งบหลักประกันสุขภาพปี๕๔


สหรัฐอเมริกาที่เป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก ระบบสุขภาพแบบทุนนิยมเสรี มีความก้าวหน้าทางการแพทย์มากที่สุดในโลก แต่ยังมีคนอเมริกันอีกกว่าสี่สิบล้านคนเข้าไม่ถึงการบริการทางการแพทย์ที่จำเป็นเพราะค่าบริการทางการแพทย์ที่แพงมาก

ปี ๒๕๕๔ นี้ รัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณให้กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ๕ รายการคือ

๑)งบเหมาจ่ายรายหัวจำนวน ๒,๕๔๖.๔๘ บาทต่อประชากร

๒) งบบริการสุขภาพผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ๒,๙๙๗.๗ ล้านบาท

๓) งบบริการสุขภาพผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ๓,๒๒๖.๕๕ ล้านบาท

๔) กองทุนโรคเรื้อรัง(ควบคุมป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง) ๖๓๐.๕๙ ล้านบาท

๕) งบจิตเวช ๒๐๓.๖๒ ล้านบาท

ประชากรสิทธิหลักประกันฯถ้วนหน้าปี๕๔ มีทั้งสิ้น ๔๗.๙๙๖๖ ล้านคน ประชากรทั้งประเทศมี ๖๔.๓๘ ล้านคน ในด้านการรักษานั้น สปสช.จะดูแลเฉพาะสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า แต่ด้านส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคนั้นสปสช.ต้องดูแลคนทั้งประเทศตามที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาล

สปสช.ได้รับงบประมาณเพื่อการบริหารจัดการสำนักงานฯปี ๕๔ จำนวน ๙๖๑.๓ ล้านบาท ซึ่งแยกต่างหากจากงบเหมาจ่ายรายหัวหรืองบบริการต่างๆทั้ง ๕ รายการที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

เป้าหมายของระบบหลักประกันสุขภาพนั้นคือ คนไทยทุกคนควรได้รับการดูแลด้านสุขภาพตามความจำเป็น ตามศักยภาพของประเทศ ทุกคนควรได้รับการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค มีความตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเองซึ่งเป็นหน้าที่ของแต่ละบุคคลและบุคลากรที่เกี่ยวข้องก็ต้องทำให้ประชาชนเกิดความตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเอง จากนั้นหากมีการเจ็บป่วยที่ไม่สามารถดูแลด้วยตนเอง สังคมก็สมควรจะดูแลให้หลักประกันแก่เขาเหล่านั้นเพื่อไม่ล้มละลายจากค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากความเจ็บป่วยร้ายแรง

ประเทศไทยเดินหน้าเรื่องหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามาแปดปี ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันสร้างความสำเร็จที่หลายประเทศใช้เป็นแบบอย่างในสร้างหลักประกันด้านสุขภาพให้คนในชาติ ภายใต้ความจำกัดของทรัพยากร

สหรัฐอเมริกาที่เป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก ระบบสุขภาพแบบทุนนิยมเสรี มีความก้าวหน้าทางการแพทย์มากที่สุดในโลก แต่ยังมีคนอเมริกันอีกกว่าสี่สิบล้านคนเข้าไม่ถึงการบริการทางการแพทย์ที่จำเป็นเพราะค่าบริการทางการแพทย์ที่แพงมาก เป็นระบบตัวใครตัวมันและไม่มีการเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุขของคนในสังคม ก็เพิ่งผ่านกฎหมายประกันสุขภาพในปี๕๓นี้เองด้วยความหวังที่อยากเห็นคนของเขาได้เข้าถึงบริการทางการแพทย์ที่จำเป็น

เรามาถูกทางแล้ว....อุปสรรคย่อมมีเป็นธรรมดา ต้องพัฒนาต่อไป และในปี ๒๕๕๔ นี้หวังว่าทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้ร่วมมือกันเพื่อบรรลุเป้าหมายที่พี่น้องประชาชนไทยเข้าถึงบริการสุภาพที่จำเป็นได้อย่างแท้จริง

หมายเลขบันทึก: 401820เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2010 07:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 15:17 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • สวัสดีค่ะ อาจารย์
  • เต็มที่ค่ะ

สวัสดีครับ

สู้ๆครับ

ช่วยกันนะครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์

งบประมาณเหล่านี้ใช้เพื่อการดูแลประชาชนของเรา

หวังว่าการใช้งบประมาณคงจะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อคนในสังคมนะคะ

นึกไม่ถึงว่า ประเทศมหาอำนาจอย่างนั้นยังมีคนที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการได้

นอกจากคนจนมีปัญหาการเข้าถึงบริการพื้นฐานที่จำเป็นแล้ว อัตราการฟ้องร้องก็สูงมาก ผู้ให้บริการก็ได้ทำประกันความเสี่ยงหรือที่เรียกว่า malprctice หากผิดพลาดและผู้ป่วยฟ้องก็ให้บริษัทประกันจัดการให้หรือต้องจ้างทนายแก้ต่างหมดค่าทนายมากมาย ซึ่งผู้ให้บริการก็บวกในค่าบริการ ทำให้ค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลในประเทศสหรัฐฯสูงขึ้นอย่างมากทุกปี ทั้งแพทย์และผู้ป่วยไม่มีความสุขและไม่ไว้ใจกัน ต่างกันกับแนวทางที่บ้านเราทำอย่างเช่น มาตรา๔๑ ของพรบ.หลักประกันที่เยียวยาโดยไม่พิสูจน์ถูกผิด ทำให้บรรยากาศที่เป็นมิตรของผู้รักษาและผู้ป่วยไม่ถูกบั่นทอนครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท