การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ


องค์ความรู้

                การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ในโรงเรียน

 

                      

                                                               

 

                1.  มีการกำหนดวิสัยทัศน์  พันธกิจ  ที่แน่นอนในการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับโรงเรียนให้เรียบร้อย  โดยความร่วมมือขององค์กรการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร  หรือผู้ใช้  เป็นต้น

                2.  วางแผนกำหนดยุทธศาสตร์ เพื่อการนำองค์กร  เทคโนโลยีการบริหารการศึกษาสู่เป้าหมาย
ที่วางไว้

                3.  กำหนดแผน  เพื่อนำสู่การปฏิบัติรองรับยุทธศาสตร์ที่กำหนด

                4.  สร้างเครือข่ายการทำงาน

                5.  ลงมือปฏิบัติสู่ความเป็นเลิศตามที่วางไว้

                6.  สรุปผลลัพธ์ของการดำเนินการ

                7.  วัดและประเมินผล  การจัดการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ

                การบริหารระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นการบริหารระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารในโรงเรียน   ต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือของการบริหาร โดยเฉพาะการบริหารจัดการข้อมูล โดยโรงเรียนต้องมีฐานข้อมูลที่สมบูรณ์ ข้อมูลที่สำคัญได้แก่ ข้อมูลด้านบุคลากร ได้แก่ นักเรียน และครู ข้อมูลด้านทรัพยากร ได้แก่ การเงินและงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์   ข้อมูลด้านบริหารทั่วไป เพื่อเป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษา และข้อมูลที่เกี่ยวกับความรู้ความสามารถในการสอนของครู โดยระบบสารสนเทศของโรงเรียนอัจฉริยะ ได้แก่

1) ระบบสารสนเทศพื้นฐานของโรงเรียน ประกอบด้วย ข้อมูลและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับภาพรวมของสถานศึกษา สภาพเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ความต้องการของชุมชน สภาพการบริหารและการจัดการตามโครงสร้างและภารกิจ เช่น ปฏิทินการปฏิบัติงานของโรงเรียน กิจกรรมประจำวันของโรงเรียน ระบบเอกสารที่จำเป็นในโรงเรียน เป็นต้น

2) ระบบสารสนเทศเกี่ยวกับผู้เรียน เป็นระบบสารสนเทศที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้เรียนทั้งหมด สารสนเทศส่วนนี้จัดทำโดยครูผู้สอนหรือผู้ปฏิบัติงานเป็นส่วนใหญ่ เช่น ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนจำแนกเป็นรายชั้นรายปี ผลการประเมินคุณภาพของผู้เรียน รายงานผลความก้าวหน้าของผู้เรียน รายงานความประพฤติ พฤติกรรมการแสดงออกของผู้เรียน เป็นต้น

3) ระบบสารสนเทศการบริหารวิชาการ เป็นการจัดระบบสารสนเทศเกี่ยวกับหลักสูตรและการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

4) ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ เป็นระบบสารสนเทศที่ต้องมีการประเมินผลรวม มีการเปรียบเทียบข้อมูลอย่างถูกต้องและเป็นปัจจุบัน เพื่อให้เกิดการบริหารงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ เช่น งานธุรการ การเงิน งานบุคลากร งานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน งานพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ เป็นต้น

5) ระบบสารสนเทศเพื่อการรายงาน การบริหารจัดการของโรงเรียนต้องมีการรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปีต่อเขตพื้นที่การศึกษาที่รับผิดชอบ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการรายงานให้ผู้ปกครองชุมชน และสาธารณชนให้ทราบ ดังนั้น สารสนเทศส่วนนี้จึงเป็นการนำข้อมูลสารสนเทศทั้ง 4 ส่วน ที่กล่าวมาข้างต้นมาจัดทำ สรุปเป็นภาพรวม ที่ชี้ให้เห็นถึงผล สำเร็จตามสภาพและผลการพัฒนาที่เกิดขึ้น

                                      

                                                 

                        

 

 

คำสำคัญ (Tags): #การศึกษา
หมายเลขบันทึก: 403480เขียนเมื่อ 19 ตุลาคม 2010 08:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 16:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท