ข้อบกพร่อง : แนวทางปรับปรุงการเขียนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา


ข้อบกพร่อง : แนวทางปรับปรุงการเขียนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

       การเขียนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา มักพบข้อบกพร่องหลายประการ ตั้งแต่มีเนื้อหาน้อยหรือมากเกินไป เขียนไม่เป็นกรวย บางย่อหน้ามีเนื้อหามากเกินไป ไม่กล่าวหรือไม่เน้นจุดที่จะทำวิจัยหรือใช้ความรู้สึกแทนการอ้างอิงในจุดที่จะทำวิจัย  ไม่แสดงเหตุผลที่จะทำวิจัยในย่อหน้าสุดท้ายและบางครั้งพบว่าใช้สรรพนามอื่น ๆ แทนที่จะใช้คำว่า “ผู้วิจัย” ซึ่งข้อบกพร่องดังกล่าวและแนวทางปรับปรุง มีดังนี้

        -  ข้อบกพร่องที่พบ

           เนื้อหาน้อยเกินไปเพียง 1-2 หน้า มีเฉพาะส่วนสำคัญทำให้ขาดรายละเอียด

         -  แนวทางปรับปรุง

             เพิ่มส่วนที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะในส่วนที่กว้างขึ้นไป เช่น ปัญหาในระดับชาติ จังหวัด ฯลฯ และขยายรายละเอียดของจุดที่จะทำ รวมให้ได้ประมาณ 2 หน้าครึ่ง ถึง 3 หน้า เพื่อให้เหตุผลที่จะวิจัย มีความหนักแน่น น่าเชื่อถือ ดังตัวอย่าง

       ? โรงเรียนวัดใหม่เป็นโรงเรียนขนาดเล็กที่ประสบปัญหาเรื่องการอ่านของนักเรียนทุกระดับชั้น ทั้งอ่านไม่ออกและอ่านไม่คล่อง  ส่งผลกระทบต่อการเรียนการสอนในวิชาอื่น ๆ ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยรวมอยู่ในระดับต่ำมากซึ่งต้นสังกัดและผู้บริหารโรงเรียน รวมทั้งครู ตลอดจนคณะกรรมการสถานศึกษาไม่ได้นิ่งนอนใจ  พยายามหาแนวทางปรับปรุงตลอดมา  แต่ก็ยังไม่ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ  นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย จากร้อยละ 35.46 เป็นร้อยละ 38.19  เท่านั้น (โรงเรียนวัดใหม่, 2550 : 17-18)

          การหาแนวทางต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหาในช่วงที่ผ่านมา อาจจะไม่สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนซึ่งมีลักษณะเฉพาะ  นักเรียนบางส่วนไม่ได้ใช้ภาษาไทยในชีวิตประจำวัน  ซึ่งจากการสึกษาแนวคิดทฤษฎีงานวิจัยต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ  พบว่าการใช้วิธีนิทานพื้นบ้าน ซึ่งผู้เรียนให้ความสนใจและสอดคล้องกับวิถีชีวิตของนักเรียนส่วนใหญ่เป็นนวัตกรรมที่เหมาะสมกว่านวัตกรรมอื่น ๆ (สุมิตร์ ชอบคิด, 2541 : 16 ; สุวิทย์ ชอบทำ, 2544 : 18 ; สุนัย วิจัยจริง, 2547 : 12-20 ; Smith, 2000 : 4 ; Suzi, 2005 : 108)

         จากปัญหา........................ผู้วิจัยจึง.............................................ต่อไป

      (ถูก)  ทักษะการอ่านเป็นทักษะที่มีความสำคัญ  ซึ่ง.........................แต่ในประเทศไทยยังประสบปัญหา....................................................โดยเฉพาะในจังหวัดชายแดน

               ปัญหาชายแดนที่ประสบปัญหาดังกล่าว เช่น...................................

และ จังหวัดปัตตานี

               ปัญหาในจังหวัดปัตตานี...................................ทุกเขตพื้นที่การศึกษา โดยเฉพาะในเขต 2

                เขต  2............................................................................

                โรงเรียน ...........................................................................

                การหาแนวทางต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหา...........................................

                วิธีการ................................................................................

                จากปัญหา........................................................................

                ...........................................................................ต่อไป

 

            -  ข้อบกพร่องที่พบ

               เนื้อหามากเกินไป  ทั้ง ๆ ที่มีตัวแปรไม่มาก แต่ขาดประเด็นสำคัญ ทำให้สิ้นเปลืองเนื้อที่และเสียเวลา

            -  แนวทางปรับปรุง

               ตัดเนื้อหาส่วนที่เกี่ยวข้องซึ่งไกลตัวเกินไปออกบ้าน  เพื่อให้มีความกระชับชัดเจน

 

เอกสารอ้างอิง
พิสณุ  ฟองศรี (2551).  108 ข้อบกพร่อง : แนวทางปรับปรุงการเขียนงานวิจัยและวิทยานิพนธ์. กรุงเทพฯ. เพชรรุ่งการพิมพ์ จำกัด.

หมายเลขบันทึก: 402039เขียนเมื่อ 11 ตุลาคม 2010 11:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 16:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ปัญหาของผม ในการเขียนบทความวิจัย ในส่วนที่บทนำหรือความสำคัญของปัญหา คือ เขียนมากเกินไป แต่ไม่ตรงกับจุดเน้นที่ต้องการวิจัยจริงๆ ซึ่งผู้ตรวจบทความวิจัยหรือผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แนะนำจากกรอบแนวคิดการวิจัย ทั้งตัวแปรต้นและตัวแปรตาม โดยเฉพาะตัวแปรตาม ให้สอดคล้องกับปัญหาจริงที่อยากรู้หรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ตลอดทั้งการใช้คำให้คงที่ เป็นต้น

นี้เป็นประสบการณ์ส่วนหนึ่ง จากการเขียนบทความวิจัย เพื่อนำเสนอการพูด ในเวทีประชุมวิชาการระดับชาติ ที่.มหาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ของปี 60 ครับ.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท