ส่งงานวิชานโยบายและการวางแผนการศึกษาท้องถิ่น


งานเดี่ยว
งานที่มอบหมาย
วิชานโยบายและการวางแผนการศึกษาท้องถิ่น
เสนอ   ดร.ดิศกุล   เกษมสวัสดิ์
จัดทำโดย   นายสุทิน  แก้วพล          นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต 
สาขาบริหารการศึกษา   ศูนย์พยัคฆภูมิพิสัย
งานเดี่ยว  ๑. จัดทำเอกสารความรู้เกี่ยวกับนโยบายและการวางแผนการศึกษา
 
นโยบายและการวางแผนการศึกษา
 
หลัก 3 V.  ของการเป็นนักบริหาร 
  1. Vision  ผู้บริหารจะต้องเฉลียวฉลาด มองเห็นภาพที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างชัดเจน รู้จักคาดการณ์ล่วงหน้า
  2. Visual ผู้บริหารต้องเป็นคนของสังคม ปรากฏกายต่อสังคมให้คนมองเห็น คือ รู้จักออกสังคมบ้างอย่าเอาแต่เก็บเนื้อเก็บตัว  “การเป็นผู้บริหารที่ดีกับการเป็นสามีที่ดี ไปด้วยกันไม่ได้” โสเครตีส กล่าวไว้
  3. Vocal ผู้บริหารต้องแสดงรู้จักแสดงออก รู้จักพูดคุย เพราะยิ่งพูดคนยิ่งรู้จัก ยิ่งศรัทธาในความเป็นผู้นำ อย่าเป็นคนที่คมแต่ในฝัก (สึกดีกว่าเป็นสนิม) ;P
 
หลักในการบริหารงาน
  1. ทฤษฎี ต้องศึกษาให้รู้ซึ้ง รู้ชัด รู้จริง 
  2. สามารถประยุกต์หลักคิด หาเหตุผล จากหลักทฤษฎีนั้นได้
 
นโยบาย
                นโยบาย หมายถึง อุบายหรือ กลเม็ดที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ได้พิจารณาเห็นว่าเป็นแนวทางที่จะนำไปสู่เป้าหมายของส่วนรวมในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างเหมาะสม  และที่ใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจเพื่อการปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ ของผู้บริหารแต่ละหน่วยงาน  คนที่ออกนโยบายต้องเป็นที่มีอำนาจหน้าที่ในหน่วยงาน องค์กร นั้น ๆ
กล่าวโดยสรุป คือ 1. แนวคิดหรือข้อความที่เข้าใจร่วมกัน  2. แนวทางในการปฏิบัติของผู้บริหารหรือหน่วยงาน
-                   บอกทิศทางในการทำงาน
-                   บอกเป้าหมาย
-                   เป็นยุทธศาสตร์ในการบริหาร
-                   ช่วยให้ผู้ร่วมงานรู้จักวัตถุประสงค์
-                   เป็นกรอบที่ดี/แนวทาง/ประโยชน์ต่อส่วนรวม
-                   เป็นแนวทางในการตัดสินใจ
ความสำคัญของนโยบาย     
  1. นโยบายจะช่วยให้ผู้บริหารทราบว่าจะทำอะไร ทำอย่างไร และใช้ปัจจัยใดบ้าง
  2. นโยบายจะช่วยให้บุคลากรทุกระดับชั้นในองค์การเข้าใจถึงภารกิจของหน่วยงานที่ตนสังกัด
  3. นโยบายจะช่วยให้เกิดเป้าหมายในการปฏิบัติงาน
  4. นโยบายที่ดีจะช่วยสนับสนุนส่งเสริมการใช้อำนาจของผู้บริหารให้เป็นไปโดยถูกต้องมีเหตุผลและยุติธรรม
  5. นโยบายจะช่วยให้เกิดการพัฒนาทางบริหาร
ลักษณะนโยบายที่ดี 
  1. จะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ขององค์การ
  2. จะต้องกำหนดขึ้นจากข้อมูลที่เป็นจริง
  3. จะต้องกำหนดขึ้นก่อนที่จะมีการดำเนินงาน
  4. การกำหนดขึ้นเพื่อสนองหรือเอื้อประโยชน์ให้กับบุคคลโดยรวม
  5. ใช้ถ้อยคำที่กะทัดรัดใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายและเป็นลายลักษณ์อักษร
  6. จะต้องมีขอบเขตและเวลาของการใช้
  7. จะต้องเป็นจุดรวมหรือศูนย์ประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานต่าง ๆ ภายในองค์กร
  8. จะต้องสอดคล้องกับปัจจัยภายนอกองค์กร
 
การพัฒนานโยบาย 
การวิเคราะห์ผลสะท้อนกลับของนโยบาย
Policy Feedback Analysis
การนำนโยบายไปปฏิบัติ
Policy Implementation
การประเมินนโยบาย
Policy Evaluation
การกำหนดนโยบาย
Policy Formulation
                การพัฒนานโยบาย คือ กระบวนการศึกษา วิเคราะห์วิจัย ระบุปัญหา การยอมรับปัญหา ระบุทางเลือกของนโยบาย กำหนดโครงสร้างของนโยบาย จนกระทั่งร่างเป็นนโยบาย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ปัจจัยที่ควรคำนึงในการพัฒนานโยบาย 
  1. เป้าหมายหน่วยงาน
  2. มีความรับผิดชอบต่อสังคม
  3. โครงสร้างของหน่วยงาน
  4. นโยบายของหน่วยงานที่เป็นคู่แข่ง  รู้จักประเมินศักยภาพของคู่แข่งขัน
  5. สภาพแวดล้อมของหน่วยงาน
ขั้นตอนในการดำเนินนโยบาย 
  1. การกำหนดหรือระบุปัญหา (Identify problem)
  2. การกำหนดนโยบาย (Formulation)
  3. เลือกทางเลือกนโยบายที่เหมาะสม (Adoption) มีนโยบายมากมายหลากข้อให้เลือกข้อที่ดีที่สุด
  4. การนำไปปฏิบัติ (Implementation) 
  5. การประเมินผลการดำเนินนโยบายไปปฏิบัติ (Evaluation)
 
 
 
ขั้นตอนในการกำหนดนโยบาย 
  1. การริเริ่มนโยบาย (Initiating Policy)
  2. การหาข้อมูลหรือข้อเท็จจริง (Fact finding)
  3. เสนอนโยบายต่อผู้บริหารสูงสุด (Recommending a policy to top management)
  4. การเขียนนโยบาย (Putting a policy in writing)
  5. การอธิบายและอภิปรายนโยบายที่นำเสนอ (Explaining and discussing a purposed policy) เช่น การทำประชาพิจารณ์
  6. การอนุมัติและประกาศใช้นโยบาย (Adopting and launching a policy)
  7. เผยแพร่นโยบายให้ทราบทั่วหน่วยงาน (Releasing a policy throughout the company)
  8. ปฏิบัติตามนโยบาย (Administrating a policy)
  9. ติดตาม (Follow-up) 
10.  การประเมินผลนโยบาย (Evaluation and existing policy)
11.  การปรับปรุงหรือกำหนดนโยบายใหม่ (Restarting or reformulating a policy)
ปัจจัยในการกำหนดนโยบาย 
ก.      ปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบพื้นฐาน (Fundamental factors)
  1. ปัจจัยเกี่ยวกับผลประโยชน์
  2. ปัจจัยที่เกี่ยวกับผู้กำหนดนโยบาย
  3. ปัจจัยที่เกี่ยวกับข้อมูลและเอกสารต่าง ๆ 
ข.      ปัจจัยที่เป็นสิ่งแวดล้อม (Environmental factors)
  1. ปัจจัยทางการเมืองและวัฒนธรรมการเมือง
  2. ปัจจัยทางเศรษฐกิจ
  3. ปัจจัยทางสังคม
  4. ปัจจัยทางภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์
 
ข้อควรคำนึงในการกำหนดนโยบาย 
  1. นโยบายต้องสนับสนุนวัตถุประสงค์และแผนดำเนินงานขององค์การ
  2. นโยบายของแต่ละหน่วยงานภายในองค์การจะต้องสอดคล้องกับนโยบายขององค์การโดยรวม
  3. นโยบายต้องยืดหยุ่นได้
  4. นโยบายจะต้องแตกต่างจากกฎระเบียบ เพราะนโยบายเป็นเพียงแนวทางหรือกรอบปฏิบัติเท่านั้น
  5. นโยบายจะต้องเป็นลายลักษณ์อักษร
  6. นโยบายจะต้องเป็นสิ่งที่สามารถเรียนรู้ได้
  7. นโยบายต้องได้รับรับการควบคุม
 
 
 
 
 
 
 
 
การวิเคราะห์นโยบาย 
            การวิเคราะห์นโยบาย (Policy Analysis) เป็นการประเมินค่าอย่างละเอียดของนโยบายเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่มีผู้เสนอขึ้นมาโดยการทดสอบทางเลือกต่าง ๆ ของนโยบายนั้น ว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ เป็นไปได้มากน้อยเพียงใด หรือทางเลือกใดจะตอบสนองวัตถุประสงค์ของนโยบายได้ดีที่สุดก่อนที่จะประกาศนโยบาย (อมร  รักษาสัตย์)
 
ประเด็นในการวิเคราะห์นโยบาย 
  1. วิเคราะห์เหตุ
  2. วิเคราะห์กระบวนการ
  3. วิเคราะห์การดำเนินนโยบาย
  4. วิเคราะห์ผลที่ได้จากการปฏิบัติตามนโยบาย
การนำนโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) 
                หมายถึง การดำเนินการโดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคลในภาครัฐ หรือเอกชนดำเนินการดังกล่าวมุ่งที่จะให้เกิดความสำเร็จโดยตรงตามวัตถุประสงค์ของนโยบายที่ได้ตัดสินใจกระทำไว้ก่อนนั้นแล้ว
กระบวนการนำนโยบายไปปฏิบัติ 
  1. กำหนดจุดมุ่งหมายย่อยในเชิงปฏิบัติ
  2. ระบุทักษะที่จำเป็นและบทบาทหน้าที่ของผู้ปฏิบัติ
  3. กำหนดมาตรฐานในการสรรหาและการพัฒนาของผู้ปฏิบัติ
  4. กำหนดวิธีการในการควบคุมนโยบาย (จัดอันดับความสำคัญก่อนหลัง)
  5. เลือกเป้าหมายที่สำคัญที่สุดแล้วปฏิบัติก่อน
  6. กำหนดสัมพันธ์ภาพกับหน่วยงานหรือโครงการอื่น ๆ (Networking)
ปัจจัยที่กำหนดความสำเร็จหรือความล้มเหลวในการนำนโยบายไปปฏิบัติ 
  1. ข้อความของนโยบาย (ตัวปัจจัยของนโยบายจะเป็นตัวบอกเองว่าสำเร็จหรือล้มเหลว)
  2. การสนับสนุนจากผู้มีอำนาจ
  3. ศักยภาพและความสามารถขององค์การที่นำนโยบายไปปฏิบัติ
  4. จิตสำนึกของผู้ปฏิบัติ
  5. ผู้นำ
  6. การกำกับดูแลติดตามประเมินผลและการเสริมแรง
กลยุทธ์ในการนำนโยบายไปปฏิบัติ 
  1. การฝึกชนิดเข้มข้น (Strong training)
  2. การประชุมปฏิบัติการโดยลงมือปฏิบัติจริง (Practical “How-to-do-it” working)
  3. การขอความช่วยเหลือด้านความเชี่ยวชาญและด้านเทคนิคจากท้องถิ่น (Local expertise and technical assistance)
  4. จัดประชุมทีมงานอย่างสม่ำเสมอ (Frequent regular staff meeting)
  5. พัฒนาเครื่องมือโดยอาศัยทรัพยากรจากท้องถิ่น (Local materials development)
  6. การเข้าร่วมโครงการโดยการอาสาสมัคร (Voluntary participants)
  7. เน้นการเปลี่ยนแปลงที่โรงเรียนระดับประถมศึกษา (Elementary school focus)
  8. ใช้พลังของคนส่วนใหญ่นำการเปลี่ยนแปลง
ข้อคิดในการนำนโยบายไปปฏิบัติ 
  1. จะต้องคำนึงถึงกำลังคนที่จะใช้หรือปฏิบัติ
  2. จะต้องคำนึงถึงแหล่งสนับสนุนทั้งทางต้นทุนทรัพย์ที่เป็นเงินและที่เป็นกำลังงาน
  3. จะต้องคำนึงความสัมพันธ์กับสถาบันหน่วยงานและกลุ่มผู้สนใจจากภายนอกด้วย
  4. จะต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของกลุ่มบุคคลเป้าหมาย
การประเมินนโยบาย (Policy Evaluation) 
                หมายถึง การเปรียบเทียบผลที่ได้ภายหลักการนำนโยบายไปปฏิบัติกับเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของนโยบายที่กำหนด        ไว้ล่วงหน้า
การประเมินผลนโยบายมี 3 ขั้นตอน คือ 
  1. กำหนดรายละเอียดว่าจะประเมินอะไร (Specification)
  2. การวัดผล (Measurement)
  3. การวิเคราะห์ (Analysis)
แนวทางการประเมินผลนโยบาย 
  1. วิเคราะห์ราคาและคุณค่า (Cost-benefit analysis)
  2. วิเคราะห์ระบบ (System analysis) จะวิเคราะห์ feedback ก่อนคือ  input เป็นอย่างไร process เป็นอย่างไร output ดีมั้ย outcome ดีหรือไม่ เป็นต้น
ผลผลิต (output)  ผลลัพธ์ (outcome) สัมพันธ์กันในแง่ที่ว่า โรงงานเอาเนื้อหมูมาทำไส้กรอกขาย ผลผลิต คือ output  คนซื้อไปกินแล้วอร่อยติดใจกลับมาซื้ออีก คือ ผลลัพธ์ outcome เป็นต้น
  1. วิเคราะห์งบประมาณ (Program budgeting analysis)
 
การวางแผนการศึกษา
                หมายถึง กระบวนการวิเคราะห์การดำเนินงานการจัดการศึกษาเพื่อให้ทราบถึงผลการดำเนินงานที่ผ่านมา การตัดสินใจอย่างมีเหตุผลที่จะเลือกที่ดีที่สุดมีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาการศึกษาให้ได้ผลดียิ่งขึ้นสำหรับระยะเวลาหนึ่ง ๆ ในอนาคต และภายใต้ทรัพยากรที่มีจะใช้ การวางแผนการศึกษาจะช่วยระบุถึงกิจกรรมที่จะต้องดำเนินการภายในระยะเวลาที่กำหนด วิธีการดำเนินงาน สถานที่สำหรับดำเนินงาน ผู้ที่จะรับผิดชอบดำเนินงาน และทรัพยากรที่จะใช้ดำเนินงาน
เทคนิคและวิธีการวางแผนการศึกษา
  1. กระบวนการขั้นตอนในการวางแผน
การวางแผนการศึกษาแบ่งออกได้เป็น 6 ขั้นตอน คือ
ก.      ขั้นเตรียมการวางแผน เป็นขั้นตอนเตรียมการ
ข.      ขั้นดำเนินงานการวางแผน
- การวิเคราะห์วินิจฉัย คือ วิเคราะห์วินิจฉัยสภาพปัจจุบันของการจัดการศึกษาของประเทศรวมทั้งความสัมพันธ์กับปัจจัยอื่น ๆ ภายนอก
- การกำหนดวัตถุประสงค์ นโยบาย เป้าหมาย และค่าใช้จ่าย หลังจากที่วิเคราะห์วินิจฉัยสภาพปัญหาและประเมินความต้องการในอนาคตแล้ว จึงกำหนดวัตถุประสงค์และนโยบายในการพัฒนาการศึกษาตามช่วงเวลาที่กำหนด จากนั้น กำหนดเป้าหมายและคุณภาพตลอดจนกำหนดค่าใช้จ่ายที่จะใช้ในอนาคต
                                ค. ขั้นกำหนดหรือจัดทำแผน จะต้องระบุหลักการสำคัญแนวนโยบาย ทางเลือก เพื่อเสนอให้ผู้บริหารตัดสินใจในขั้นแรกต้องกำหนดว่าจะเป็นแผนสำหรับระยะใด เป็นแผนระดับชาติ หรือระดับจังหวัด ในการเสนอสาระสำคัญในตัวแผนนี้จะต้องคำนึงถึง
                                   - ความกะทัดรัดและชัดเจน
                                   - ให้มีความสมบูรณ์ในตัวของแผนเอง คือมีองค์ประกอบต่าง ๆ ของแผนครบถ้วน
โดยสรุป ในขั้นตอนจัดทำแผน คือ การกำหนดรูปแบบในการเขียนแผนซึ่งบรรจุเนื้อหาสาระต่าง ๆ ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของแผนอย่างครบถ้วน ตัวอย่างของการกำหนดรูปแบบของแผน เช่น
                บทที่ 1 บทนำ
                บทที่ 2 การวิเคราะห์วินิจฉัยสภาพปัจจุบันและปัญหาการศึกษา
                บทที่ 3 วัตถุประสงค์ นโยบาย ยุทธวิธี และเป้าหมายของแผน
                บทที่ 4 ค่าใช้จ่าย
ง. ขั้นการจัดทำรายละเอียดของแผน การทำแผนให้เกิดผลในทางปฏิบัติต้องกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับกิจกรรมที่จะดำเนินการทั้งหมด การจัดทำรายละเอียดนี้ควรรวมทั้งสองมิติให้สัมพันธ์กันคือ
   - การกำหนดหรือจัดทำแผนในระดับย่อยลงมา หมายถึงการแบ่งกลุ่มเป้าหมายรวมและทรัพยากรรวมระดับชาติออกเป็นหน่วยย่อยตามหน่วยทางภูมิศาสตร์ เช่น เป็นรัฐ จังหวัด เป็นต้น
   - การทำแผนงาน คือ จำแนกแผนออกไปตามสาขางานต่าง ๆ ซึ่งแต่ละงานมุ่งให้บรรลุจุดมุ่งหมายอย่างเดียวกัน แต่ละสาขางานนี้เรียกว่าแผนงาน โดยปกติแผนงานหนึ่ง ๆ จะประกอบด้วยกิจกรรมทั้งหมด ซึ่งควบคุมโดยหน่วยบริหารเดียว หรือที่จำเป็นต้องพึ่งพากันและดำเนินกิจกรรมทั้งหมดไปพร้อมกันหรือต่อเนื่องกัน และในแผนงานหนึ่ง ๆ จะประกอบด้วย โครงการต่าง ๆ
จ. ขั้นการนำแผนไปปฏิบัติ การนำแผนพัฒนาการศึกษาไปใช้ เริ่มเมื่อนำโครงการต่าง ๆ ไปปฏิบัติจุดนี้เป็นจุดที่ประสมประสานการวางแผนเข้ากับการจัดการศึกษาเพระการนำแผนไปปฏิบัตินี้จะต้องทำแผนประจำปี หรือการจัดทำงบประมาณประจำปี ณ จุดนี้ทรัพยากรทั้งคน เงิน และวัสดุจะได้รับการจัดสรรให้แต่ละโครงการเพื่อดำเนินการ ถ้าการจัดสรรงบประมาณเป็นไปตามที่เสนอ การปฏิบัติตามแผนจะเป็นไปได้ง่าย การปฏิบัติที่แท้จริงคือ การลงมือทำงานตามโครงการ
                                      ฉ. ขั้นการติดตามประเมินผล ปรับแผน และจัดทำแผนใหม่ ในขณะที่ได้นำแผนไปปฏิบัติแล้ว จะต้องเริ่มดำเนินการติดตาม ควบคุมและกำกับการดำเนินงานเพื่อตรวจสอบว่ามีการปฏิบัติจริงหรือไม่ ในการติดตามและกำกับงาน อาจดูจากรายงานจากการตรวจเยี่ยม และการนิเทศในด้านการประเมินผล โดยปกติมักจะกำหนดให้มีการประเมินเป็นช่วยระยะ การประเมินผลอาจจะเป็นการประเมินผลโครงการ โดยประเมินผลระหว่างดำเนินงาน เพื่อการปรับปรุงโครงการ และประเมินผลสรุปหรือผลรวมเมื่อโครงการสิ้นสุดแล้ว
 
 
 
 
แผนภูมิกระบวนการขั้นตอนในการวางแผนการศึกษา
 
เก็บรวบรวมและนำข้อมูลเข้ากระบวนการ
 
การวินิจฉัย
 
การประเมินความต้องการในอนาคต
 

การกำหนดนโยบาย
 
กำหนดค่าใช้จ่ายของความต้องการ
 
กำหนดเป้าหมาย
 

การทดสอบความเป็นไปได้
 
การกำหนดแผน
 
การนำแผนไปปฏิบัติ
 
การประเมินผลแผน
 
การปรับปรุงแก้ไขและวางแผนใหม่
 
 
 
 

                                                                       

คำสำคัญ (Tags): #ส่งงาน
หมายเลขบันทึก: 401308เขียนเมื่อ 6 ตุลาคม 2010 23:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 16:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เรียนอาจารย์ ดร.ดิศกุล เกษมสวัสดิ์

กระผมนายสุทิน แก้วพล นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต

สาขาบริหารการศึกษา ศูนย์พยัคฆภูมิพิสัย

จัดทำงานเดี่ยว วิชานโยบายและการวางแผนการศึกษาท้องถิ่น ในหัวขัอจัดทำเอกสารความรู้เกี่ยวกับนโยบายและการวางแผนการศึกษา เสร็จเรียบร้อยแล้ว

อาจารย์ช่วยตรวจและแนะนำผมด้วยนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท