กลยุทธ์กลวิธีการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับจังหวัด


ยุทธวิธีการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับจังหวัด (PMQA) ปัจจัยแห่งความสำเร็จที่สำคัญที่สุดคือผู้บริหารและ Team และความตั้งใจมุ่งมั่นที่จะไปสู่เป้าหมายที่ร่วมกันคิด ร่วมกันทำ สิ่งที่ได้ก็คือ การพัฒนาที่มี ผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบต่อจังหวัดในอนาคต และรู้จักที่จะใช้เครื่องมือการพัฒนาคุณภาพให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

สวัสดีค่ะ ชาว Gotoknow ทุกท่าน
               * ห่างหายไปนานเหมือนกันสำหรับการบันทึกสิ่งที่เกิดขึ้นจากการทำงาน ที่ยอมรับว่าทำไมงานถึงมีมากมายตลอดทั้งปีงบประมาณ ปีนี้เป็นปีที่สาม  ที่ต้องรับผิดชอบงานในฐานะเจ้าภาพในการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐของจังหวัดนครศรีธรรมราช รวมทั้งการเป็นวิทยากรที่ปรึกษาการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐของ สำนักงาน ก.พ.ร.
              * สิ่งที่จะนำมาแลกเปลี่ยน และตัวเองได้นำมาเป็นยุทธวิธีในการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐจากการฝ่าฟันปัญหาอุปสรรค เพื่อให้การทำงานในเรื่องนี้เดินทางไปสู่เป้าหมาย...สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ * ความตั้งใจใฝ่รู้ของผู้ร่วมงานทุกคน (ใช้แรงอึดเยอะมาก)
              * การสื่อสารถ่ายทอดให้ผู้บริหารรับทราบและสนับสนุนในทุกด้าน
              * การชี้แจงทำความเข้าใจกับทีมงาน (34 ส่วนราชการ เกือบ 80 คน) ให้เข้าใจว่า PMQA เป็นเครื่องมือในการพัฒนาไม่ใช่งานที่เเพิ่มภาระงาน
             * รวมทีมผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญของจังหวัด ร่วมคิด ร่วมทำงาน และร่วมแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น (แต่งตั้งวิทยากรที่ปรึกษา PMQA) ของจังหวัด อาทิ อาจารย์วีณา ซึ่งเป็นข้าราชการบำนาญของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เป็นที่ปรึกษาทุกเรื่อง และมีน้ำใจ มีเวลาให้กับ น้อง ๆ ในทีมทุกคน (น่ารักจริง ๆ ) และเป็นคนที่เก่ง ใจกว้าง  พี่ชาญวิทย์  สมศักดิ์ เป็นวิทยากรที่เก่งทั้งทางด้านกระบวนการ และการจัดการความรู้ รู้ชัด รู้จริง รู้กว้าง สงบ เย็น และสมถะ ต้องยกให้พี่ชายคนนี้ 
            * และมีทีมงานอีกหลายคนที่ร่วมกันตลอดระยะเวลา 3 ปี
            * การทำงานต้องมี Approach แนวทางหรือแผนงาน ที่ชัดเจน การกำหนดปฏิทินการปฏิบัติงาน การแต่งตั้งทีมงาน และต้องเริ่มในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ
            * การประชุมมอบหมายภารกิจ การติดตาม ต้องทำอย่างต่อเนื่อง (Deployment)
            * การแจกแจงประเด็นการตรวจประเมินต้องชัดเจน
            * และสิ่งที่สำคัญ ทุกหมวด ทุกประเด็น ต้องนำเสนอผู้บริหารรับทราบผลความก้าวหน้าทุกระยะ
            * กระบวนการขับเคลื่อนได้ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ จากการบรรยาย การอธิบาย เปลี่ยนเป็นการระดมความคิด โดยใช้กระบวนการ และนำการจัดการความรู้มาเป็นเครื่องมือในการทำงาน
            * การเปรียบเทียบกระบวนการทำงาน ปี 2552 กับปี 2553 เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัด (Lerning)
           * แผนพัฒนาองค์การที่ ก.พ.ร.กำหนด สามารถร่วมกันจัดทำแล้วเสร็จ ภายใน 3 วัน (พาคณะทำงาน ทีมเดินทางไปร่วมกันจัดทำแผนนอกสถานที่ โรงแรมอย่างดี (ราคาไม่แพง) บรรยากาศชายหาดขนอม
           * สิ่งที่ได้ 2 ผล คือ ผลผลิต และผลลัพธ์ แต่ผลที่สาม ผลกระทบต้องดูในโอกาสข้างหน้า
           * ในกระบวนการได้ทำ AAR ได้ผลดีเกินคาด (เจ้าภาพ ทีมวิทยากรปลื้มสุด ๆ )
           * ได้แนวทางการขับเคลื่อนในมิติใหม่ ในลักษณะเชิงรุก ที่เกิดจากการที่ทุกคนได้ร่วมกันคิด ร่วมกันกำหนดและจะร่วมกันทำในปีงบประมาณ พ.ศ.2554
           * และสิ่งที่สำคัญที่จะมองข้ามไปไม่ได้ก็คือ กิจกรรมสัมพันธ์ ที่จะต้องสร้างและปลุกเร้าความร่วมมือร่วมใจในปี 54 นี้ และคาดการณ์ว่าทีมงานทุกคน ทุกส่วนราชการ (ภูมิภาค) และภาพรวมของจังหวัดนครศรีธรรมราช จะได้ทั้งงานวิชาการ การสร้างความสัมพันธ์ที่ดี
          * ทุกคนมีเป้าหมายที่ชัดเจน และเป็นเป้าหมายเดียวกัน คือ คนนครศรีธรรมราช ได้รับบริการที่ดีจากภาครัฐแน่น่อน
          * การขับเคลื่อนของทีมงานจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้วางแผนวางชัดเจน นำไปปฏิบัติได้ทุกกระบวน เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างไม่รู้จบ ความสอดคล้องเชื่อมโยง และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน (Integrate)
          * เป็นสิ่งที่ผู้บันทึก บรรจงที่จะเล่าสู่ให้เพื่อน ๆ  GotoKnow และผู้ที่สนใจในเรื่องนี้ได้อ่าน และนำไปเทียบเคียง ปรับใช้หรือ หากมีข้อคิดเห็น ยินดีอย่างยิ่งค่ะที่จะรับฟังค่ะ
 

หมายเลขบันทึก: 405365เขียนเมื่อ 29 ตุลาคม 2010 19:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 16:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ผมว่าน่าที่จะมีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการ จะดีมากเลยครับ

    จากประสบการณ์ของผม   อะไรที่เป็นทางการ   จะขยับลำบากครับ

                                  ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ น้องพัชน์ธนนันท์

การดำเนินงาน PMQA ของนครศรีธรรมราช ทุกคนทุกหน่วยต่างก็ภูมิใจในตัวเอง ที่ร่วมกันเรียนรู้ ฝ่าฟันอุปสรรคของความไม่รู้ด้วยการเรียนรู้ร่วมกัน และเชื่อว่าหลังจากผ่านกระบวนการที่ขนอมมาแล้วคงมีพลังเพิ่มขึ้นในปี ๕๔ แน่นอน เพราะได้ร่วมกำหนดเป้าหมายและเส้นทางเดินแล้ว

รู้สึกเป็นเกียรติเป็นอย่างสูง ที่จังหวัดไว้วางใจในเรื่องของการจัดกระบวนการที่ขนอมในการประชุมเชิงปฏิบัติการที่ผ่านมา ดีใจชื่นใจที่ทุกคน ๓๔ ส่วนราชการภูมิภาคมีความสุขกับการเรียนรู้แลกเปลี่ยน และน่าภูมิใจที่ทุกคนตั้งใจร่วมกันเรียนรู้เพื่อการทำงานร่วมกัน

สวัสดีค่ะ อาจารย์ small man

ขอบคุณค่ะ ที่เข้ามากทักทายและแสดงความคิดเห็นร่วมกัน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ไม่เป็นทางการ เป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับการเรียนรู้

สวัสดีค่ะ พี่ชาญวิทย์

ขอบคุณนะค่ะ สำหรับความร่วมมือและความเป็นทีมงานของจังหวัดนครศรีธรรมราช มีโอกาสจะเชิญมาจัดทำกระบวนการของจังหวัดอีกนะค่ะ สำหรับเวทีการสร้างความสัมพันธ์น่าจะเจอทีมงานอีกเยอะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท