บุนนาค
ดร. วรนันท์ มุฮัมมัด รอมฎอน บุนนาค

จะตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ เพื่อคนส่วนใหญ่ได้อย่างไร?


รัฐบาลหลายรัฐบาลทั้งที่เป็นรัฐบาลเผด็จการ รัฐบาลปฏิกิริยา หรือที่แอบอ้างว่าตัวเองเป็นรัฐบาลมาจากประชาชามากกว่า 60 %ทั้งประเทศ และบ่อยครั้งอ้างว่าเป็นรัฐบาลประชาธิปไตย แท้ที่จริงมาจากการซื้อสิทธิขายเสียง ฉ้อฉลทุกรูปแบบ และไม่น้อยที่ทุกรัฐบาลมีกรอบคิดในการพัฒนาประเทศคือกรอบที่พยายามหาเหตุผลเข้าข้างตัวเอง เช่น 1.ทำโครงการที่เป็นประโยชน์กับคนส่วนใหญ่ และคนส่วนใหญ่เห็นด้วย คือประชาธิปไตยและความถูกต้อง คนส่วนน้อยไม่ควรจะดื่อดึงเห็นแก่ตัว ควรจะฟังเสียงส่วนใหญ่และควรเสียสละเพื่อประเทศ 2.อ้างว่าการตัดสินใจของรัฐบาล อยู่บนฐานของข้อเท็จจริงหลักเหตุและผล ชั่งข้อดีข้อเสียอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ไม่ใช้อารมณ์และความรู้สึกมาตัดสิน 3.พยายามแสดงท่าทีว่าจริงใจ การใช้เหตุผลทั้งสามข้อบวกกับมีสื่อ มี สส สว ที่มีผลประโยชน์ร่วมกันหรือมีจุดยืนทางความคิดร่วมกับชนชั้นนำที่คิดอยู่ได้ทางเดียวคืด การพัฒนาเศรษฐกิจต้องวัดด้วยการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม ในขณะที่ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม ที่คัดค้านโครงการใหญ่ เช่น ตาบตาพุด ท่อก๊าชไทยมาเลย์ เขื่อนปากมูลและอีกหลายโครงการที่คอร์รัปชั่นและละเมิดสิทธิชุมชน ประชาชนเขามีข้อจำกัดในการสื่อสารเหตุผลการคัดค้าน แม้จะมี องค์กรพัฒนาเอกชน (อพช) นักวิชาการ(กลายพันธุ์)ช่วยเหลือก็ตาม ยังถูกดิสเครดิตว่าเป็นคนกลุ่มน้อย ประชาชนจะถูกดดดเดี่ยวออกไปเรื่อยๆ และน่าเป็นห่วงว่ากลุ่มประชาชนที่คัดค้านโครงการใหญ่เหล่านี้ จะไม่มีเวที ไม่มีโอกาสที่จะต่อสู้กันด้วยเหตุด้วยผล ข้อมูลข่าวสารอย่างแท้จริง เขาอาจถูกผลักให้เกิดความคับข้องใจ จนต้องต่อสู้แบบจนตรอกในทุกรูปแบบ ซึ่งยิ่งจะทำให้พวกเขาเสียหายมากยิ่งขึ้น และจะเป็นความเสียหายของทั้งประเทศ ไม่มีความเสียหายของเฉพาะกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบโดยตรงเท่านั้น ต้องไม่ลืมว่าในระบบการศึกาสอนให้คนเชื่อเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจที่เน้นความมั่งคั่งด้านการผลิตการค้า พวกคุณรู้หรือไม่ว่าในโลกนี้มีการพัฒนาเศรษฐกิจแบบอื่นที่เน้นคุณภาพชีวิต เน้นการใช้พลังงานทางเลือก เกษตรทางเลือก ที่เขาอยู่รอด มีความสุข และประเทศชาติ ประชาชนมั่นคง

          ต้องยืนหยัดทางความคิดให้แจ่มชัดว่า ประชาธิปไตยไม่ได้หมายถึง เผด็จการของเสียงส่วนใหญ่เท่านั้น หากแต่ประชาธิปไตยยังหมายถึงการเคารพสิทธิ เสรีภาพของคนส่วนน้อย และการที่ผู้นำที่มาจากการเลือกตั้งอย่างมีวิจารณญาณเพื่อส่วนรวมในระยะยาวด้วย เช่น หากคนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม7% แต่ผู้นำต้องการเก็บภาษีนี้อย่างเป็นธรรมเพื่อนำไปพัฒนาประเทศ รวมถึงไปจ่ายเงินชดเชยให้กับกระบวนยุติธรรมที่เลว กรณีจับแพะ(ปีละกว่า 62 ล้าน)

         หากเราวิเคราะห์ให้ดีจะพบว่า การต่อสู้เพื่อพิทักษืทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คือการต่อสู้เพื่อผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ รวมทั้งลูกหลานเหลนของเรา ซึ่งจะรวมถึงคนอีกไม่ต่ำกว่า 80 - 100 ล้านคนในอนาคต ไม่ใช่เพื่อคนปากมูล คนระยอง หรือคนจะนะเท่านั้น ที่รัฐบาลหลายยุค หลายสมัยอ้างว่าการสร้างเขื่อน ท่อก๊าซ โรงไฟฟ้าหินกรูด บ่อนอก เป็นประโยชน์แก่คนส่วนใหญ่ ที่เป็นความคิดของพวกเห็นด้วยกับทุนนิยมโลกาภิวัฒน์ ไม่ใช่ความจริงที่พิสูจน์ได้แบบวิทยาศาสตร์ ว่าสิ่งเหล่านี้จะนำความเจริญมาให้ประเทศชาติ ประชาชนมีงานการอาชีพทำ ประชาชนจะมีรายได้สูงขึ้น เลย ไม่ต่างอะไรกับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่กลุ่มคนไม่กี่ตระกูลที่ถือหุ้นร่ำรวย คาราน้ำมันแตกต่างจะประเทศเพื่อบ้านครึ่งต่อครึ่ง(มาเลย์) คนกลุ่มน้อนเหล่านี้ได้ประโยชน์ ไม่คุ้งกับผลเสียด้านการทำลายสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นสมบัติของคนทั้งประเทศ  ทำลายเศรษฐกิจ และวิถีชีวิตของชุมชน ดังนั้นการคิดตัดสินใจใดใดของผู้มีอำนาจรัฐ จะต้องฟังเสยงประชาชน องค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการทั้งหลายของทุกมหาวิทยาลัย อย่างมีภววิสัยที่สร้างสรรค์ ไม่ใช่คำนึงแต่ผลประโยชน์ของพวกพ้อง สร้างฐานเสียง หรือทุจริตคอร์รัปชั่นเชิงนโยบาย ที่คนส่วนใหญ่ยากที่จะรู้

หมายเลขบันทึก: 403518เขียนเมื่อ 19 ตุลาคม 2010 11:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 16:50 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท