กลวิธีในการแต่งฉันท์


กลวิธีในการแต่งฉันท์

       ศิลปะในการแต่งฉันท์ขึ้นอยู่กับสัมผัสคล้องจองและการแบ่งวรรคตอนให้รับกับจังหวะสัมผัสเพื่อให้เกิดความไพเราะยิ่งขึ้น ในสมัยแรกมีเพียงสัมผัสรับส่งเท่านั้น  ต่อมาเพิ่มสัมผัสและกลวิธีอื่นเข้าไปอีก

๑.       สัมผัส  ในการแต่งฉันท์หากมีสัมผัสเชื่อมสดับ คือ สัมผัสระหว่างวรรคแรกกับวรรคที่สองของบาทแรกจะทำให้เสียงไพเราะรื่นหูยิ่งขึ้น เช่น

           อรุณรุ่งรวีส่อง                                 ระยับท้องนภาลัย

 สลับสีมณีใส                                              รุจิเรจรำไพพรรณ

          พระพายพัดสะบัดพลิ้ว                     ละลอกลิ่วกระทบกรรณ

ละอองซ่านกระเซ็นพลัน                            กระเพื่อมพล่านตระการตา

                                                                  (นิ่มนวล  หาญทนงค์) 
 

๒.     การใช้คำ  ฉันท์เป็นคำประพันธ์ที่มีลีลาจังหวะสง่างาม  จึงต้องคำนึงถึงคำที่ประณีตวิจิตรบรรจง  ผู้แต่งจะต้องรู้จักการเลือกใช้คำ มีความรู้ในการสร้างคำ แผลงคำถูกต้องตามหลักภาษา ถูกต้องตามฉันทลักษณ์  การเลือกใช้คำมีหลัก ๓  ประการ ดังนี้

๒.๑ เสียงของคำ เสียงของคำในภาษากวีสามารถสร้างภาพและความมีชีวิตให้แก่ถ้อยคำ

      ในการแต่งฉันท์แต่ละชนิด  ต้องคำนึงถึงความนิยมในการเลือกเขียนฉันท์แต่ละชนิดด้วย  เพราะฉันท์แต่ละชนิดมีลีลาไม่เหมือนกัน  หากเลือกใช้ฉันท์ที่มีลีลาไม่สอดคล้องจะทำให้ขาดความประณีต ความไพเราะ และขาดอรรถรสของฉันท์ เช่น การใช้คำในบทที่แสดงอารมณ์โกรธอย่างรุนแรง  เสียงของคำต้องกระชากกระชั้น ใช้เสียงของคำเน้นเสียงเป็นจังหวะทุกระยะ ดังตัวอย่าง

                    เอออุเหม่นะมึงชิช่างกระไร       ทุทาสสถุลฉะนี้ไฉน

ก็มาเป็น

                    ศึกบ่ถึงและมึงก็ยังมิเห็น       จะน้อยจะมากจะยากจะเย็น

ประการใด

๒.๒ ความหมายของคำ  การเลือกใช้ศัพท์ที่มีความหมายเข้าใจง่ายถือเป็นความงามอย่างหนึ่งของฉันท์  ดังนั้นจึงต้องรู้จักเลือกสรรคำที่มีความหมายถูกต้อง ตรงตามต้องการ และยังต้องให้มีลีลาเข้ากับฉันท์ชนิดนั้น ๆ อีกด้วย  ศัพท์ที่นำมาใช้ต้องประกอบด้วย

๒.๒.๑  มากด้วยอักษรที่ไม่กระด้าง (ไม่มีคำหยาบคาย)

๒.๒.๒  พ้นไปจากอักษรที่อ่อนทั้งหมด (ความละเอียดอ่อน)

๒.๒.๓  มีพยัญชนะที่ปราศจากการสวดยาก (อ่านได้ง่าย)

ตัวอย่าง  อินทรวิเชียรฉันท์ แม้จะไม่กระด้างหยาบคาย ก็ไม่พ้นไปจากอักษรที่อ่อน จึงไม่นิยมนำมาเขียนเป็นฉันท์

        ท่านขึ้นกระไดมา                                และจะลงกระไดไป

ขั้นมีจะเท่าไร                                              ก็มิเคยจะนับดู

                                                                   (มาเนาะ  ยูเด็น)

๒.๓       จังหวะของคำ

                ฉันท์แต่ละชนิดมีจังหวะในการอ่านที่ไม่เหมือนกัน  การแบ่งวรรคตอนของฉันท์เพื่อให้รับกับจังหวะสัมผัส  การวางคำให้รับจังหวะช่วยให้ฉันท์มีลีลาที่งดงาม

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 404873เขียนเมื่อ 27 ตุลาคม 2010 12:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 19:14 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
  • สวัสดีครับอาจารย์
  • เข้ามาเรียนรู้ครับ
  • รบกวนอาจารย์ช่วยชี้แนะด้วยครับ
  • ขอบคุณครับ

มาเรียนรู้ฉันท์ ณ ยามเช้า ค่ะคุณครู

... อรุณรุ่งอันดามัน อยากขยันเหมือนใครเขา

รีบลุกขึ้นแต่หัวเช้า เพื่อเป้าหมายชมทิวทัศน์

... วาดหวังแสงตะวัน ผ่องอำไพได้สัมผัส

พฤหัสบดีมิเร่งรัด เพราะไร้นัดเรื่องใดใด

สุขสันต์วันครูนะคะ ;)

สวัสดีค่ะ

  ยินดีมากค่ะที่ได้มีโอกาสต้อนรับ   Ico32  บัวชูฝัก และ  Ico32  poo  ในบล็อก ศึกษาวรรณคดี  สามัคคีเภทคำฉันท์  ซึ่งครูแป๊วก็ต้องขอรับคำแนะนำเช่นเดียวกันค่ะ

 

ได้ความรู้เพิ่มขึ้นค่ะ แต่ว่าอยากจะเก่งภาษาไทย ต้องทำยังไงค่ะ

สวัสดีค่ะ  น้องสุปราณี

  อยากเก่งด้านภาษาไทยต้องเป็นนักอ่าน หมั่นสังเกต จดจำการใช้ถ้อยคำที่ได้พบเห็นในชีวิตประจำวันค่ะ 

ขอบคุณมากครับคุณครู

ผมได้ความรู้ไปเยอะมากๆเลยครับ

เพราะผมจะต้องเอาไปทำรายงานครับ

ขอบคุณครับ

:)

...ขอบคุณนะคะ สำหรับความรู้ที่นำมาเเลกเปลี่ยนค่ะ ....ชอบมาก ค่ะ ชอบอากลอน แต่เเต่งไม่ค่อยเป็นค่ะ ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท