ทีวีครู จะทำให้ครูเปลี่ย่นแปลงได้หรือไม่


ทีวีครูจะต้องเข้าถึงครู

ผมเป็นคนหนึ่งที่ได้รับอิทธิพลในการสอนของครูในอดีต
ซึ่งยังคั่งค้างอยู่ในสมองอยู่เสมอ มโนทัศน์การเรียนการสอน
ส่วนใหญ่ก็เป็นท่อส่งข้อมูลรายชั่วโมง อิทธิพลเหล่านี้
ก่อให้เกิดพฤติกรรมการเรียนการสอนดังที่เราเห็นทุกวันนี้
แต่ในชีวิตของผมก็ได้เห็นครูที่สอนแบบแปลก ๆ สมัยใหม่
นั้นอย่างมากที่สุดก็แค่ศูนย์การเรียนรู้ และมีครูที่สอนสมัยใหม่
บางท่าน ที่สอนสังคมศึกษาโดยเอาภาพเหตุการณ์ต่าง ๆ ของโลก,
มาให้นักเรียนทาย เรียนกับครูแล้วรู้สึกสนุกนาน ทำให้รู้สึกว่า
ครูคนนี้เป็นครูที่พิเศษน่ายกย่อง ตอนเป็นครูผู้สอนก็เห็นภาพครู
คนนี้ใช้วิธีการต่าง ๆ นั้นมาจากมโนทัศน์ครูที่เคยสอน เพราะในระดับ
อุดมศึกษานั้น เป็นแนวทฤษฎีล้วน ๆ มโนทัศน์ต่าง ๆ นั้นนึกไม่ออก
ยิ่งตอนปฏิรูปใหม่ ๆ เล่นแปล child center ว่าเป็นการจัดการเรียนรู้
ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยมีนิยามยาวเป็นเจ็ดบรรทัด ก็ยิ่งทำให้
มโนทัศน์ใหม่ ๆ เข้าใจลำบากหรือจะมีแนวคิดใหม่ ๆ ก็จะขัดแย้ง
กับวิธีการปฏิบัติแบบเก่า ๆ

ตอนนี้ทีวีครูได้นำเสนอเทคนิคต่าง ๆ ที่สามารถมองเห็นภาพได้
มองเห็นมโนทัศน์นั้นอย่างชัดเจน เพราะมีการนำเสนอสิ่งที่มองเห็นได้
แต่ยังน้อยไป เข้าใจว่าครูไม่ค่อยดูกัน เพราะเวลานั้นไม่เอื้ออำนวย
หรือมีซีดีบันทึกรายการมาถึงโรงเรียน ไม่มีใครพยายามที่จะเปิด
หรือกระตือรือล้นที่จะดูหรือจะเรียนรู้ ทำให้ตนเองสรุปได้ว่าสไตน์
การเรียนรู้ของครูแต่ละคน ก็สืบทอดการเรียนรู้มาจากครูที่เคยสอน
มาในระดับมัธยม หรือระดับประถมที่เคยเรียนมา เพราะการนำเสนอตัว
ของการเรียนการสอนนั้นสืบทอดกันมา โดยไม่มีเจตนา แต่ก็มีอิทธิพล
การสอนของครูจนถึงทุกวันนี้  ตามทฤษฎีการผลิตซ้ำ(reproduction)
ซึ่งสื่อสารมวลชนที่มีประสิทธิภาพสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีได้
แต่อิทธิพลสื่อของทีวีครูนั้นไม่สามารถนำเสนอตัวอย่างถี่ ๆ ดังนั้น
จึงสู้กับอิทธิพลของสิ่งต่าง ๆ ที่ผลิตซ้ำกันมา 

ดังนั้นทีวีครูจะต้องเข้าถึงครู และจำเป็นจะต้องทำให้เป็นที่นิยมของครู
จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีเกิดขึ้น เกิดการผลิตใหม่(newproduction)
ที่มีสไตน์เป็นของตนเอง มีอัตลักษณ์ และ เข้าสู่ความสร้างสรรค์
สิ่งใหม่ ๆ ได้อย่างชัดเจน 

หมายเลขบันทึก: 402683เขียนเมื่อ 14 ตุลาคม 2010 20:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤษภาคม 2012 15:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท