Peter p
ปีเตอร์ ปีเตอร์ พี สินสาคร

ประเพณีแซนโฎนตา


แซน หมายถึงการเซ่นไหว้ การบวงสรวง โฎนตา หมายถึง การทำบุญให้ยาย และตา หรือบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว

ประเพณีแซนโฎนตา บูชาบรรพบุรุษ ตำนานที่สืบทอดมานานกว่าหลายศตวรรษ ของชนชาวพื้นเมืองสุรินทร์


- รูป -

             ประ เพณีแซนโฎนตา คืออีกประเพณีหนึ่งที่มีความสำคัญและปฏิบัติสืบทอดติดต่อกันมายาวนานนับ พันปีของชนชาวพื้นเมืองสุรินทร์   ที่แสดงออกถึงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ ความรัก ความผูกพันของสมาชิกในครอบครัว เครือญาติรวมถึงชุมชนต่างๆ โดยจะประกอบพิธีกรรมตรงกับวันแรม 14 ค่ำเดือน10 ของทุกปีเมื่อถึงวันแรม 14 ค่ำเดือน 10  ลูก หลานชาวพื้นเมืองเขมรสุรินทร์ที่ไปทำงานหรือตั้งถิ่นฐานที่อื่น ไม่ว่าจะใกล้หรือไกล  ต่างพร้อมใจกันเดินทางกลับมารวมญาติเพื่อทำพิธีแซนโฎนตา อย่างพร้อมหน้าพร้อมตากันทุกหมู่บ้าน  และผมก็เป็นหนึ่งในครอบครัวนั้น

   คำว่า "แซนโฏนตา "มาจากไหน แซน หมายถึงการเซ่นไหว้ การบวงสรวง โฎนตา หมายถึง การทำบุญให้ยาย และตา หรือบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว โดยทั่วไปแล้วมักเขียนว่า "โดนตา" ซึ่งถือว่าผิด เนื่องจากเป็นประเพณีเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษของชาวขะแมร์  ที่ไม่มีตัวอักษร "ด" อยู่ในพยัญชนะ แต่ใช้ตัว "ฏ" สืบทอดมาเป็นระยะเวลานานคำว่าโฎน( เป็นภาษาเขมรแปลว่า ย่า หรือยาย ส่วนตาแปลว่า ตาหรือปู่ ) สำหรับ พิธีกรรมแซนโฎนตา   จะประกอบด้วยเย็นของวันแรม 14 ค่ำเดือน 10 ทำการไหว้ที่บ้าน รุ่งเช้าวันพระไปทำบุญตักบาตรที่วัด 

         ประ เพณีแซนโฎนตา มีความเป็นมายาวนานนับพันปี ต้นกำเนิดของแนวความคิดประเพณี โดยชาวเขมรเห็นแนวทางในการที่จะอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผีบรรพบุรุษ ปู่ย่า ตายาย พ่อแม่ ให้ได้รับผลบุญกุศลที่อุทิศไป ทำให้ทุกข์เวทนาจากบวงกรรมมีความบรรเทาเบาบางลง จึงให้มีการจัดพิธีแซนโฎนตาขึ้น และให้มีการสืบทอดต่อ ๆ กันมา ซึ่งเชื่อว่าถ้าในยุคของตนได้แซนโฎนตาให้แก่ ผีบรรพบุรุษ ปู่ย่า ตายาย พ่อแม่ ไปแล้ว รุ่นลูกจะต้องแซนโฎนตาให้ตนเหมือนกัน เพื่อ ให้ลูกหลานต้องปฏิบัติสืบทอดต่อ ๆ กันไปไม่สิ้นสุด

       เช่น ถ้าญาติหรือลูกหลานประกอบพิธีแซนโฎนตา และทำบุญอุทิศให้ ก็จะอวยพรให้ญาติหรือลูกหลานมีความสุขความเจริญ ประกอบอาชีพประสบผลสำเร็จมีเงินมีทองใช้   แต่ถ้าไม่ ทำพิธีแซนโฎนตาก็จะโกรธและสาปแช่งญาติหรือลูกหลานไม่ให้มีความสุข ความเจริญ ประกอบอาชีพฝืดเคือง ไม่ราบรื่น ดังนั้นลูกหลานของชาวไทยเขมรทุกรุ่นจึงต้องประกอบพิธีแซนโฎนตา หรือพิธีกราบไหว้ เซ่นไหว้บรรพบุรุษ  มาตราบจนทุกวันนี้ 

 

วันนี้ผมก็ขอนำภาพบางส่วนของประเพณีนี้มาให้ชมกันครับ

ปีนี้งานตรงกับวันที่ 7 ต.ค. 53

เริ่มตั้งแต่เตรียมของที่จะเซ่นไหว้
- รูป -

 ทำการเซ่นไหว้บรรพบุรษ ญาติพี่น้องมาพร้อมเพรียงกัน เป็นวันชุมนุมญาติ


- รูป -

 ลูกหลานพร้อมหน้า ขอพรจากบรรพบุรุษ ตามความเชื่อ ใครอยากเซ่นไหว้ด้วยอะไร ก็ตามแต่กำลังศรัทธาครับ


- รูป -

- รูป -

 

หลังจากไหว้เสร็จแล้ว ก็ถึงชั่วโมงการรวมญาติ เพื่อรับประทานอาหารร่วมกัน บางคนซอดแจ้ง


- รูป -

ลูกหลาน  ทำงานต่างถิ่น  กลับมาร่วมวงสังสรรค์ร่วมกัน  ปีละครั้ง  พ่อลูกพบกันแอคชั่นกันหน่อย


- รูป -

- รูป -

 

เหล้า ยาปลาปิ้ง สำหรับคนที่ชอบม่วน ก็ว่ากันไปตามความถนัดของแต่ละคน

รุ่งเช้า จัดเตรียมอาหารคาว หวาน เพื่อร่วมทำบุญที่วัดต่อ

- รูป -


- รูป -

 

 


- รูป -

รับน้ำมนต์จากพระเพื่อความเป็นสิริมงคล
- รูป -

 

สำหรับผมแล้ว ประเพณีนี้ ผมจะกลับทุกปี เพื่อไปไหว้บรรพบุรุษ และกลับไปเยี่ยมคุณพ่อคุณแม่ คุณตา พี่ป้าน้าอา  เป้นวันที่อบอุ่น สำหรับครอบครัวของผมทุกปี 

พี่น้องบองปาโอน แถบอีสานใต้ ปีนี้มีใครกลับไปแซนโฎนตากันบ้างครับ

หมายเลขบันทึก: 403351เขียนเมื่อ 19 ตุลาคม 2010 02:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 23:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ปีนี้ใครกลับบ้านไปแซนโฎนตาบ้างครับ

  • สวัสดีค่ะ
  • "ประเพณีแซนโฎนตา" เคยได้ยิน...แต่ไม่เคยได้ร่วมประเพณี พอได้อ่านบันทึกนี้แล้วทำให้เข้าใจประเพณีแซนโฎนตา มากยิ่งขึ้นค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ

ลักษณะจะคล้ายๆ กับประเพณี "กิ๋นข้าวสลาก" หรือเปล่าค่ะ

เป็นการทำบุญให้ญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้วน่ะค่ะ

ขอบคุณที่แวะเยี่ยมชมกันนะค่ะ

ภาพฝาผนังวัดสวยจังค่ะ

ประเพณีก็เหมือนทางใต้เลยน่ะค่ะ

ประเพณีแต่ละท้องถิ่นไทยส่วนมากจะใกล้เคียงกันครับ ขอบคุณ คุณไผ่ไม่มีกอที่แวะเข้ามาอ่านนะครับ

ขอบคุณนะครับสำหรับบทความดีๆ และขอบคุณที่เข้าไปแวะเยี่ยมผมด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท