เกณฑ์และกติกาการแข่งขันคิดเลขเร็ว และการแข่งขัน GSP สำหรับนักเรียนและกรรมการ


กรุณาคลิกสารบัญ ดู ทั้งหมด และ กด Ctrl + F ค้นหาที่ต้องการ

3. ผลงานสร้างสรรค์คณิตศาสตร์โดยใช้โปรแกรม GSP

1. คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน

1.1  นักเรียนระดับชั้น  ป.4-ป.6

1.2  นักเรียนระดับชั้น  ม.1-ม.3

1.3  นักเรียนระดับชั้น  ม.4-ม.6

2. ประเภทและจำนวนผู้เข้าแข่งขัน

2.1 แข่งขันประเภททีม ทีมละ 2 คน

2.2 จำนวนผู้เข้าแข่งขัน ระดับชั้นละ 1 ทีม

3. วิธีดำเนินการแข่งขัน และรายละเอียดหลักเกณฑ์การแข่งขัน

                3.1 ส่งรายชื่อนักเรียนผู้เข้าแข่งขัน ทีมละ  2  คน พร้อมชื่อครูผู้ฝึกสอน 1 คน ตามแบบฟอร์ม ที่กำหนด

                3.2 กำหนดโจทย์การแข่งขัน จำนวน 5 ข้อ ข้อละ 20 คะแนน รวมคะแนนเต็ม 100 คะแนน

                3.3  เวลาที่ใช้แข่งขัน     ใช้เวลา 1 ชั่วโมง 30 นาที

4. เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 100   คะแนน  กำหนดรายละเอียด  ดังนี้

4.1โจทย์แก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยใช้ GSP จำนวน 4 ข้อ ข้อละ 20  คะแนน
 รวม 80 คะแนน             ซึ่งแต่ละข้อใช้เกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้

1) ความสมบูรณ์และถูกต้องของผลงาน                                                                       10  คะแนน

2) ขั้นตอนไม่ซับซ้อน                                       
                                                                     5   คะแนน

3) ความสวยงาม (รูปร่าง รูปทรง  สี และความสมดุลของภาพ)                          

                                                                     5   คะแนน

4.2โจทย์กำหนดให้ใช้เครื่องมือที่กำหนดให้สร้างสรรค์งานคณิตศาสตร์ จำนวน 1 ข้อ   

                                                                      20 คะแนน

1)  มีความเป็นพลวัต(เคลื่อนที่ เคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงรูปร่างได้)มีแนวคิดริเริ่มสร้างสรรค์                                                                                                                                10 คะแนน

2) มีการนำเสนอที่สื่อความหมายได้สอดคล้องและเชื่อมโยงกันอย่างต่อเนื่อง 
                                                                        10 คะแนน

5. เกณฑ์การตัดสิน              

                                ร้อยละ    80 - 100             ได้รับรางวัลระดับเหรียญทอง

                                ร้อยละ    70 – 79               ได้รับรางวัลระดับเหรียญเงิน

                                ร้อยละ    60 – 69               ได้รับรางวัลระดับเหรียญทองแดง

                                ต่ำกว่าร้อยละ 60                  ได้รับเกียรติบัตร เว้นแต่กรรมการจะเห็นเป็นอย่างอื่น

ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นสิ้นสุด

6. คณะกรรมการการการแข่งขัน  ระดับชั้นละ  3 – 5 คน

 คุณสมบัติของคณะกรรมการ 

             -  เป็นศึกษานิเทศก์ที่รับผิดชอบกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

             -  เป็นครูที่สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์มีความเชี่ยวชาญโปรแกรม GSP

             -  ผู้ทรงคุณวุฒิในด้านคณิตศาสตร์

 ข้อควรคำนึง   

                -  กรรมการต้องไม่ตัดสินในกรณีสถานศึกษาของตนเข้าแข่งขัน

                -  กรรมการที่มาจากครูผู้สอนควรแต่งตั้งให้ตัดสินในระดับชั้นที่ทำการสอน

                -  กรรมการควรมีที่มาจาก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอื่นหรือหน่วยงานอื่นอย่างหลากหลาย

                -  กรรมการควรให้ข้อเสนอแนะเติมเต็มให้กับนักเรียนที่ชนะในลำดับที่ 1-3

 สถานที่ทำการแข่งขัน 

                ควรใช้ห้องคอมพิวเตอร์ ที่สามารถดำเนินการแข่งขันได้พร้อมกัน

7.  การเข้าแข่งขันระดับชาติ

7.1 ผู้ที่ได้คะแนนสูงสุด ลำดับที่ 1- 3 จากการแข่งขันระดับภาคจะได้เป็นตัวแทนเข้าแข่งขันในระดับชาติ

7.2 ในกรณีที่มีผู้ชนะลำดับสูงสุดได้คะแนนเท่ากันมากกว่า 3 ทีม ให้พิจารณาลำดับที่ตามลำดับข้อของการให้คะแนน เช่น มีผู้ที่ได้คะแนนข้อที่ 1 เท่ากันให้ดูคะแนนข้อที่ 2 ผู้ใดได้คะแนนข้อที่ 2 มากกว่าถือเป็นผู้ชนะแต่ถ้าข้อที่ 2 เท่ากัน ให้ดูคะแนนในข้อถัดไป กรณีคะแนนเท่ากันทุกข้อให้ใช้วิธีจับฉลาก

ข้อเสนอแนะในการต่อยอดในระดับชาติ  ควรต่อยอดโดยการจัดค่ายพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์และโปรแกรม GSP

 

4. การแข่งขันคิดเลขเร็ว

1. คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน

1.1 นักเรียนระดับชั้น  ป.1- ป.3

1.2 นักเรียนระดับชั้น  ป.4 - ป.6

1.3 นักเรียนระดับชั้น  ม.1 - ม.3

1.4 นักเรียนระดับชั้น  ม.4 - ม.6

2. ประเภทและจำนวนผู้เข้าแข่งขัน

                2.1 แข่งขันประเภทเดี่ยว

                2.2 จำนวนผู้เข้าแข่งขันระดับชั้นละ 1 คน

3. วิธีดำเนินการและหลักเกณฑ์การแข่งขัน

                3.1 ส่งรายชื่อนักเรียนผู้เข้าแข่งขัน พร้อมชื่อครูผู้ฝึกสอนระดับชั้นละ 1 คน ตามแบบฟอร์ม ที่กำหนด

              3.2 สุ่มตัวเลขจากโปรแกรม GSP เป็นโจทย์และผลลัพธ์ แล้วใช้การดำเนินการทางคณิตศาสตร์ บวก ลบ คูณ หาร ยกกำลัง ถอดราก เพื่อหาผลลัพธ์ ในระดับชั้น ม.4- ม.6  ให้เพิ่ม ซิกมา และแฟกทอเรียล (ในการถอดราก ถ้าเป็นรากอื่น ไม่ใช่รากที่ 2 ต้องใส่อันดับของรากจากตัวเลขที่สุ่มมา) และต้องใช้ตัวเลขให้ครบทุกตัว โดยใช้ได้ตัวละ 1 ครั้ง ซึ่งตัวเลขที่สุ่มได้ต้องไม่ซ้ำเกิน 2 ตัว และเลข 0 ต้องมีเพียงตัวเดียวเท่านั้น

               3.3 จัดแข่งขัน 2 รอบ ดังนี้

ระดับชั้น ป.1-ป.3       

รอบที่ 1  จำนวน 30 ข้อ  ใช้เวลา ข้อละ 45 วินาที โดยสุ่มเลขโดดเป็นโจทย์ 3 ตัวเลข ผลลัพธ์ 2 หลัก

รอบที่ 2  จำนวน 20 ข้อ  ใช้เวลา ข้อละ 30 วินาที โดยสุ่มเลขโดดเป็นโจทย์ 4 ตัวเลข ผลลัพธ์ 3 หลัก

ระดับชั้น ป.4-ป.6

รอบที่ 1  จำนวน 30 ข้อ  ใช้เวลา ข้อละ 45 วินาที โดยสุ่มเลขโดดเป็นโจทย์ 4 ตัวเลข ผลลัพธ์ 2 หลัก

รอบที่ 2  จำนวน 20 ข้อ  ใช้เวลา ข้อละ 30 วินาที โดยสุ่มเลขโดดเป็นโจทย์ 4 ตัวเลข ผลลัพธ์ 3 หลัก

ระดับชั้น ม.1-ม.3

รอบที่ 1  จำนวน 30 ข้อ  ใช้เวลา ข้อละ 45 วินาที โดยสุ่มเลขโดดเป็นโจทย์ 5 ตัวเลข ผลลัพธ์ 2 หลัก

รอบที่ 2  จำนวน 20 ข้อ  ใช้เวลา ข้อละ 30 วินาที โดยสุ่มเลขโดดเป็นโจทย์ 5 ตัวเลข ผลลัพธ์ 3 หลัก

 

ระดับชั้น ม.4-ม.6

รอบที่ 1  จำนวน 30 ข้อ  ใช้เวลา ข้อละ 45 วินาที โดยสุ่มเลขโดดเป็นโจทย์ 5 ตัวเลข ผลลัพธ์ 2 หลัก

รอบที่ 2  จำนวน 20 ข้อ  ใช้เวลา ข้อละ 30 วินาที โดยสุ่มเลขโดดเป็นโจทย์ 5 ตัวเลข ผลลัพธ์ 3 หลัก

3.4.วิธีการแข่งขัน

      3.4.1 กรรมการแจกกระดาษคำตอบตามจำนวนข้อ

      3.4.2 กรรมการแจกกระดาษทดให้ผู้แข่งขันทุกคน

      3.4.3 เมื่อหมดเวลาแต่ละข้อให้กรรมการเก็บกระดาษคำตอบ

      3.4.4 เมื่อหมดรอบแรก ให้พัก 10 นาที

4.  เกณฑ์การให้คะแนน

4.1 ผู้ที่ได้คำตอบเท่ากับผลลัพธ์ที่กำหนดให้ ได้คะแนนข้อละ  1  คะแนน

4.2 ถ้าข้อใดไม่สามารถหาคำตอบได้เท่ากับผลลัพธ์ที่กำหนดให้ ผู้ที่ได้คำตอบใกล้เคียงกับผลลัพธ์มากที่สุด เป็นผู้ได้คะแนน

5.  เกณฑ์การตัดสิน

              ในกรณีที่มีผู้ชนะลำดับที่  1 – 3 มากกว่า 3 คน ให้กำหนดโจทย์แข่งขันใหม่เฉพาะลำดับที่ต้องการ โดยแข่งขันทีละข้อจนกว่าจะได้ผู้ชนะ

คณะกรรมการ  รวมคะแนนรอบที่ 1 และรอบที่ 2  แล้วนำคะแนนรวมคิดเทียบเกณฑ์การตัดสิน ดังนี้

                                ร้อยละ    80 - 100             ได้รับรางวัลระดับเหรียญทอง

                                ร้อยละ    70 – 79               ได้รับรางวัลระดับเหรียญเงิน

                                ร้อยละ    60 – 69               ได้รับรางวัลระดับเหรียญทองแดง

                                ต่ำกว่าร้อยละ 60                  ได้รับเกียรติบัตร เว้นแต่กรรมการจะเห็นเป็นอย่างอื่น

ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นสิ้นสุด

6. คณะกรรมการการแข่งขัน

                6.1 ระดับชั้น ป.1-ป.3 และ ป.4-ป.6  คณะกรรมการการแข่งขันเป็นชุดเดียวกัน จำนวน 5-7  คน

               6.2 ระดับชั้น ม.1-ม.3 และ ม.4-ม.6   คณะกรรมการการแข่งขันเป็นชุดเดียวกัน จำนวน 5-7  คน

คุณสมบัติของคณะกรรมการ

               -  เป็นศึกษานิเทศก์ที่รับผิดชอบกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

                -  เป็นครูผู้สอนที่มีความเชี่ยวชาญกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์หรือโปรแกรม GSP

               -  ผู้ทรงคุณวุฒิในด้านคณิตศาสตร์

 ข้อควรคำนึง 

                -  กรรมการต้องไม่ตัดสินในกรณีสถานศึกษาของตนเข้าแข่งขัน

                -  กรรมการที่มาจากครูผู้สอนควรแต่งตั้งให้ตัดสินในระดับชั้นที่ทำการสอน

                -  กรรมการควรมาจาก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอื่นหรือหน่วยงานอื่นอย่างหลากหลาย

                -  กรรมการควรให้ข้อเสนอแนะเติมเต็มให้กับนักเรียนที่ชนะในลำดับที่ 1-3

 สถานที่ทำการแข่งขัน

                ควรใช้ห้องคอมพิวเตอร์หรือห้องที่สามารถดำเนินการแข่งขันได้พร้อมกัน

7.  การเข้าแข่งขันระดับชาติ

การแข่งขันแต่ละระดับชั้น ผู้ที่ได้คะแนนสูงสุด ลำดับที่  1 - 3 จากการแข่งขันระดับภาคจะได้เป็นตัวแทนเข้าแข่งขันในระดับชาติ

ข้อเสนอแนะในการต่อยอดในระดับชาติ  ควรต่อยอดโดยการจัดค่ายพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์

หมายเหตุ

     ***ไม่อนุญาตให้นำเครื่องคิดเลขหรืออุปกรณ์ช่วยอื่น ๆ เข้าไปในห้องแข่งขัน

คำสำคัญ (Tags): #gsp
หมายเลขบันทึก: 406322เขียนเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2010 20:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กันยายน 2012 23:47 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)

อยากเรียนแต่เข้าโปรแกรมไม่ได้ค่ะ

โหลดโปรแกรมแล้วคลาย Zip ก่อนจึง setup

อ้อ อย่างนี้นี่เอง พอดีจะไปแข่งเร็วๆนี้ ขอบคุณค่ะ

เรียน ผู้สนใจ GSP

มีเรื่องราวการแข่งขัน GSP อยากขอตั้งคำถาม

เนื่องจากวันที่ 8 พย 53 มีการแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนครั้งที่ 60 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

มหาสารครามเขต 2 สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ GSP ณ โรงเรียนอนุบาลพยัคฆภูมิพิสัย โดยมีประธานการแข่งขัน GSP ช่วงชั้นที่ 2

คือคุณ สุเทพ ครูวิทยฐานะชำนาญการพิเศษเป็นประธานกรรมการตัดสินกิจกรรม GSP

เมื่อการแข่งขันเสร็จสิ้น ผลการเเข่งขันปรากฎว่า โรงเรียนพยัคฆภูมิพิสัยอยู่ในลำดับที่น่าแปลกใจ โรงเรียนพระกุมารศึกษา

( ประสบการณ์ได้รับรางวัลคณิตศาสตร์ถ้วยพระราชทาน ) ก็เช่นกัน ผู้สงสัยในการตัดสินจึงขอดูกระดาษคำตอบเพียงเพื่อดูแนวทางการตัดสิน ณ สนามแข่งขัน ในวันแข่งขัน แต่ประธานไม่อนุญาต

ต่อมาจึงโทรศัพท์ไปยังประธานอีกครั้งในวันที่ 8 พย 53 เพื่อขอร้องท่านประธานและถามถึงแนวทางการตัดสิน ประธานตอบว่าใช้คำตอบที่ตรง กรณี ไม่ตรงให้ใกล้ที่สุด + , - 1 ซึ่งแปลกใจ... เพราะ... ในเกณฑ์ไม่มีคำว่า + , - 1 แต่มีคำว่าใกล้เคียงกับผลลัพธ์มากที่สุดเป็นผู้ได้คะแนน ซึ่งการสอบถามเป็นไปเพื่อนำไปแก้ไขตนเองในการฝึกทักษะแก่นักเรียน

ในวันนั้นท่านประธานได้โทรกลับมาและแจ้งว่าวันที่ 9 พย 53 จะให้เลขานำกระดาษคำตอบมาให้ ณ สนามแข่งขัน แต่เมื่อถึงวันที่ 9 พย 53 ประธานกลับคำ นอกจากจะให้รอเก้อแล้วยังไม่โทรบอกว่าไม่มา จนต้องโทรหาประธานเอง คำตอบที่ได้รับคือ ประธานบอกทางโทรศัพท์ว่าประชุมกรรมการแล้ว กรรมการทุกท่านลงความเห็นว่าไม่อนุญาติให้ดู

และ ประธานโทรปรึกษาเขตแล้ว เขตบอกเป็นการก้าวก่าย ( ซึ่งคำตอบว่าก้าวก่ายผู้เขียนเชื่อมั่นว่าไม่ใช่คำตอบจากเขต

อาจเกิดการเข้าใจผิดทางการสื่อสารของท่านประธานเอง ) และบอกว่า ตนเป็นประธาน คำตัดสินถือเป็นที่สุด และ เลขาเป็นผู้หญิง ตามงานตอนนี้ไม่ได้

จึงอยากเรียนถามผู้สนใจ GSP และผู้ที่เคยมีประสบการณ์ ในการแข่งขันระดับโรงเรียน ระดับภาค ระดับประเทศ ว่าเลขา

- เลขาเป็นผู้หญิงตามงานตอนนี้ไม่ได้ คือคำตอบที่เหมาะสมใช่หรือไม่

- เมื่อการแข่งขันเสร็จสิ้น กรณ๊มีข้อสงสัยหรือโต้แย้ง สามารถขอดูกระดาษคำตอบเพื่อทราบแนวการตัดสินในวันแข่งขัน

ณ สนามแข่งขัน ได้เลยใช่หรือไม่

- คำตัดสินถือเป็นที่สุดเมื่อไม่มีข้อกังขา ใช่หรือไม่

- กรรมการตัดสินที่มีหลักการต้องสามารถให้ผู้อื่นทราบแนวการตัดสิน ไม่ใช่แค่ผลการแข่งขันเท่านั้น ใช่หรือไม่

หรือทำอะไรไม่ได้เลย เพราะ............ต้องทำบันทึก.........................เพียงอย่างเดียว

******************************************ครูผู้สงสัย ********************************************

ในความรู้สึกของผม การคิดเลขเร็วน่าจะ ตรวจแบบข้อต่อข้อ สอบ 1ข้อ ตวรจเลย ทุกคนวางปากกาคว่ำกระดาษใครได้ตรงก็ยกมือตอบ ถ้าไม่มีใช้ค่าใกล้เคียง(มากหรือน้อยก็ได้ ) คล้ายๆ ไอคิว 180 ในทีวี

กำลังจะส่่งเด็กเข้าแข่งขันเช่นกัน ถ้าพบเหตุการณ์เช่นนี้ก็คงต้องนิ่ง แล้วพอถึงเวลาแข่งขันระดับภาค ผลที่ออกมาก็จะเป็นเครื่องพิสูจน์

อยากรู้ว่าจะคิดเลขให้ได้เร็วได้อย่างไรล่ะค่ะ หนูลองทำแล้วนานมากกว่าจะได้ผลลัพธืที่ตรง

ขอแสดงความคิดเห็นด้วยคนนะคะ  อาจจะช้าไปเพราะพึ่งเจอกระทู้นี้  ถือเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันนะคะ  แสดงความคิดเห็นจากประสบการณ์ในการจัดการแข่งขันที่ศรีสะเกษ เขต 1 ค่ะ

1. การแข่งขันคิดเลขเร็วนักเรียนจะเขียนวิธีการคิดในกระดาษเพื่อส่งให้คณะกรรมการตรวจนักเรียนที่จะได้คะแนนนั้นไม่ใช่คำตอบถูกอย่างเดียว  การเขียนแสดงการคิดต้องถูกด้วย  เช่น ต้องการคำตอบ 30  นักเรียนเขียน  (3+2)x5 กับ 3+2x5  จะคนละความหมายกัน  เพราะคนแรกคำตอบจะเป็น 30  และคนที่สองคำตอบจะเป็น 13

2. ถ้าในการตอบข้อนั้นไม่มีนักเรียนได้คำตอบตรงกับผลลัพธ์ที่กำหนด  นักเรียนที่ตอบใกล้เคียงที่สุดจะเป็นคนได้คะแนน (จะห่างจากผลลัพธ์ที่กำหนดเท่าใดก็ได้  แต่ขอให้ใกล้เคียงมากที่สุด ไม่มีการกำหนดว่า + , - 1 เท่านั้นจึงจะได้คะแนน  ทุกข้อต้องมีนักเรียนได้คะแนนอย่างน้อย 1 คนค่ะ

3. ในทางปฏิบัติการตรวจให้คะแนนไม่สามารถจะทำเหมือนที่ครูเสรีแสดงความคิดเห็นได้  เพราะนักเรียนที่เข้าแข่งขันในแต่ละระดับจะมีจำนวนมาก  ทั้งในระดับเขตพื้นที่และระดับภาค เพราะยิ่งจะเสียเวลา และมีความผิดพลาดมาก  ในการคิดหาคำตอบนักเรียนอาจจะคิดว่าตนเองคิดได้คำตอบตรงแต่การเขียนสื่อความนั้นเขียนผิดเช่นกรณีข้างต้น  จึงไม่สามารถใช้การยกมือแล้วให้คะแนนนักเรียนคนที่ตอบได้ตรงผลลัพธ์ที่กำหนดให้ได้เลยทันทีเช่นที่คุณครูเสรีคิดได้  การตรวจให้คะแนนจึงต้องมีกรรมการตรวจความถูกต้อง  (ควรเป็นคนเดียวกันตรวจในข้อนั้นๆ) เมื่อตรวจเสร็จจะมีกรรมการตรวจทานการให้คะแนนอีกครั้ง  และหลักฐานในการตรวจให้คะแนนทุกใบ  ทุกข้อและของนักเรียนทุกคน  นักเรียน/ครู/บุคคลทั่วไปสามารถขอดูและตรวจสอบได้ว่าข้อดังกล่าวนักเรียนได้คะแนนหรือไม่ได้คะแนน  ถ้าไม่ได้เป็นเพราะอะไร

         

อยากเเข่งคิดเลขเร็วมั่งจังเลยปีที่เเล้วก็อดเพราะหาที่สมัครไม่ได้...เฮ้อเย่จัง

อ้างอิง...ต้องการคำตอบ 30 นักเรียนเขียน (3+2)x5 กับ 3+2x5 จะคนละความหมายกัน เพราะคนแรกคำตอบจะเป็น 30 และคนที่สองคำตอบจะเป็น 13

....อยากทราบว่าคณิตศาสตร์คิดจากข้างหลังมาข้างหน้า หรือข้างหน้าไปข้างหลังคะ...อยากรู้ข้อเท็จจริงค่ะ

โดยหลักสากลในการคำนวณค่า เราไม่ได้คำนวณจากหลังมาหน้าหรือว่าหน้ามาหลังครับ ข้อตกลงสากลทั่วโลกคือ

ให้คำนวณค่าตามลำดับดังนี้ครับ

1.ถ้ามีวงเล็บคำนวณในวงเล็บ(parenthesis)ก่อนเสมอ

2.ถ้าไม่มีวงเล็บให้คำนวณตามลำดับคือ

2.1 เลขยกกำลัง(Exponent)

2.2 การคูณ(Multiplication) การหาร(Division) : ถ้ามีเฉพาะ คูณ กับหาร ให้ทำจากซ้ายไปขวา

2.3 การบวก (Addition) การลบ (Subtraction) : ถ้ามีเฉพาะ บวก กับ ลบ ให้ทำจากซ้ายไปขวา

ดังนั้นในกรณี 3+2x5 หมายถึงต้องทำคูณก่อนครับ กล่าวคือ

3+2x5 = 3+(2x5)

= 3+10

= 13 **

(3+2)x5 ได้คำตอบจริงหรือสงสัย ตอบด้วยค่ะ

นาๆ ทัศนะ เกี่ยวกับการแข่งขันคิดเลขเร็ว เนื่องจากพบปัญหาจากการแข่งขันเยอะมาก บางแห่งมีคนแข่งขันกันเยอะ ผมก็เลยแนะนำว่า เราเก็บคำตอบของคนที่ตอบถูกและตอบได้ใกล้เคียง มาก่อนเพื่อความรวดเร็วในการตรวจ ซึ่งนักเรียนต้องตัดสินใจว่าได้คำตอบหรือได้ใกล้เคียง ส่วนคนตอบอื่นๆ เราก็เก็บไว้อีกส่วนหนึ่ง (ซึ่งอาจจะตรวจภายหลังหากคนตอบถูกหรือใกล้เีคียงทำผิด)

จากคุณ MAY [IP: 125.26.70.195]

โพสเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2554 20:22

#2359406

ขอแสดงความคิดเห็นด้วยคนนะคะ อาจจะช้าไปเพราะพึ่งเจอกระทู้นี้ ถือเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันนะคะ แสดงความคิดเห็นจากประสบการณ์ในการจัดการแข่งขันที่ศรีสะเกษ เขต 1 ค่ะ

1. การแข่งขันคิดเลขเร็วนักเรียนจะเขียนวิธีการคิดในกระดาษเพื่อส่งให้คณะ กรรมการตรวจนักเรียนที่จะได้คะแนนนั้นไม่ใช่คำตอบถูกอย่างเดียว การเขียนแสดงการคิดต้องถูกด้วย เช่น ต้องการคำตอบ 30 นักเรียนเขียน (3+2)x5 กับ 3+2x5 จะคนละความหมายกัน เพราะคนแรกคำตอบจะเป็น 30 และคนที่สองคำตอบจะเป็น 13

2. ถ้าในการตอบข้อนั้นไม่มีนักเรียนได้คำตอบตรงกับผลลัพธ์ที่กำหนด นักเรียนที่ตอบใกล้เคียงที่สุดจะเป็นคนได้คะแนน (จะห่างจากผลลัพธ์ที่กำหนด เท่าใดก็ได้ แต่ขอให้ใกล้เคียงมากที่สุด ไม่มีการกำหนดว่า + , - 1 เท่านั้นจึงจะได้คะแนน ทุกข้อต้องมีนักเรียนได้คะแนนอย่างน้อย 1 คนค่ะ

3. ในทางปฏิบัติการตรวจให้คะแนนไม่สามารถจะทำเหมือนที่ครูเสรีแสดงความคิดเห็น ได้ เพราะนักเรียนที่เข้าแข่งขันในแต่ละระดับจะมีจำนวนมาก ทั้งในระดับเขตพื้นที่และระดับภาค เพราะยิ่งจะเสียเวลา และมีความผิดพลาดมาก ในการคิดหาคำตอบนักเรียนอาจจะคิดว่าตนเองคิดได้คำตอบ ตรงแต่การเขียนสื่อความนั้นเขียนผิดเช่นกรณีข้างต้น จึงไม่สามารถใช้การยกมือแล้วให้คะแนนนักเรียนคนที่ตอบได้ตรงผลลัพธ์ที่กำหนด ให้ได้เลยทันทีเช่นที่คุณครูเสรีคิดได้ การตรวจให้คะแนนจึงต้องมีกรรมการตรวจความถูกต้อง (ควรเป็นคนเดียวกันตรวจในข้อนั้นๆ) เมื่อตรวจเสร็จจะมีกรรมการตรวจทานการให้คะแนนอีกครั้ง และหลักฐานในการตรวจให้คะแนนทุกใบ ทุกข้อและของนักเรียนทุกคน นักเรียน/ครู/บุคคลทั่วไปสามารถขอดูและตรวจสอบได้ว่าข้อดังกล่าวนักเรียนได้ คะแนนหรือไม่ได้คะแนน ถ้าไม่ได้เป็นเพราะอะไร

ก็ถูกครับแต่ต้องใช้คนตรวจหลายคนและใช้เวลามาก กรรมการบางคนก็ไม่เข้าใจหรือรีบตรวจ เลยทำให้ผิดเป็นถูก ถูกเป็นผิดก็มี

จากครู [IP: 202.12.97.122]

10 พฤศจิกายน 2553 11:42

#2246504

เรียน ผู้สนใจ GSP

มีเรื่องราวการแข่งขัน GSP อยากขอตั้งคำถาม

เนื่องจากวันที่ 8 พย 53 มีการแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนครั้งที่ 60 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

มหาสารครามเขต 2 สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ GSP ณ โรงเรียนอนุบาลพยัคฆภูมิพิสัย โดยมีประธานการแข่งขัน GSP ช่วงชั้นที่ 2

คือคุณ สุเทพ ครูวิทยฐานะชำนาญการพิเศษเป็นประธานกรรมการตัดสินกิจกรรม GSP

เมื่อการแข่งขันเสร็จสิ้น ผลการเเข่งขันปรากฎว่า โรงเรียนพยัคฆภูมิพิสัยอยู่ในลำดับที่น่าแปลกใจ โรงเรียนพระกุมารศึกษา

( ประสบการณ์ได้รับรางวัลคณิตศาสตร์ถ้วยพระราชทาน ) ก็เช่นกัน ผู้สงสัยในการตัดสินจึงขอดูกระดาษคำตอบเพียงเพื่อดูแนวทางการตัดสิน ณ สนามแข่งขัน ในวันแข่งขัน แต่ประธานไม่อนุญาต

ต่อมาจึงโทรศัพท์ไปยังประธานอีกครั้งในวันที่ 8 พย 53 เพื่อขอร้องท่านประธานและถามถึงแนวทางการตัดสิน ประธานตอบว่าใช้คำตอบที่ตรง กรณี ไม่ตรงให้ใกล้ที่สุด + , - 1 ซึ่งแปลกใจ... เพราะ... ในเกณฑ์ไม่มีคำว่า + , - 1 แต่มีคำว่าใกล้เคียงกับผลลัพธ์มากที่สุดเป็นผู้ได้คะแนน ซึ่งการสอบถามเป็นไปเพื่อนำไปแก้ไขตนเองในการฝึกทักษะแก่นักเรียน

ในวันนั้นท่านประธานได้โทรกลับมาและแจ้งว่าวันที่ 9 พย 53 จะให้เลขานำกระดาษคำตอบมาให้ ณ สนามแข่งขัน แต่เมื่อถึงวันที่ 9 พย 53 ประธานกลับคำ นอกจากจะให้รอเก้อแล้วยังไม่โทรบอกว่าไม่มา จนต้องโทรหาประธานเอง คำตอบที่ได้รับคือ ประธานบอกทางโทรศัพท์ว่าประชุมกรรมการแล้ว กรรมการทุกท่านลงความเห็นว่าไม่อนุญาติให้ดู

และ ประธานโทรปรึกษาเขตแล้ว เขตบอกเป็นการก้าวก่าย ( ซึ่งคำตอบว่าก้าวก่ายผู้เขียนเชื่อมั่นว่าไม่ใช่คำตอบจากเขต

อาจ เกิดการเข้าใจผิดทางการสื่อสารของท่านประธานเอง ) และบอกว่า ตนเป็นประธาน คำตัดสินถือเป็นที่สุด และ เลขาเป็นผู้หญิง ตามงานตอนนี้ไม่ได้

จึงอยากเรียนถามผู้สนใจ GSP และผู้ที่เคยมีประสบการณ์ ในการแข่งขันระดับโรงเรียน ระดับภาค ระดับประเทศ ว่าเลขา

- เลขาเป็นผู้หญิงตามงานตอนนี้ไม่ได้ คือคำตอบที่เหมาะสมใช่หรือไม่

- เมื่อการแข่งขันเสร็จสิ้น กรณ๊มีข้อสงสัยหรือโต้แย้ง สามารถขอดูกระดาษคำตอบเพื่อทราบแนวการตัดสินในวันแข่งขัน

ณ สนามแข่งขัน ได้เลยใช่หรือไม่

- คำตัดสินถือเป็นที่สุดเมื่อไม่มีข้อกังขา ใช่หรือไม่

- กรรมการตัดสินที่มีหลักการต้องสามารถให้ผู้อื่นทราบแนวการตัดสิน ไม่ใช่แค่ผลการแข่งขันเท่านั้น ใช่หรือไม่

หรือทำอะไรไม่ได้เลย เพราะ............ต้องทำบันทึก.........................เพียงอย่างเดียว

******************************************ครูผู้สงสัย ********************************************

จากคุณธเนษฐ ชวาลสันตติ [IP: 101.108.14.169]

19 สิงหาคม 2554 19:09

#2513532

แนะนำการเขียนคำตอบ

โดยหลักสากลในการคำนวณค่า เราไม่ได้คำนวณจากหลังมาหน้าหรือว่าหน้ามาหลังครับ ข้อตกลงสากลทั่วโลกคือ

ให้คำนวณค่าตามลำดับดังนี้ครับ

1.ถ้ามีวงเล็บคำนวณในวงเล็บ(parenthesis)ก่อนเสมอ

2.ถ้าไม่มีวงเล็บให้คำนวณตามลำดับคือ

2.1 เลขยกกำลัง(Exponent)

2.2 การคูณ(Multiplication) การหาร(Division) : ถ้ามีเฉพาะ คูณ กับหาร ให้ทำจากซ้ายไปขวา

2.3 การบวก (Addition) การลบ (Subtraction) : ถ้ามีเฉพาะ บวก กับ ลบ ให้ทำจากซ้ายไปขวา

ดังนั้นในกรณี 3+2x5 หมายถึงต้องทำคูณก่อนครับ กล่าวคือ

3+2x5 = 3+(2x5)

= 3+10

= 13 **

ก็ถุกต้องครับ แต่หากกรรมการบางคนไม่เข้าบอกว่าไม่ใส่วงเล็บถือว่าผิดก็มี

<p>คิดเลขเร็ว ป.4-6 ใช้แฟกทอเรียลได้มั้ยคะ่

เช่น 2 7 6 3 เท่ากับ 43

ใช้ ! ก็ได้ (6*7)+(3-2)!

6*7 = 42

(3-2)! = 1!

42+1= 43 ได้ไหมคะ

รบกวนตอบด้วยนะคะจะได้เอาฝึกเด็กคะ

เนื่องจากผมพาเด็กไปแข่งขันงานศิลปหัตถกรรม แข่งคิดเลขเร็วเนี่ยแหละ

ผมฝึกเด็กอย่างดีนะ แต่คะแนนออกมาน่าผิดหวัง

ผมเลยรอจังหวะไปขอดูข้อสอบ ก็ดูได้ เชื่อไหมเกิดอะไรขึ้น

โจทย์สุ่ม 4 ตัว คำตอบสุ่ม 3 ตั่ว รู้สึกว่าคำตอบที่สุ่มส่วนใหญ่จะได้ประมาณ 900 กว่าๆ

เด็กผมตอบพันนิดๆ แต่คนที่ชนะ ตอบประมาณ 700 กรรมการให้ ตอบ 700 ได้คะแนน

ผมถามว่าทำไมในเมื่อ1000 มันก็ใกล้เคียงกว่า 700 คำตอบคือว่า กรรมการบอกว่าสุ่ม 3 ตัว

แต่เด็กผมตอบ 4 ตัว ประมาณ 6-7 ข้อ ที่เป็นแบบนี้ แข่งเมื่อวันที่23 พ.ย. 54 ที่ผ่านมา

น่าผิดหวังมากกับคำตอบของกรรมการชุดนี้

ประเทศจะไม่พัฒนาเพราะคนพวกนี้แหละครับ ฝากไว้ด้วยครับ

โจทย์สุ่ม 4 ตัว คำตอบสุ่ม 3 ตั่ว รู้สึกว่าคำตอบที่สุ่มส่วนใหญ่จะได้ประมาณ 900 กว่าๆ

เด็กผมตอบพันนิดๆ แต่คนที่ชนะ ตอบประมาณ 700 กรรมการให้ ตอบ 700 ได้คะแนน

ผมถามว่าทำไมในเมื่อ1000 มันก็ใกล้เคียงกว่า 700 คำตอบคือว่า กรรมการบอกว่าสุ่ม 3 ตัว

แต่เด็กผมตอบ 4 ตัว ประมาณ 6-7 ข้อ ที่เป็นแบบนี้ แข่งเมื่อวันที่23 พ.ย. 54 ที่ผ่านมา

น่าผิดหวังมากกับคำตอบของกรรมการชุดนี้ประเทศจะไม่พัฒนาเพราะคนพวกนี้แหละครับ ฝากไว้ด้วยครับ

ขออนุญาติตอบว่ากรรมการทำถูแล้วนะครับ เขาทำตามกติกาคือต้องตอบ 3 หลัก แต่ทีนี่สมมุตว่าคำตอบ 900 คนหนึ่ง ตอบ1000 อีกคนตอบ 100 แล้วคนตอบ 100 ได้คะแนน ก็ขำดีเหมือนกัน

สรุปว่าคนคิดกติการะดับประเทศ นะโง่ ที่ให้ ประถม ใช้โจทย์ 4 หลัก คำตอบ 3 หลัก

ส่วนมัธยม ใช้โจทย์ 5 หลัก คำตอบ 3 หลัก

โจทย์5 หลักมันง่ายกว่า 4 หลัก แหงๆ ..........สรุปว่า มัธยมง่ายกว่าประถมครับ

สมมุติว่า สุ่มแล้วได้คำตอบ 50 เด็กคนที่ 1 ตอบ 48 เด็กคนที่ 2 ตอบ 51 คนไหนชนะ หรือ สุ่มแล้วได้คำตอบ 20 เด็กคนที่ 1 ตอบ 19 เด็กคนที่ 2 ตอบ 21 ใครชนะ

http://www.m-mathmedia.com/cai/index5330.html เว็บนี้ไม่ต้องโหลด มีเสียงเตือนให้ด้วย

ไม่ค่อยเคลียร์ ถอดรากที่สองใด้กี่ครั้งกันแน่ ส่วน 3*2+5 ใด้ สิบเอ็ดอย่างเดียวครับ ไม่ใข่ได้ยี่สิบเอ็ดก็ได้ไม่งั้น คอมมันก็ประมวลผลมั่วนะสิ เพราะการเขียวโปรแกรมเขาก็เขียนคล้ายๆแบบนี้ละ คิด สามคูณสองก่อนคับ

ถ้าโจทย์ 3 4 5 6 สามารถยกกำลังสองได้หรือไม่ครับ และยกกำลังได้กี่ครั้งครับ ?

และถ้าโจทย์ 6 7 8 9 สามารถยกกำลังได้อย่างไร หรือทำอย่างไรถ้าจะยกกำลัง กรุณายกตัวอย่างด้วยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท