็กขี้เกียจอ่านหนังสือ อรรถรสในหนังสือไม่เข้าในหัวใจ

    อ่านหนังสือช่วยสร้างจินตนาการให้วาดภาพตามความบรรยาย ผู้อ่านจะจินตนาการให้เกิดการคิดวิเคราะห์เมื่อสงสัยหรือไม่เข้าใจก็ย้อนทวนใหม่ได้ คนที่ติดหนังสือน่าจะลดน้อยลงนักเขียนก็ไม่รู้จะเขียนให้ใครอ่าน ดังนั้นผู้ผลิดวรรณกรรมเรื่องยาวๆ เฉกเช่น ล่องไพร หรือ เรื่องต่างๆของทมยันตีที่เขียนเรื่องยาวไว้สำหรับคนอ่าน ถ้าหากเด็กรุ่นใหม่ๆ อ่านหนังสือไม่คล่อง หรือขี้เกียจอ่าน ยุคต่อไปนี้คงไม่ใครเขียนหนังสือขายได้แล้ว

   หนังสือการ์ตูนก็น่าจะเข้ามามีบทบาทได้ รูปภาพและเนื้อหาจะช่วยทำให้ภาพและคำอ่านสัมพันธ์กัน อ่านหนังมีภาพประกอบจะทำให้ทราบความหมายเร็ว

หมายเลขบันทึก: 406852เขียนเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2010 20:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท