Knowledge Camping Debsirin ครั้งที่ 12


เทพศิรินทร์

วันที่ 15 ตุลาคม 2553 ผมได้ไปร่วมงานพิธีเปิด  Knowledge Camping Debsirin  ครั้งที่ 12  ซึ่งการทำกิจกรรมครั้งนี้เข้าค่ายที่ป้อมพระจุลจอมเกล้าผมเป็นผู้ริเริ่มครั้งแรกและปัจจุบันนี้ผมได้มอบให้เป็นสมบัติของชาวเทพศิรินทร์ทุกคน  ณ โรงเรียนเทพศิรินทร์ โดยได้รับเกียรติจาก  หม่อมเจ้าภีศเดช  รัชนี ซึ่งเป็นศิษย์เก่า( ท.ศ. 2476 )เป็นประธานในพิธีเปิดและปาฐกถาพิเศษ เรื่อง  “โครงการหลวงฯ ตามแนวพระราชดำริ” หลังจากพิธีเปิดผมได้รับเกียรติให้พูดถึงความเป็นมาของโครงการนี้ทั้ง 11 ครั้งที่ผ่านมาและบรรยายเรื่อง “วัฒนธรรมการเรียนรู้” ให้น้องๆรับฟัง ช่วงท้ายผมได้ให้น้องๆรวมกันเป็นกลุ่มๆเพื่อปรึกษากันในหัวข้อ ”วันนี้ฟังแล้วได้อะไร” แล้วส่งตัวแทนออกมาพูด น้องๆทำได้ดีกันทุกกลุ่ม เช่น

-ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของเพื่อน

-ได้เรียนรู้จากความเจ็บปวด

-สิ่งที่ไม่ได้ทำไม่ใช่ว่าทำไม่ได้

-คิดเป็นวิเคราะห์เป็น 

-ไอคิวไม่เท่าไอเดีย

-เป็นประสบการณ์ชีวิต

   และผมยังบอกน้องๆถึงเรื่องการเตรียมตัวในการเข้าค่ายในครั้งนี้ว่าควรปฏิบัติตัวอย่างไรร่วมทั้งจุดมุ่งหมายในการเข้าค่ายตลอดจนการนำความรู้ที่ได้ในครั้งนี้ไปทำประโยชน์ให้กับตัวเอง สังคมและประเทศชาติต่อไป

    ผมมีโปรแกรมที่จะไปบรรยายให้น้องๆฟังเรื่อง"การกำหนดวิสัยทัศน์ประเทศไทย" ในวันที่ 17 ตุลาคม 2553 และร่วมในพิธีปิดในวันที่ 18 ตุลาคม 2553

 

คำสำคัญ (Tags): #เทพศิรินทร์
หมายเลขบันทึก: 403433เขียนเมื่อ 19 ตุลาคม 2010 07:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2012 17:27 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

วันที่ 17 ตุลาคม 2553 ผมได้ไปบรรยายเรื่อง"การกำหนดวิสัยทัศน์ประเทศไทย" ให้น้องๆเทพศิรินทร์ ณ ค่ายป้อมพระจุลจอมเกล้า โดยมีรายละเอียดดังนี้

1) วัตถุประสงค์

1.  ปลูกฝังกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ การคิดเชิงวิสัยทัศน์ สามารถเข้าใจถึงสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง รวมความถึงสามารถวิเคราะห์ ประยุกต์ และบูรณาการความคิดบนพื้นฐานแห่งความเป็นจริงได้อย่างเหมาะสม

2.  ปลูกฝังวิธีการเรียนรู้ ให้คิดเป็น วิเคราะห์เป็น และมีวัฒนธรรมในการสนใจแสวงหาความรู้

3.  ปลูกฝังการมีจิตสาธารณะ และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ

2)แนวคิดและทฤษฎีเพื่อการเรียนรู้ในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลง...............เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ทุกคนเกิดแรงบันดาลใจในการเรียนรู้และประสบความสำเร็จ

                               4 L’s

  •  Learning Methodology
  • Learning Environment
  • Learning Opportunities
  • Learning Communities

                             2 R’s

  • Reality      
  • Relevance   

                            2 i’s

  • Inspiration
  •  Imagination

กฎของ Peter Senge  อยู่ในหนังสือ Rethinking the Future

-  Personal Mastery รู้อะไร รู้ให้จริง

-  Mental Models     มีแบบอย่างทางความคิด

-  Shared Vision      มีเป้าหมายร่วมกัน

-  Team Learning    เรียนรู้เป็นทีม ช่วยเหลือกัน

-  System Thinking มีระบบการคิด มีเหตุมีผล

พระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเป็นตัวอย่างเรื่องการเรียนรู้และเศรษฐกิจพอเพียง

วิธีการคิด 4 แนว ก่อนที่จะเริ่มทำงานใดๆ ให้คิดถึงสิ่งต่อไปนี้
 1) ทำอะไร
 2) ทำอย่างไร
 3) ทำเพื่อใคร

 4) ทำแล้วได้อะไร


หลักการในการทำงาน 4) ทำแล้วได้อะไร

 1) คิด Macro ทำ Micro

 2) ทำเป็นขั้นเป็นตอน

 3) ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย

 4) ทำอะไรให้นึกถึงภูมิสังคมของที่นั้นๆ

 5) การสื่อความ การประสานงาน และการบูรณาการ   (Communication, Coordination, Integration)

 6) ทำอะไรต้องมีผู้เป็นเจ้าของ

รู้ รัก สามัคคี

  • รู้ คือ จะทำอะไรต้องไปศึกษาให้รู้จริง
  •  รัก คือ จะทำอะไรต้องสร้างฉันทะกับสิ่งนั้นๆ
  • สามัคคี คือ ทำอะไรก็ให้ทำเป็นทีม ร่วมมือร่วมใจกันทำให้มีประสิทธิภาพ

                                     วิสัยทัศน์ประเทศไทย

3) พวกเราทุกคนที่นี่ในฐานะเยาวชนที่เป็นกำลังสำคัญของชาติ จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศไทยของอย่างไร? เราน่าจะถามคำถามว่าประเทศไทยจะไปในทิศทางใด?

 4) ถ้าตัวเรามีส่วนร่วม ไม่ว่ารัฐบาลหรือระบบราชการจะทำอะไรก็ถือว่า..เรามีส่วนร่วม

5) การเมืองและระบบราชการทำให้เรามองอะไรที่สั้น ไม่ได้มองเรื่องระยะยาว เรื่องที่สร้างความยั่งยืนให้กับสังคมไทย

6)วันนี้..ผมคงไม่มาบอกว่าประเทศของเราจะไปทางไหน น้อง ๆ ควรจะศึกษา เข้ากลุ่ม ในช่วงนี้เพื่อค้นหา..

7) วิธีการ

     7.1) ย้อนหลังไป X-Ray ประเทศของเราว่าผิดพลาดอะไร? สำรวจประเทศของเรา

     7.2) ศึกษาสภาพแวดล้อมภายนอกที่กระทบต่อประเทศไทย การเปลี่ยนแปลงที่เป็นบวก (+) และลบ (–)

สังคมโลก..บทเรียนและผลกระทบต่อประเทศไทย

               โลกและการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคต่าง ๆ ถึงปัจจุบัน

Agriculture   -     Industries   -    IT    -    S,W,C,I,I

จากยุคที่ 1 ยุคเกษตรกรรม สู่ยุคอุตสาหกรรม สู่ยุค Information Technology ปัจจุบันเรากำลังก้าวสู่ยุคที่ 4 หรือ Forth Wave ซึ่งในอนาคตเราจะต้องเน้น

  • sustainability+
  • wisdom+
  • creativity+
  • Innovation+
  • intellectual capital.

สังคมโลก โลกาภิวัตน์โอกาสและความเสี่ยงและผลกระทบต่อประเทศไทย

1.  Information Technology เทคโนโลยีสารสนเทศ และอื่น ๆ เช่น Nanotechnology , Biotechnology

2.  เรื่องการค้าเสรี , WTO , FTA

3.  เรื่องการเงินเสรี  อัตราแลกเปลี่ยน

4.  บทบาทของจีน อินเดีย และละตินอเมริกา

5.  เรื่องอิทธิพลของประชาธิปไตย และ Human right

6.  เรื่อง Global Warming , ภัยธรรมชาติ                             

7.  เรื่องสงคราม และการก่อการร้าย

8.  เรื่องน้ำมันหมดโลก และพลังงานทดแทน

9.  เรื่องโรคระบาด เช่น ไข้หวัดนก เอดส์  ไข้หวัด 2009 ฯลฯ

สังคมโลก วิกฤตต่าง ๆ และผลกระทบต่อสังคมไทย

1.  วิกฤตทางเศรษฐกิจ

2.  วิกฤตจากภัยธรรมชาติและภาวะโลกร้อน

3.  วิกฤตทางการเมือง

4.  วิกฤตทางสังคมและวัฒนธรรม

5.   วิกฤตทางการศึกษา

6.  ฯลฯ

7.3) ลองวิเคราะห์ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นหรือสภาพแวดล้อมภายในประเทศไทยของเราวันนี้

-  สภาพเศรษฐกิจเป็นอย่างไร

-  คุณภาพของการศึกษา

-  คุณภาพคนเป็นอย่างไร

-  ปัจจัยทางเทคโนโลยี

-  สภาพสังคม และวัฒนธรรมเป็นอย่างไร

-  ปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำ

-  และที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดตอนนี้ ก็คือ ”การเมืองไทยซึ่งส่งผลถึงความปรองดองในชาติ”

7.4) เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ของประเทศไทย..ทำตารางให้ดูว่า..ประเทศไทยของเรา..มีอะไรที่เป็นจุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และการคุกคาม

จุดแข็ง

จุดอ่อน

โอกาส

การคุกคาม

 7.5) การกำหนดวิสัยทัศน์ของประเทศไทย..จุดแข็งของประเทศไทยอยู่ที่ไหน?..ค้นหาให้เจอ

7.6)กำหนดวิสัยทัศน์ของประเทศ เราต้องกำหนดระยะเวลา(Timeframe) ว่าควรจะเป็น 10ปี หรือ 20 ปีอนาคตของประเทศไทยในอีก 10 ปีหรือ 20 ปีข้างหน้าที่เราอยากจะเห็นนั้นเป็นอย่างไร?

เมื่อมีวิสัยทัศน์แล้ว..ต้องกำหนดพันธกิจ หรือ Mission ประเทศไทย.. ใครควรทำอะไร?

- บทบาทของรัฐบาล

- บทภาคของเอกชน

- บทบาทของ สื่อ

- บทบาทของสถาบันการศึกษา   ฯลฯ

- และบทบาทของตัวเราควรเป็นอย่างไร?

7.7)ยุทธวิธีไปสู่ความสำเร็จที่วิสัยทัศน์ หรือ Vision ของประเทศไทยไม่ใช่เป็นแค่ความฝัน (Dream) แต่เป็นความจริง (Reality)

     วันที่ 18 ตุลาคม 2553 ผมยังไปให้กำลังใจและร่วมพิธีปิดโครงการเข้าค่ายครั้งนี้โดยได้รับเกียรติจาก พล.ร.อ.สถิรพันธุ์ เกยานนท์ (ท.ศ.05-07) เป็นประธานในพิธีและมอบวุฒิบัตร ผมได้นำภาพบรรยากาศของวันที่ 17 และวันที่ 18 ตุลาคม 2553 มาให้ดูด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท