วิเคราะห์ข่าว


ข่าวที่ 1 อาชญากรรม ม. 6 ปลุกรัฐปราบเกมโหด ดุระดับอเมริกันเซ็นเซอร์ -งง วธ.ไฟเขียว

(ที่มา ข่าวสดรายวัน  15 สิงหาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 18 ฉบับที่ 6469)

                เนื้อหาจากข่าว เป็นการนำเสนอถึง คดีสะเทือนขวัญที่เด็กนักเรียนชายชั้น ม.6 ก่อคดีลวงโซเฟอร์แท็กซี่ไปฆ่าชิงทรัพย์ และรับสารภาพว่า พฤติกรรมความรุนแรงของตน เกิดจากการเลียนแบบคาแรกเตอร์ภายในเกมส์ที่มีเนื้อหารุนแรง เหตุการณ์ดังกล่าวก่อให้เกิดกระแสความตระหนกกับหน่วยงานหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากตัวเกมส์ดังกล่าวได้รับการอนุญาตจากคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ในปี 2550 ทั้งที่เนื้อหาภายในเกมส์มีเนื้อหาที่มุ่งเน้นต่อการก่ออาชญากรรม เช่น ขโมยรถ ทำร้ายคน ต่อสู้กับตำรวจ ฯลฯ

                จากข้อเท็จจริงดังกล่าว สามารถสะท้อนให้เห็นถึงสภาพสังคมในปัจจุบันได้ในระดับหนึ่ง จากการที่เยาวชนไม่มีการยั้งคิด ใช้เวลาว่างไปกับการเล่นเกมส์ ไม่รู้สิ่งใดควรไม่ควร สิ่งเหล่านี้เป็นสะท้อนให้เห้นถึงสภาพครอบครัวได้เช่นกัน เช่น เด็กไม่ได้รับการดูแล เอาใจใส่ ไม่ได้รับการปลูกผังค่านิยมที่ดีงาม หรือแม้แต่ในระดับสังคมไทยเองก็ไมได้มีการตื่นตัวกับเรื่องการที่เยาวชนไทยใช้เวลาว่างไปกับการเล่นเกมส์อย่างที่ควรจะเป็น แม้จะมีการพยายามรณรงค์ แต่ก็ไม่ได้มีการบังคับใช้ หรือการปราบปรามอย่างเด็ดขาดแท้จริง แม้แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ เองกลับยังอนุมัติเกมส์ที่มีความรุนแรงให้ออกมาสู่สังคมได้ เช่นนี้แล้ว การแก้ไขปัญหาจะทำได้อย่างไรกัน?

                โลกในยุคปัจจุบันเป็นโลกที่มีความก้าวหน้าทางด้าน ICT หรือ ข้อมูลข่าวสารที่มีความรุดหน้าอย่างรวดเร็วมาก การที่เด็กในยุคปัจจุบันปรับตัวให้ทันต่อโลก ทันต่อเทคโนโลยีก็เป็นเสมือนดาบสองคม เมื่อมองตามหลักพัฒนาการมนุษย์แล้ว เด็กจะเติบโตมีมุมมองต่อโลก หรือทัศนะต่อสิ่งต่างๆ โดยการถอดแบบจากตัวอย่าง แต่การที่ตัวอย่างที่เด็กจะสามารถถอบแบบได้เป็นผู้ใหญ่ที่เติบโตมาในโลกยุคเก่า ตามเทคโนโลยีได้ไม่ทันเหมือนเด็ก สิ่งนี้ทำให้เกิดช่องว่างขนาดใหญ่ระหว่างเด็กกับพ่อแม่ผู้ปกครองได้ การที่เด็กเอาแต่ใช้เวลาอยู่กับเทคโนโลยี เล่นเกมส์ออนไลน์ เกมส์ออฟไลน์ สิ่งเหล่านี้ก็อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็กขาดปฏิสัมพันธ์กับพ่อแม่ บทบาทของพ่อแม่เริ่มลดลง การดูแลเอาใจใส่ การอบรมสั่งสอนเลี้ยงดูก็ลดน้อยลงไปด้วย สิ่งต่างๆ เหล่านี้ก็อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็กสูญเสียคุณค่าของวัฒนธรรมที่ดีงามไป ไม่ได้รู้สึกว่า สิ่งที่ตนกำลังทำอยู่นั้น ถูกหรือผิดอย่างไร นี่ก็อาจเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ส่งผลให้เด็กมีพฤติกรรมดังกล่าว

                ในทางเดียวกัน สังคมก็ควรที่จะมีบทบาทในการเสริมสร้างสิ่งที่ถูกที่ควรให้กับเด็ก ซึ่งจะเกี่ยวเนื่องกับประเด็นข่าวที่สองต่อไปนี้

ข่าวที่ 2 ปรับเด็กติดเกมส์ สู่เยาวชนคนเก่งไอซีที (ที่มา ข่าวสด 5 มี.ค. 53)

            จากข้อเท็จจริงในช่าวจะเห็นได้ว่า มีเยาวชนไทยเองก็มีกลุ่มที่สามารถใช้  ICT  ในเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งก็ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิสยามกัมมาจล การได้รับการสนุบสนุนจากสังคม ก็เป็นหนทางหนึ่งในการที่จะช่วยส่งเสริมให้เยาวชนไทย สามารถนำประโยชน์จากเทคโนโลยี มาปรับใช้ให้เหมาะสม สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ได้

                ดังนั้นแล้ว สังคมหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรที่จะมีการส่งเสริม สนับสนุน สร้างพื้นที่เพื่อที่จะให้โอกาสแก่เยาวชนที่มีความสามารถให้แสดงศักยภาพของตน ควบคู่ไปกับการควบคุมดูแลสิ่งที่อาจก่อให้เกิดปัญหาสังคมต่อไป

คำสำคัญ (Tags): #media
หมายเลขบันทึก: 401504เขียนเมื่อ 8 ตุลาคม 2010 02:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 21:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขจัด ตีกรอบสิ่งเลวร้าย ขยายสิ่งดี เพิ่มพื้นที่สร้างสรรค์ เดินหน้า...ดำเนินการ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท