บทเรียนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จาก "ครึ่งทาง" ของเกมปลูกผัก "Farmville"


จากการเข้าไปศึกษาในเกม Farmville ทำให้ผมสามารถพัฒนาความรู้ในเชิงเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างเข้าใจมากขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ

หลังจากผมได้รับการชักชวนให้มาใช้พื้นที่ใน Face book เพื่อการสร้างพันธมิตรในกลุ่มใหม่หลังจากกลุ่มเพื่อนใน G2K เริ่มน้อยลงไป ทำให้มีคนมาแลกเปลี่ยนน้อยลง

ที่ผมหวังว่าการเข้าไปใน Face book

  • จะทำให้ผมสร้างความเชื่อมโยงทางเครือข่าย
  • ที่สามารถพบพันธมิตรเดิม และ
  • อาจมีพันธมิตรใหม่ๆมากขึ้น

พอผมเข้าไปครั้งแรก ก็เผชิญปัญหา “ขยะ” ของระบบ ที่ผมเคยพบใน G2K ที่ผมหาทางแก้ไขได้แล้ว

แต่ใน Face book นั้น ผมไม่ทราบวิธีการหลีกเลี่ยง ทำให้อึดอัดมาก

เลยไล่ลบลิงค์ที่มาของขยะเหล่านั้น แบบไม่เข้าใจระบบ ที่ทำให้บังเอิญไปลบส่วนที่เป็นประโยชน์บางมุมออกไปด้วย

ความอึดอัดกับ “กองขยะ” ใน Face book ที่ผมไม่ทราบวิธีเลี่ยงนั้น

ทำให้ผมพยายามหาทางเลี่ยงตามความรู้สึกของตัวเอง โดยก้าวเลี่ยงพ้น “กองขยะ”

ล้ำไปในโปรแกรมย่อยของ Face Book คือ Farmville ที่

  • สามารถเลือกเพื่อนที่จะคบได้
    • ที่ใน Face book ผมทำไม่ได้ หรือผมทำไม่เป็นที่จะเลี่ยงกองขยะที่มาจาก “เพื่อนของเพื่อน”
    • เลือกที่จะคบกับบางคนในบางมุมได้
      • ที่ใน Face book ทำไม่ได้
      • หรือ ทำไม่เป็นมากกว่า

การก้าวเลยเข้าไปในเกม “ปลูกผัก” ได้ประมาณเดือนกว่าๆ ทำให้ผมก็ค่อยๆเรียนรู้ระบบของเวบ และกติกาของเกมมาโดยลำดับ จนวันนี้ผมก้าวมาครึ่งทางของเกม อยู่ในระดับความสำเร็จในขั้นที่ ๕๐ และมีเพื่อน ๘๖ คน

Large_halfwayplot

หน้าตาแปลงผักของผมใน Farmville 

วันที่ ๑ พ.ย. ๒๕๕๓

 

ทำให้ผมเริ่มมีความมั่นใจที่จะนำเสนอสรุปบทเรียนที่น่าจะเป็นประโยชน์กับทุกคน

ทั้งท่านที่เล่นและไม่เล่นเกม แต่อยากรู้ว่า

  • เกมมีอะไร
  • เล่นไปทำไม
  • เล่นแล้วได้อะไรเสียอะไร

เพื่อที่จะทำให้การใช้ทรัพยากรของเรามีคุณค่า และคุ้มค่ากับการลงทุนของทุกฝ่าย

จากการเข้าไปศึกษาในเกม Farmville ทำให้ผมสามารถพัฒนาความรู้ในเชิงเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างเข้าใจมากขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ

เพราะ

การเริ่มเล่นนั้น ผู้เล่นแต่ละคนที่เข้ามาใหม่จะมีทรัพยากรน้อยมาก

แบบคนจนก็ว่าได้

  • ไม่มีทุนอื่นใด นอกจากจอบเล่มดียว
  • ไม่มีเงินกู้ มีแต่ต้องสะสมทุนเองตามลำดับ เป็นขั้นๆ
  • มีที่ทำกินเพียงแปลงเล็กๆกับที่ดินแปลงเล็กๆ ที่ว่างๆ ไม่มีรั้ว
  • ไม่มีปุ๋ย ไม่มีอาหารสัตว์ ต้องรอบริจาคจากเพื่อน หรือไปทำงานแลกมา
  • ไม่มีสัตว์
  • ไม่มีต้นไม้
  • ไม่มีบ้าน
  • ไม่มีเครื่องมือการทำการเกษตรใดๆ
  • มีเงินทุนให้เล็กน้อย แค่ไว้ซื้อเมล็ดพันธุ์พืชแบบ "ถูกๆ" ที่เมื่อปลูกแล้วขายได้ถูกๆ
  • ไม่มีความรู้
  • ไม่มีความเข้าใจระบบทรัพยากร
  • ไม่มีสังคม
  • ไม่มีแรงงาน มีแต่แรงงานของตนเอง (แบบไม่มีครอบครัว)
  • ไม่มีกลุ่ม ไม่มีเพื่อน ไม่มีใครอยากเป็นเพื่อน
  • ไม่มีคนคอยช่วยหรือดูแลแปลง ทำให้มีปัญหาในการทำการเกษตรบ่อยๆ
  • ไม่มีความเข้าใจในระบบการบริหารจัดการ
  • และถูกเอาเปรียบ จำกัดสิทธิ์การทำการเกษตรสารพัดชนิด

ที่แทบไม่แตกต่างจากคนจนในภาคการเกษตรของไทยในปัจจุบัน

นอกเหนือไปจากปัญหาความเร็วของอินเตอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์ที่ใช้

ที่ผมเปรียบเสมือนระดับความสามารถของสมอง การเรียนรู้ และปริมาณแหล่งข้อมูลที่มีของคนในชีวิตจริง

ที่ทำให้แข่งขันกับเพื่อนและผู้เล่นอื่นๆไม่ได้ ที่จะกลายเป็นฐานทรัพยากรให้คนอื่นใช้ แทนที่จะได้พึงพาอาศัยกันตามความตั้งใจที่กำหนดไว้เดิม

ปัญหาต่างๆ เป็นประเด็นที่ท้าทายมากสำหรับ “มือใหม่” ที่จะเข้ามา

ที่คนกลุ่มหนึ่งจะเข้ามา แล้วก็ถอยในระดับที่ ๑ ไม่เกิน ๕ ที่อาจยังมองไม่เห็นประโยชน์ หรือ ไม่ถูกจริตของตนเอง หรือ ไม่สามารถเรียนรู้ได้ตามเงื่อนไขของโปรแกรม (ที่ล้อการพัฒนาการของสังคมปัจจุบัน)

มือใหม่ที่ใจสู้ จะค่อยๆไต่ระดับของการแก้ปัญหา และการเรียนรู้โดยลำดับ

ที่ในตอนแรกๆจะยากมาก เพราะขาดทุกอย่าง ทั้งทรัพยากรและความรู้

 แต่ก็มักไต่ระดับได้ง่าย แบบให้กำลังใจมือใหม่กันสุดๆ

และเริ่มยากมากขึ้นโดยลำดับ

ที่ต้องอาศัยทั้ง

  • ความคิด
  • ความรู้
  • ความตั้งใจ
  • การช่วยเหลือพึ่งพากันในสังคม
  • การจัดการทรัพยากรในฟาร์มให้สมดุล และสอดคล้องกับระบบการทำงานทั้งของตนเอง และเพื่อน
  • การจัดการเวลาในการทำงานที่เหมาะสมกับความสามารถของตนเอง
  • การมีเพื่อนที่มีน้ำใจ ช่วยเหลือเกื้อกูลกันจะพัฒนาไปได้เร็ว
  • ความรู้ และการพัฒนาขีดความสามารถของตนเองในทุกด้าน ทั้งพัฒนาพื้นที่ สิทธิการทำการเกษตร ผลประโยชน์ที่พึงมีพึงได้ในแต่ละกิจกรรม

จะทำให้ปัญหา ขีดจำกัดต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นลดลงโดยลำดับ

  • เริ่มจากการสะสมทุนจากการเก็บเล็กผสมน้อย
  • หาเพื่อน ที่ต้องอาศัยทุนเก่าทางสังคม ที่รู้จักกันเป็นส่วนตัว หรือไม่ทำตัวเองให้น่าคบ ก็จะทำให้มีคนอยากคบ ที่จะทำให้เข้าสังคมได้ จนมีเพื่อนมากอย่างรวดเร็ว
    • แต่เพื่อนก็ต้องเลือกคบ เพื่อประหยัดเวลาและความก้าวหน้าของตนเอง
    • ไปช่วยงานเพื่อนบ่อยๆ ก็จะได้ค่าจ้างที่แน่นอน บางอย่างก็ตอบแทนทางอ้อม และมีรางวัลพิเศษในบางครั้ง ที่จะทำให้เราไม่ได้มากนัก ขึ้นอยู่กับงานที่ทำ และโชคของตนเองตามโปรแกรมที่เขาตั้งไว้
    • การไปช่วยเพื่อน ทำให้เรามีเพื่อนแบบแนะนำกันไปเรื่อยๆ ทั้งโดยบุคคลและระบบทางการสุ่มของโปรแกรม ที่คาดว่าจะดูจากความขยันของแต่ละคน
    • เพื่อนที่เล่นเกมมาก่อน ระดับสูงมักมีของมาก ที่สามารถแบ่งปันให้คนอื่นได้ แต่ผู้รับก็ต้องมีขีดความสามารถในการรับ มีฐานทรัพยากรรองรับโดยลำดับ
    • การทำงานแบบกลุ่มสหกรณ์จะได้รับรางวัลมากกว่าการทำงานเดี่ยว และสามารถทำงานใหญ่ได้ ที่มีผลตอบแทนหลากหลายและสูง
    • การเข้าเยี่ยมช่วยงานเพื่อนแต่ละครั้ง จะทำให้รู้ว่าเพื่อนกำลังทำอะไร พัฒนาอะไร ต้องการอะไร มีปัญหาอะไร ที่ทำให้เราได้ช่วยเหลือเพื่อนตามความต้องการของเพื่อน ที่โปรแกรมจะวิเคราะห์ช่วยเราไว้แล้ว แต่เราก็สามารถประเมินเอง และทำเองได้
    • ทำให้รู้จักนิสัยใจคอของเพื่อนแต่ละคน ว่าชอบแบบไหน ที่สะท้อนออกมาได้ดีมาก ทั้งจากการเล่นเกม และการจัดฟาร์มของตนเอง แบบว่า “ถ้าไม่มีข้อจำกัดทางทรัพยากรและสังคม (แต่มีข้อจำกัดทางโปรแกรม) ท่านอยากจะทำอะไร” เห็นได้ชัดจริงๆ สามารถเลือกคบคนได้ในระดับที่ดีทีเดียว โดยเฉพาะในกลุ่มที่เข้ามาเล่นเกม
    • การทำงานกลุ่มจะสะท้อนนิสัยจริงของแต่ละคน ที่ชอบนำ ชอบตาม และระดับความรับผิดชอบต่อตนเอง และกลุ่ม การเสียสละเพื่อให้กลุ่มทำงานสำเร็จ และการเอาเปรียบกันในกลุ่ม มีให้เห็นชัดเจน เหมือนในสังคมจริง
    • การให้ความสนใจ ให้เวลา มีระบบอินเตอร์เน็ตเร็ว เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เร็ว สามารถพัฒนาตัวเองได้เร็ว ที่สามารถเอาเปรียบผู้อื่น หรือช่วยเหลือผู้อื่นได้มาก ทั้งสองทาง

โดยเฉลี่ยจากการเล่นเกม เขาจะตั้งโปรแกรมความยากง่ายให้สามารถก้าวหน้าได้ประมาณวันละ ๑ ระดับ

คนที่ขยันและเรียนรู้เร็ว อาจได้ถึง ๒-๓ ระดับในวันเดียว ที่จะมองเห็นได้จากการทำคะแนนแซงกลุ่มเพื่อนไปเรื่อยๆ ในแถบเครื่องมือด้านล่าง

และเมื่อก้าวผ่านใคร ในเรื่องอะไร ก้จะมีการเตือนเพื่อนและให้รางวัลปลอบใจกันทุกครั้ง ที่ทำให้น่าสนใจมาก

ผมเข้ามาในเกมนี้ ก็เกือบสองเดือน ที่ได้สะสมทุน ลงทุนซื้อ ลงทุนพัฒนา จนสามารถใช้งานได้ดีพอสมควร

ก็ได้

  • คะแนนที่กำหนดชั้นที่ระดับ ๕๐ (เฉลี่ยวันละ ๑ ระดับ)
  • ได้ช่วยเหลือเพื่อนทุกวัน และบริจาคทุนให้กับประเทศที่ประสพภัยที่ไฮติ ได้เงินจริงหลายแสนดอลลาร์
  • มีทุนเป็นตัวเงินเก็บไว้ลงทุนเกือบสองล้านเหรียญ ที่กำลังจะซื้อที่เพิ่มขยายที่ออกไปอีกครั้ง เมื่อมีเงินสำรองเกินสองล้านขึ้นไป
  • มีเครื่องมือทำการเกษตรครบทุกชนิด แม้กระทั่งเครื่องบินโปรยสารเร่งการเจริญ ให้ได้ผลผลิตทันเวลา
  • มีเพื่อน ๘๖ คน ที่มีระดับตั้งแต่ ๑๐ กว่าๆ จนถึง สูงสุดที่ ระดับ ๑๐๐
  • ที่ผมคิดว่าจะลองเรียนรู้ไปเรื่อยๆ และจะสรุปบทเรียนมาเป็นระยะๆ แทนเพื่อนคนอื่นๆ ที่อาจไม่ถนัดเขียนบรรยายแบบที่ผมทำ

ที่สำคัญ

ผมได้เรียนรู้แนวทางปฏิบัติของเกษตรกรยากจน แบบแทบไม่มีอะไร แต่ต้องตั้งใจเรียนรู้

เพื่อเข้าสู่ระบบ

  • ความสมบูรณ์ มั่งคั่ง
  • ชุมชนเป็นสุข
  • วิสาหกิจชุมชน
  • การพึ่งพาตนเอง และ
  • พึ่งพากันเอง
  • ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อย่างใกล้เคียงมาก

จึงนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

หมายเลขบันทึก: 405723เขียนเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2010 10:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

Problem to become fb slave is solved by using 9 heads perfect super computer:

I will give 5th NX Server perfect super computer work shop on Friday 19 September, 2010 at Computer Lab2, KPS,

KU.

It has 40 seats, now 30 is booking by 20 students and 10 external members. Only 10 seats left.

If you want to join work shop on time you have to confirm me by this e-mail [email protected] or calling

086-794-9495

ผมก็เป็นคนหนึ่งที่เล่นเกมนี้ ตอนแรกก็ประสบกับปัญหาทุนน้อยนี่แหละจนเกือบจะถอดใจ แต่ก็สู้เพราะคิดว่าเรื่องแค่นี้ถ้าไม่สู้แล้วจะทำอะไรกิน ประกอบกับสิ่งสำคัญคือ ผมเรียนเกษตรอยู่คับ ซึ่งfarmville เป็นแบบจำลอง ที่ดีสำหรับการใช้ชีวิตในวิถีเกษตรที่กำลังพัฒนา จนตอนนี้มันทำให้ผมคิดว่านี่คือห้องเรียน ไม่ใช่เกมอย่างที่ผมคิดในตอนแรก มันทำให้ผมหัดเรียนรู้ อดทน และรอคอย

ซึ่งสักวันหนึ่งเหตุการณ์เหล่านี้อาจจะเกิดขึ้นมาในชีวิตผมจริงๆก็ได้

ขอบคุณมากครับสำหรับบทเรียนเรื่องนี้ แล้ววันหลังผมจะมาเยี่ยมใหม่นะครับ

สู้ๆ!

ขอบคุณครับ ผมเตรียม "หยุด" แล้วครับ ลองไปอ่านบันทึก "ปลายทางซิครับ"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท