ประชุมวิชาการสมาคมผู้ให้ความรู้โรคเบาหวาน ๒๕๕๓ (๗) : SMBG


น้ำตาลหลังอาหารเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน

ตอนที่ ๖

วันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๓

เวลา ๑๒.๔๕ – ๑๓.๔๕ น.
Luncheon Symposium: Going beyond HbA1c: SMBG Value and Pattern Analysis
วิทยากร : ศ.เกียรติคุณ นพ.เทพ หิมะทองคำ

... จะแปลผล SMBG อย่างไรให้ได้ประโยชน์มากที่สุด...โปรแกรม Accu-Chek connect ...เบาหวานชนิดที่ ๒ มี ๒ เรื่องคือความดื้อต่ออินซูลินและเบต้าเซลล์เสื่อม ความดื้อต่ออินซูลินเป็นกรรมพันธุ์ เกิดขึ้นก่อนเบต้าเซลล์ตาย ความดื้อต่ออินซูลินทำให้กรดไขมันสูง น้ำตาลสูง ทำให้เบต้าเซลล์ตาย เราวินิจฉัยเบาหวานช้าไป ตอนวินิจฉัยเบต้าเซลล์ตายไปครึ่งหนึ่งแล้ว ต้องดูแลตั้งแต่ในระยะ pre-diabetes การเจาะ FPG เจอเบาหวานช้า

การดูแลตั้งแต่เนิ่นๆ มีผลดีต่อหัวใจและหลอดเลือด...น้ำตาลหลังอาหารเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน...การจะจับ pre-diabetes ต้องทำ OGTT ต่อไปน่าจะทำได้ที่ รพสต.

ไม่มีอะไรที่ตายตัว ทุกอย่าง dynamic ความเสี่ยงไม่ตายตัว ในคนที่ FPG >126…..miss ไปครึ่งหนึ่ง


การใช้ค่า A1C คัดกรองเบาหวาน ถ้า A1C อยู่ที่ ๖.๕ detect ได้ไม่ถึงครึ่ง แต่แม่น จึงใช้ ๖.๕% บอกว่าเป็นหรือไม่เป็นเบาหวาน ให้ระดับ ๕.๗-๖.๔% บอก pre-diabetes คนที่น้ำตาลหลังอาหารขึ้นในขณะที่น้ำตาลเช้ายังไม่สูง พบว่าน้ำตาลหลังอาหารที่สูงขึ้นไปทำนายการตายจากหัวใจและหลอดเลือดได้

การประเมินจาก HbA1C อย่างเดียวไม่เพียงพอ HbA1C ที่เท่ากันไม่ได้หมายความว่าคนไข้ ๒ คนคุมเบาหวานได้เท่ากัน ความเสี่ยงก็ไม่เท่ากัน

Fact
- จาก continuous monitoring คนที่ไม่เป็นเบาหวาน น้ำตาลจะไม่เคยขึ้นสูงกว่า ๑๔๐ เลย
- SMBG วัดเป็นจุดๆ ไม่เคยวัดหลังอาหาร วัดก่อนอาหารดูดีหมด แต่หลังอาหารสูง ก็แสดงว่ายังคุมไม่ดี ทำแล้วต้องแปลผลได้
- ทำไมคนไข้จึงไม่ค่อยยอมทำ SMBG

สิ่งที่ HbA1C ไม่ให้ข้อมูล แต่ SMBG บอกเราได้
- Hypoglycemia
- ความสัมพันธ์ของอาหาร การออกกำลังกาย ยา และอินซูลิน กับค่าน้ำตาลในเลือด
- ผลของอาหารต่อน้ำตาลในเลือด
- ผลของการเคลื่อนไหวร่างกาย
- ผลของยาหรืออินซูลิน

หากน้ำตาลก่อนอาหารสูงอยู่แล้ว น้ำตาลหลังอาหารจะยิ่งสูงขึ้น แม้ว่าน้ำตาลก่อนอาหารจะไม่สูง แต่หลังอาหารก็สูงได้... ถ้าให้ยาให้น้ำตาลต่ำลง เขาจะมี hypoglycemia ตอนเช้าได้ ต้องไปดูที่อาหารและให้ยาที่ควบคุมน้ำตาลหลังอาหาร... การใช้ SMBG จะช่วยให้คุมน้ำตาลได้ตามเป้าหมาย

การที่ผู้ป่วยยังใช้ SMBG น้อย เพราะเราไม่ได้อธิบาย ไม่ให้ความสำคัญกับคุณค่าของ SMBG ...ต้องให้เขาเข้าใจเรื่องน้ำตาลหลังอาหาร...การคุมดี FPG ควรอยู่แถวๆ ๑๐๐ ไม่ใช่ ๑๔๐ เพราะหลังอาหารยังขึ้นอีก

มีสาเหตุอะไรบ้างที่ทำให้แพทย์ไม่ค่อยได้ดูผล SMBG... เราต้องบอกผู้ป่วยว่าเขาต้องตรวจอย่างไร เวลาไหนบ้าง

Structured Self-Testing คือการตรวจแบบใด... ก่อนตรวจต้องคุยกันว่าเป้าหมายคือการป้องกันโรค ไม่ใช่น้ำตาล การตรวจแบบ routine เป้าหมายคือคนที่ได้อินซูลิน จะปรับยา ต้องการดูผลจากการปรับพฤติกรรม ส่วน Focused testing ให้ทำเป็น pattern การตรวจ ๗ จุด จะบอกได้ว่า nature ของผู้ป่วยเป็นอย่างไร...การทำแบบ pair testing ก่อน-หลังอาหาร อย่างน้อยก็ให้ information มากขึ้น

Pattern analysis ดูว่ามีน้ำตาลต่ำบ้างหรือเปล่า แก้ไขก่อนแล้วจึงไปดูที่น้ำตาล fasting ถ้าดีแล้วก็ไปดูน้ำตาลหลังอาหาร

วัลลา ตันตโยทัย

หมายเลขบันทึก: 404454เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2010 09:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท