ส่งงานวิชานโยบายและการวางแผนการศึกษาท้องถิ่น


ส่งงาน 10 ข้อวิชานโยบายและการวางแผนการศึกษาท้องถิ่น เสนอ ดร.ดิศกุล เกษมสวัสดิ์

แบบทดสอบ

วิชานโยบายและการวางแผนการศึกษาท้องถิ่น

เสนอ   ดร.ดิศกุล   เกษมสวัสดิ์

จัดทำโดย   นายสุทิน  แก้วพล          นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต

สาขาบริหารการศึกษา   ศูนย์พยัคฆภูมิพิสัย

 

1.  จากคำกล่าวที่ว่านโยบายอยู่เหนือเหตุผล  ท่านจะอธิบายตามหลักนโยบายศาสตร์อย่างไร

                นโยบาย  หมายถึง  หลักและวิธีปฏิบัติหรือแนวทางที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้ในการดำเนินงานหรือปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายตามต้องการ นโยบาย  ต้องผ่านการคัดเลือกแล้วกลั่นกรอง  ลงมติ  และอนุมัติ อย่างเป็นระบบ  โดยผ่านกระบวนการสำรวจ วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อเพิ่มศักยภาพการดำเนินงาน

                เหตุที่นโยบายอยู่เหนือเหตุผล  เพราะนโยบายต่างๆ มีหลักการเป้าหมายวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ในการปฏิบัติจริงแล้วบางอย่างก็ไม่เป็นไปตามนโยบายที่ได้วางกรอบไว้ 

                ดังนั้นคำกล่าวที่ว่า นโยบายอยู่เหนือเหตุผล  อธิบายได้ดังนี้  นโยบายคือการกำหนดแนวทางเพื่อให้องค์กรบรรลุถึงวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ซึ่งถ้าเปรียบเทียบนโยบายเปรียบเสมือนทรัพย์ภายนอกส่วนเหตุผลคือการพิจารณาที่จะดำเนินงานให้เป็นไปตามนโยบายที่กำหนดไว้ให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เกิดประโยชน์และความสุข โดยปราศจากการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เปรียบเสมือนทรัพย์ภายใน

 

2. นโยบายมาจากแหล่งใด

                1.  นโยบายที่สั่งมาจากผู้บริหาร

                2.  นโยบายที่เสนอขึ้นไป

                3.  นโยบายที่เข้าใจเอาเอง

 

3.  จงเขียนวงจรนโยบายสาธารณะเริ่มจากใดและสิ้นสุดลงอย่างไร

        1.     การก่อตัวนโยบาย (Policy formation)                              เกิดอะไรขึ้นบ้าง

        2.     การกำหนดนโยบาย (Policy formulation)                        มีแนวทางอย่างไรบ้าง

        3.     การตัดสินนโยบาย (Policy decision)                                จะเลือกแนวทางใดดี

        4.     การนำนโยบายไปปฏิบัติ (Policy implementation)         จะนำแนวทางที่ได้ไปดำเนินการอย่างไร

        5.     การประเมินผลนโยบาย (Policy evaluation)                   การดำเนินการตามแนวทางได้ผลหรือไม่

                (ดังรูป)

 

 

 

5.  นโยบายการกระจายอำนาจการจัดการศึกษาให้แก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นท่านคิดว่าเกิดจากตัวแบบนโยบายสาธารณะตัวแบบใด  จงอธิบายและให้เหตุผลประกอบ

                นโยบายการกระจายอำนาจการจัดการศึกษาให้แก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นท่านคิดว่าเกิดจากตัวแบบนโยบายสาธารณะตัวแบบสถาบัน (Institutional  Model) คือนโยบายสาธารณะที่เป็นกิจกรรมของสถาบัน  โดยเฉพาะสถาบันของรัฐ

 

6.  นโยบายการประกันคุณภาพการศึกษา  ท่านคิดว่าเกิดจากตัวแบบนโยบายสาธารณะตัวแบบใด  จงอธิบายและให้เกตุผลประกอบ

                เกิดจากตัวแบบสาธารณะตัวแบบกระแส  หน้าต่างนโยบาย คือ เกิดจากกระแสปัญหา  กระแสนโยบาย  และกระแสการเมือง นำมาสู่การกำหนดแนวทาง  การแก้ปัญหา  เกิดวาระนโยบาย  และสุดท้ายเกิดเป็นนโยบายสาธารณะ

 

7.  นโยบายโรงเรียนดีประจำตำบลท่านคิดว่าเกิดจากตัวแบบนโยบายสาธารระตัวแบบใด  จงอธิบายและให้เหตุผลประกอบ

                เป็นตัวนโยบายแบบเชิงระบบ (System  Model) นโยบายสาธารณะเกิดขึ้นจากการกลั่นกรองของระบบการเมือง  เกิดจากปัจจัยนำเข้าหรือการเรียกร้อง  การสนับสนุนจากระบบการเมือง   และนำไปใช้ เป็นปัจจัยออก

 

 

 

 

 

8.  จงอธิบาย Swot  Analysis  วิเคราะห์พร้อมยกตัวอย่างการวิเคราะห์นโยบายในหน่วยงานของท่าน  พอสังเขป

                ความหมายของ SWOT Analysis   เป็นการวิเคราะห์สภาพองค์การ หรือหน่วยงานในปัจจุบัน เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดเด่น จุดด้อย หรือสิ่งที่อาจเป็นปัญหาสำคัญในการดำเนินงานสู่สภาพที่ต้องการในอนาคต 

 SWOT  เป็นตัวย่อที่มีความหมายดังนี้

  1. Strengths  - จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบ
  2. Weaknesses  - จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบ
  3. Opportunities  - โอกาสที่จะดำเนินการได้
  4. Threats  - อุปสรรค ข้อจำกัด หรือปัจจัยที่คุกคามการดำเนินงานขององค์การ

หลักการสำคัญของ SWOT  ก็คือการวิเคราะห์โดยการสำรวจจากสภาพการณ์ 2 ด้าน คือ สภาพการณ์ภายในและสภาพการณ์ภายนอก    ดังนั้นการวิเคราะห์ SWOT  จึงเรียกได้ว่าเป็นการวิเคราะห์สภาพการณ์ (Situation Analysis) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน เพื่อให้รู้ตนเอง (รู้เรา) รู้จักสภาพแวดล้อม (รู้เขา) ชัดเจน และวิเคราะห์โอกาส-อุปสรรค    การวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายนอกและภายในองค์กร ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริหารขององค์กรทราบถึงการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายนอกองค์กร ทั้งสิ่งที่ได้เกิดขึ้นแล้วและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคต รวมทั้งผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ที่มีต่อองค์กรธุรกิจ และจุดแข็ง จุดอ่อน และความสามารถด้านต่าง ๆ ที่องค์กรมีอยู่ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการกำหนดวิสัยทัศน์ การกำหนดกลยุทธ์และการดำเนินตามกลยุทธ์ขององค์กรระดับองค์กรที่เหมาะสมต่อไป 

          จุดแข็ง  คือ  วิทยาลัยการอาชีพพยัคฆภูมิพิสัยเป็นโรงเรียนแห่งเดียวในอำเภอที่มีชื่อเสียงด้านการจัดการเรียนการสอนสายวิชาชีพ

                จุดอ่อน  คือ  นักเรียนที่มาศึกษาต่อในวิทยาลัยส่วนมากเป็นนักเรียนที่ด้อยคุณภาพด้านการศึกษาเรียนหนังสือไม่ค่อยเก่ง  ดื้อรั้น  ทำให้การจัดการเรียนการสอนเป็นไปด้วยความลำบาก

                โอกาสที่จะเกิดขึ้นได้คือถ้ารัฐบาลให้การสนับสนุนเรื่องงบประมาณในการจัดสร้างอาคารสถานที่ห้องเรียน  ห้องน้ำ  และโรงอาหาร  จำนวนนักเรียนที่มีจำนวนมากก็จะได้รับความสะดวกสบายและก็จะมีคุณภาพมากขึ้น

                อุปสรรค  ได้รับการจัดสรรจากรัฐบาลน้อยและมีขั้นตอนในการทำงานมากกว่าจะมาถึงโรงเรียนต้องใช้เวลาไม่ทันต่อการพัฒนา

 

 

9.  Blue Ocean Strategy เป็นกลยุทธ์การบริหารจัดการในการสร้างความต้องการหรืออุปสงค์ขึ้นมาใหม่ (Demand Creation) โดยจะไม่มุ่งเน้นการแข่งขันเป็นหลัก แต่จะให้ความสนใจกับความต้องการที่แอบแผงอยู่ของกลุ่มลูกค้า และกลุ่มที่ยังไม่ใช่ลูกค้าของอุตสาหกรรมในปัจจุบัน โดยจะสร้างสินค้าและบริการที่เพิ่มคุณค่าให้กับผู้บริโภค และในขณะเดียวกันก็จะต้องสามารถลดต้นทุนในส่วนที่ไม่จำเป็นขององค์กรอีกด้วย อันจะเป็นแนวทางหนึ่งของการเติบโตขององค์กรอย่างยั่งยืน

Blue Ocean Strategy นี้ไม่เป็นเพียงแต่ทฤษฎีทางความคิด แต่ได้นำเสนอถึงวิธีการ กระบวนการและขั้นตอนปฏิบัติอย่างเป็นระบบและมีรูปแบบที่ชัดเจน รวมถึงเครื่องมือต่าง ๆ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ซึ่งแนวความคิด กระบวนการคิด ขั้นตอนและเครื่องมือต่าง ๆ นี้ ถูกนำไปทดสอบกับการบริหารงานจริงอีกด้วย

ตัวอย่าง ที่ใช้และเห็นภาพอย่างชัดเจนคือ เครื่องสำอาง Body Shop ซึ่งในช่วงแรกๆ ที่ออกมาคงจำได้ถึงกระแสความตื่นตัว และตื่นเต้นไปกับแนวคิดของ Body Shop นะครับ รวมทั้งความสำเร็จ เนื่องจาก Body Shop ได้ใช้กลยุทธ์ Blue Ocean ในการขายเครื่องสำอางของตนเอง นั้นคือแทนที่จะมุ่งเน้นทำเหมือนคู่แข่งขันรายเดิมๆ ที่อยู่ในธุรกิจเครื่องสำอาง ไม่ว่าจะเป็นการเน้นการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม หรือการสร้างภาพลักษณ์ของเทคโนโลยีชั้นสูง หรือการใช้ดาราหรือนางแบบชื่อดังมาโฆษณา หรือการตั้งราคาที่สูงสิ่งที่ Body Shop นำเสนอคือคุณค่าที่แตกต่างจากผู้เล่นรายอื่นๆ ในตลาดเครื่องสำอาง นั้นคือไม่เน้นในเรื่องของบรรจุภัณฑ์ และหีบห่อที่สวยงาม (ลดเนื่องจากคิดว่าไม่ใช่สิ่งที่ลูกค้ามองหา) ไม่เน้นเป็นผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชั้นสูง ไม่เน้นภาพลักษณ์ที่หรูหรา แต่เน้นการใช้ส่วนผสมตามธรรมชาติ และการดำรงชีวิตแบบมีสุขภาพที่สมบูรณ์ ผู้อ่านจะเห็นได้ว่า Body Shop ไม่ได้เน้นในการแข่งขันกับผู้ผลิตรายเดิมๆ ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง แต่พยายามนำเสนอคุณค่าใหม่ๆ ให้ลูกค้า เป็นการสร้าง Blue Ocean ขึ้นมา แทนที่จะมุ่งเน้นแต่ Red Ocean แบบเดิมๆข้อคิดที่สำคัญประการหนึ่ง ก็คือเมื่อ Body Shop สร้าง Blue Ocean มาได้แล้ว ไม่ช้าไม่นาน ก็จะมีคู่แข่งที่อยากจะเข้ามาในทะเลสีฟ้านี้ด้วยเช่นกัน และเมื่อคู่แข่งเข้ามามากขึ้น และกลยุทธ์ที่ใช้ก็จะไม่หนีกัน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

10. กรอบแนวคิดของแมคคินซีย์ (McKinsey 7 s Framework)

       McKinney 7-S Framework ซึ่งกรอบแนวคิดประกอบด้วยปัจจัย 7 ประการในการประเมินองค์การ โดยในระยะต่อมาได้รับการยอมรับและนำไปใช้อย่างกว้างขวาง และในปัจจุบันได้มีการนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์องค์การในส่วนของ SWOT ในด้านของปัจจัยภาพในว่าองค์การนั้นๆมีจุดแข็งและจุดอ่อนในปัจจัยทั้ง 7 อย่างไร แผนภาพข้างล่างนี้เป็น Model ของ McKinney 7-S Framework ซึ่งจะเห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างปัจจัยต่างๆ ดังนี้

 

1. กลยุทธ์ขององค์กร (Strategy)
        การบริหารเชิงกลยุทธ์เป็นกระบวนการอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้บริหารตอบคำถามที่สำคัญ อาทิ องค์กรอยู่ที่ไหนในขณะนี้ องค์กรมีเป้าหมายอยู่ที่ไหน พันธกิจของเราคืออะไร พันธกิจของเราควรจะเป็นอะไร และใครเป็นผู้รับบริการของเรา การบริหารเชิงกลยุทธ์จะมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง การบริหารเชิงกลยุทธ์จะช่วยให้องค์กร กำหนดและพัฒนาข้อได้เปรียบทางการแข่งขันขึ้นมาได้และเป็นแนวทางที่บุคคลภายในองค์กรรู้ว่าจะใช้ความพยายามไปในทิศทางใดจึงจะประสบความสำเร็จ
2. โครงสร้างองค์การ (Structure)
       คือโครงสร้างที่ได้ตั้งขึ้นตามกระบวนการ หรือหน้าที่ของงานโดยมีการรับบุคลากรให้เข้ามาทำงานร่วมกันในฝ่ายต่างๆ เพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ที่ตั้งไว้ หรือหมายถึง การจัดระบบระเบียบให้กับบุคคล ตั้งแต่ 2-คนขึ้นไป-เพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่วางไว้-เนื่องจากองค์กรในปัจจุบันมีขนาดใหญ่-การจัดองค์กรที่ดีจะมีส่วนช่วยให้เกิดความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน ลดความซ้ำซ้อนหรือขัดแย้งในหน้าที่ ช่วยให้บุคลากรได้ทราบขอบเขตงานความรับผิดชอบ มีความสะดวกในการติดต่อประสานงาน ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในการบริหารจัดการได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
3. ระบบการปฏิบัติงาน (System)
       ในการปฏิบัติงานตามกลยุทธ์เพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ตามที่กำหนดไว้นอกจากการจัดโครงสร้างที่เหมาะสมและมีกลยุทธ์ที่ดีแล้ว การจัดระบบการทำงาน (Working System) ก็มีความสำคัญยิ่ง อาทิ ระบบบัญชี/การเงิน (Accounting/Financial System) ระบบพัสดุ (Supply System) ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology System) ระบบการติดตาม/ประเมินผล (Monitoring/Evaluation System) ฯลฯ
4. บุคลากร (Staff)
       ทรัพยากรมนุษย์นับเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการดำเนินงานขององค์กร องค์กรจะประสบความสำเร็จหรือไม่ส่วนหนึ่งจะขึ้นอยู่กับการจัดการทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management
การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ เป็นกระบวนการวิเคราะห์ความต้องการทรัพยากรมนุษย์ในอนาคต โดยการตัดสินใจเกี่ยวกับบุคลากรนั้นควรมีการวิเคราะห์ที่อยู่บนพื้นฐานของกลยุทธ์องค์การที่เป็นสิ่งกำหนดทิศทางที่องค์การจะดำเนินไปให้ถึง ซึ่งจะเป็นผลให้กระบวนการกำหนดคุณลักษณะ และการคัดเลือกและจัดวางบุคลากรได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น
5. ทักษะ ความรู้ ความสามารถ (Skill)
       ทักษะในการปฏิบัติงานของทรัพยากรบุคคลในองค์การสามารถแยกทักษะออกเป็น 2 ด้านหลัก คือ ทักษะด้านงานอาชีพ (Occupational Skills) เป็นทักษะที่จะทำให้บุคลากรสามารถปฎิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่ได้ ตามหน้าที่ และลักษณะงานที่รับผิดชอบเช่น ด้านการเงิน ด้านบุคคล ซึ่งคงต้องอยู่บนพื้นฐานการศึกษาหรือได้รับการอบรมเพิ่มเติม ส่วนทักษะ ความถนัด หรือความชาญฉลาดพิเศษ (Aptitudes and special talents) นั้นอาจเป็นความสามารถที่ทำให้พนักงานนั้นๆโดดเด่นกว่าคนอื่น ส่งผลให้มีผลงานที่ดีกว่าและเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานได้รวดเร็ว ซึ่งองค์การคงต้องมุ่งเน้นในทั้ง 2 ความสามารถไปควบคู่กัน
6. รูปแบบการบริหารจัดการ (Style)
       แบบแผนพฤติกรรมในการปฏิบัติงานของผู้บริหารเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งของสภาพแวดล้อมภายในองค์กร พบว่า ความเป็นผู้นำขององค์กรจะมีบทบาทที่สำคัญต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวขององค์กร ผู้นำที่ประสบความสำเร็จจะต้องวางโครงสร้างวัฒนธรรมองค์กรด้วยการเชื่อมโยงระหว่างความเป็นเลิศและพฤติกรรมทางจรรยาบรรณให้เกิดขึ้น
7. ค่านิยมร่วม (Shared values)
       ค่านิยมและบรรทัดฐานที่ยึดถือร่วมกันโดยสมาชิกขององค์กรที่ได้กลายเป็นรากฐานของระบบการบริหาร และวิธีการปฏิบัติของบุคลากรและผู้บริหารภายในองค์กร หรืออาจเรียกว่าวัฒนธรรมองค์กร รากฐานของวัฒนธรรมองค์กรก็คือ ความเชื่อ ค่านิยมที่สร้างรากฐานทางปรัชญาเพื่อทิศทางขององค์กร โดยทั่วไปแล้วความเชื่อจะสะท้อนให้เห็นถึงบุคลิกภาพและเป้าหมายของผู้ก่อตั้งหรือผู้บริหารระดับสูง ต่อมาความเชื่อเหล่านั้นจะกำหนดบรรทัดฐาน เป็นพฤติกรรมประจำวันขึ้นมาภายในองค์กร เมื่อค่านิยมและความเชื่อได้ถูกยอมรับทั่วทั้งองค์กรและบุคลากรกระทำตามค่านิยมเหล่านั้นแล้วองค์กรก็จะมีวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง

ในการประเมินสมรรถนะขององค์การถือว่าเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งในการสร้างความยั่งยืนในการพัฒนา เนื่องจากจะทำให้เราได้รู้สภาพความเป็นจริงว่าองค์การของเรามีสมรรถนะอย่างไร อาจเปรียบได้กับการตรวจร่างกายของคนเพื่อที่จะทราบถึงความแข็งแร็งและสมบูรณ์ และค้นหาโรคภัยต่างๆ ในกรณีองค์การก็เช่นเดียวกัน การค้นพบจุดอ่อนก็เปรียบการค้นพบโรคที่จำเป็นต้องได้รับการเยียวยารักษาให้หายหรือทุเลาลงไป เพื่อพร้อมที่จะดำรงอยู่อย่างมั่นคงและสามารถไปสู่เป้าหมายที่ฝันไว้ให้ได้

12.  PEST Analysis
เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมภายนอกทางการตลาดระดับมหภาค(Macro Environment)   ก่อนทำ SWOT คือ คุณจะแยกหัวข้อเป็นกลุ่ม ๆ หรือไม่ เช่น เป็นกลุ่มของ Economic หรือ Technology เป็นต้น คุณควรใช้เครื่องมืออีกตัวหนึ่ง คือ PEST Analysis เป็นการมองในเชิงกลยุทธ์

P = Political คือนโยบาย/กฎเกณฑ์ของรัฐบาล
E = Economic คือเศรษฐกิจระดับมหภาค
S = Social คือสังคม/วัฒนธรรม
T = Technological คือวิทยากรแขนงต่างๆ


1. Political- Legal
       นโยบายของรัฐถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลกระทบต่อองค์กรไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม เพราะนโยบายของรัฐอาจจะส่งผลกระทบในการดำเนินงาน ปัจจุบัน เนื่องจากนโยบายของรัฐบาลมีการกำหนดให้มีการพัฒนาทางด้าน IT ดังนั้นทางบริษัทจึงมีการพัฒนาผลิตโดยจะต้องผลิตสินค้าที่ใช้ Hight Technology เพิ่มขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดสินค้า IT ที่ขยายตัวอยู่ตลอดเวลา ซึ่งปัจจุบันนี้เทคโนโลยีมีส่วนช่วยบุคคล และองค์กร ให้องค์กรมีความเจริญก้าวหน้า และดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้องค์กร และบุคคล ต่างแสดงหาเทคโนโลยีที่ทันสมัยและดีที่สุดเพื่อนำมาใช้ไม่ว่าส่วนตัวหรือในองค์กร ทำให้ต้องเร่งผลิตสินค้าที่สามารถตอบสนองความต้องการลูกค้าได้ตามความต้องการและความพึงพอใจสูงสุด รัฐบาลมีนโยบายการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมแห่งที่ 2 ในจังหวัดลำพูน
ในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมแห่งที่ 2 ในจังหวัดลำพูน เพื่อรองรับความต้องการการลงทุนที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต เพราะความพร้อมทั้งด้านการขนส่ง คมนาคม แรงงาน ทำให้เกิดนิคมอุตสากรรมเพิ่มขึ้นซึ่งจะส่งผลกระทบหลายด้าน อาทิเช่น การแข่งขันทางด้านแรงงาน ตามมา เพราะหากว่าบริษัทใดให้ค่าแรงสูงกว่าก็จะเกิดแรงจูงให้พนักงานเปลี่ยนบริษัทได้
2. Economic
       การเปลี่ยนแปลงของสภาวะเศรษฐกิจมีผลกระทบโดยตรงต่อองค์กร หากช่วงใดสภาวะเศรษฐกิจดี ไม่มีเหตุการณ์ร้ายเกิดขึ้น ก็จะทำให้องค์กรมีความมั่นใจในการดำเนินงาน รวมถึงลูกค้าที่มีความมั่นใจในเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ทำให้การสั่งซื้อมากขึ้นตามไปด้วย แต่หากช่วงใดเกิดเหตุการณ์ที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ ก็จะทำให้ลูกค้าเกิดความไม่มั่นใจในการดำเนินงานของบริษัท ว่าเหตุการณ์นั้นจะมีผลกระทบกับองค์กรอย่างไร ทำให้ความต้องการของลูกค้าลดลง เนื่องจากความเชื่อมั่นลดลง ทำให้เกิดความหวั่นไหว ต่าง ๆ ตามมา เช่น วิกฤตการเกิดโรคซาร์ และไข้หวัดนก เมื่อต้นปีที่ 2547 ทำให้เศรษฐกิจของทวีปเอเชียตะวันออกตกต่ำลงทุก ๆ ด้าน เนื่องจากเป็นผลกระทบต่อเนื่อง ทำให้การสั่งซื้อสินค้าลดลง การผลิตสินค้าจึงลดลงตามไปด้วย
3. Sociocultural
       เนื่องจากปัจจุบัน บริษัทตั้งอยู่ภายในนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ทางรัฐบาลได้จัดสรรไว้เพื่อจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรม นอกจากนั้นยังมีบริษัทอื่น ๆ ตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียง ทางนิคมอุตสากรรมได้มีการบริหารจัดการที่ดี ทำให้ผลกระทบทางด้านสังคมมีไม่มาก เนื่องจากเป็นบริเวณพื้นที่ได้จัดสรรไว้สำหรับการจัดตั้งโรงงานอุตสาหรรม แต่ในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์จะมีมลภาวะเกิดขึ้น ทำให้โรงงานต้องมีการควบคุมมลภาวะที่เกิดขึ้น เพื่อไม่เกิดความเสียหายกับชื่อเสียงของบริษัท ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายของบริษัทเพิ่มขึ้นในการป้องกันการเกิดมลภาวะที่เป็นพิษ ที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายแก่สิ่งแวดล้อม และสังคมรอบข้าง
4. Technological
        ในปัจจุบัน Technology กลายเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิตของมนุษย์ รวมถึงการดำเนินการขององค์กร ซึ่ง Technology ที่จะนำมาใช้ในองค์กรนั้นมีผลกระทบทั้งดี และ เสีย คู่กันไป แต่องค์กรพยายามที่จะนำเอาข้อดีของ Technology มาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดย Technology ที่องค์กรนำมาใช้ มีดังนี้
       • Internet
       นำมาใช้ในการติดต่อสื่อสารข้อมูลภายในและภายนอกหน่วยงานเพื่อการลดขั้นตอนในการทำงาน ก่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง การดำเนินงานขององค์กร การทำงานด้วยระบบ Internet มีส่วนในการที่จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จในการดำเนินงานสูง เพราะสามารถใช้ในการติดต่อลูกค้าได้โดยตรง แต่ในทางกลับกันก็เป็นค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น หากต้องการระบบที่มีคุณภาพ ก็จะทำให้ค่าใช้จ่ายสูงขึ้นตามไปด้วย
       • Transportation
       นำมาใช้ในการเคลื่อนย้ายและขนส่งสินค้าจากโรงงานไปยังลูกค้า โดยการนำเครื่องและเทคโนโลยีมาช่วยก่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็วในการดำเนินการขนส่ง มีผลให้การขนส่งเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัทได้รับความไว้วางใจและความเชื่อถือจากลูกค้า เมื่อการเคลื่อนย้าย และขนส่งที่ดีและตรงตามเวลา
       • Infrastructure
       เนื่องจากบริษัทฯ เป็นบริษัทที่ผลิตชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์ ทำให้โครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีมีมูลค่ามาก ค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อ และบำรุงรักษามากขึ้นตามลำดับ แต่มีส่วนสำคัญที่จะทำให้องค์มีข้อได้เปรียบในการผลิตสินค้าที่ทันสมัย ตรงตามความต้องการของลูกค้า
       • Information Technology
       บริษัทได้นำ IT มาใช้ในด้านการบริหารจัดการโดยนำมาประยุกต์ใช้เพื่อก่อให้เกิดการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ และใช้ในการประกอบการตัดสินใจในการดำเนินงานของผู้บริหาร เพื่อองค์กรอยู่รอด


       • Electronics Devices
       เครื่องมือทางด้านอิเลคทรอนิกส์เป็นปัจจัยที่สำคัญของบริษัท เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตโดยตรง ทำให้ค่าใช้จ่ายในอุปกรณ์และการบำรุงรักษาสูง ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายซึ่งมีผลกระทบต่อต้นทุนมาก และเมื่อใช้ไปเป็นเวลามากขึ้น ก็จะล้าสมัย ไม่สามารถรองรับกับการผลิตอุปกรณ์ใหม่ ๆ ได้
โดย ทั่ว ๆไปมักจะทำ PEST ก่อนทำ SWOT
(PEST ช่วยบ่งชี้ตัวแปรที่สำคัญ หรือคัดเอาตัวที่ไม่สนใจออก) เพื่อส่งให้ SWOT)
ถ้าต้องการขยายมุมมองออกให้มากขึ้นก็ให้ใช้ PESTELI ตัว 3 ตัวที่เพิ่มเข้ามาคือ
E = Ecological (or Environmental)
L = Legislative (or Legal)
I = Industry Analysis
สรุปขั้นตอนก่อนคือ
1) ระดมความคิด
2) PEST (หรือ PESTELI)
3) SWOT
เริ่มจากระดมความคิด(เดี๋ยวนี้)แล้ววางแผนบุกมองไปข้างหน้าทันที เหมือนกับว่าไม่สนใจเรื่องอดีตแล้ว (อดีตเป็นอย่างไร ช่างมัน คิดใหม่ ทำใหม่แล้วบุก อะไรประเภทนั้น) มีผู้รู้หลายๆท่านเขาว่า เราไม่สนใจอดีตเลยหรือ ไม่ดีมั๊ง เราน่าจะมาดูว่า เรายังแย่ตรงไหนแล้วปรับปรุงจาก สิ่งนั้นไปไม่ดีกว่าหรือ ....เออ จริงแฮะ...เข้าท่า "เรียนรู้อดีต แล้ววางแผนที่จะไปในอนาคต" พวกนี้ก็มักเริ่มจากฟังเสียงจากภายนอก (สภาพแวดล้อม) ผ่านทาง QFD ฟังเสียงภายในผ่านทาง Benchmarking เมื่อได้ข้อมูลแล้ว จึงมาเข้า PEST, SWOT ต่อไป  # QFD ย่อมาจาก Quality Function Deployment (การแปลงหน้าที่ผลิตภัณฑ์เชิงคุณภาพ ให้เป็นแนวทางปฏิบัติ) เป็นการประกันคุณภาพในการออกแบบ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อความพึงพอใจของลูกค้าและเพื่อถ่ายทอดความต้องการของลูกค้าให้เป็นเป้าหมายการออกแบบ เราใช้เป็นเครื่องมือตัวหนึ่ง ที่เริ่มต้นที่การตลาด โดยสืบหาว่า ถ้าลูกค้า จะพอใจผลิตภัณฑ์ของเรา ผลิตภัณฑ์ของเราจะต้องมีลักษณะอะไรบ้าง (ที่กำลังจะออกแบบขึ้นมาเพื่อผลิตขาย) ฝ่ายออกแบบจะต้องแปลความหมายให้ตรงกันจากภาษาลูกค้า โดยจะเริ่มตั้งแต่กระบวนการรับฟังเสียงจากลูกค้าา (Voice of Customer) และถ่ายทอดไปสูการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ลุกค้าต้องการ การออกแบบชิ้นส่วนส่วน ๆ ของผลิตภัณฑนั้น และนำไปสู่การออกแบบกระบวนการผลิตที่ต้องการ เพื่อสร้างความพอใจให้กับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง Quality Function Deployment, QFD เป็นเครื่องมือสำคัญซึ่งองคกรต้องเรียนรู้เป็นพื้นฐานแล้วนำไปประยุกต์ใช้อย่างเป็นระบบ ด้วยการสรางบ้านแห่งคุณภาพ (House of Quality) อย่างมั่นคง เพื่อถ่ายทอดความต้องการของลูกค้าไปสูกระบวนการผลิตอย่างสมบูรณ์ ดังนั้นเราต้องออกไปเก็บรวบรวมข้อมูลจากลูกค้าให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในระหว่างที่รวบ รวมข้อมูลอยู่นั้น ทีม QFD จะต้องถามต่อและตอบคำถามอย่างมากมาย

             อาทิเช่น ลูกค้าต้องการอะไรอย่างแท้จริงจากเรา ความคาดหวังของลูกค้าคืออะไร ความคาดหวังของลูกค้านำไปใช้ในกระบวนการออกแบบหรือไม่ ทีมออกแบบทำให้ลูกค้าพึงพอใจจนบรรลุผลสำเร็จอะไรได้บ้าง

คำสำคัญ (Tags): #ส่งงานนโยบาย
หมายเลขบันทึก: 401214เขียนเมื่อ 6 ตุลาคม 2010 13:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 15:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อธิบายความสำคัญของ QFD ที่มีต่อการประกันคุณภาพ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท