การตรวจสอบการเขียนเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย


เพื่อวินิจฉัยว่า ข้อเขียนของท่านมีลักษณะครบถ้วนตามเกณฑ์ต่อไปนี้หรือไม่

การตรวจสอบการเขียนเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย เพื่อวินิจฉัยว่า ข้อเขียนของท่านมีลักษณะครบถ้วนตามเกณฑ์ต่อไปนี้หรือไม่ หากขาดลักษณะข้อใดให้ท่านปรับปรุงให้เหมาะสม เป็นหลักการสำหรับการเขียนรายงานเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และหลักการสำหรับการวิจารณ์ และปรับปรุงการเขียนรายงานเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย มีดังต่อไปนี้

1. ข้อเขียนทุกตอนมีความเกี่ยวข้องกับปัญหาวิจัย

2. ข้อเขียนแต่ละตอนมีจุดมุ่งหมายว่าจะใช้ประโยชน์อย่างไร มิใช่เพียงเสนอให้ผู้อ่านมีความรู้

3. ข้อเขียนเสนอภาพรวมกว้างๆตะล่อมไปสู่การสร้างกรอบความคิดการวิจัย

4. แต่ละตอนมีการสรุปด้วยถ้อยคำหรือความคิดของนักวิจัยเอง

5. ส่วนที่เป็นรายงานการวิจัย มีการสรุปย่อ รายงานการวิจัยแต่ละเรื่อง นำเสนอทั้งปัญหา วัตถุประสงค์ กรอบแนวคิด วิธีดำเนินการวิจัย และข้อค้นพบ และต้องมีการสังเคราะห์งานวิจัยทุกเรื่องที่นำเสนอ ในแต่ละตอน มิใช่นำเสนอเฉพาะแต่สรุปสาระงานงานวิจัยแต่ละเรื่อง

6. มีการวิเคราะห์เปรียบเทียบจุดเด่น จุดด้อยของเอกสาร แล้วนำแนวคิดที่ได้ไปใช้ประโยชน์

7. การเสนอรายงานทั้งหมดมีใจความถูกต้อง ตรงตามต้นฉบับ ไม่ลำเอียง และมิใช่การลอกข้อความ แต่เป็นการเสนอข้อความที่คู่ขนาน หรือการถอดความ (paraphrase)

8. มีหลักฐานอ้างอิงสนับสนุนกรอบความคิด และสมมติฐานการวิจัย

9. มีการสรุปแนวคิด วิธีการใหม่ๆจากรายงานมาใช้ในโครงการวิจัย

10. แสดงความเกี่ยวข้องระหว่างโครงการวิจัยกับงานวิจัยในอดีต

11. รูปแบบการนำเสนอถูกต้องตามหลักภาษาและหลักการเขียนเอกสารวิชาการ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การเขียนชื่อเรื่องงานวิจัย

     1.  ต้องกะทัดรัด  มีความชัดเจนในตัวเอง

     2.  ชี้ให้เห็นลักษณะของตัวแปร  กลุ่มตัวอย่าง  และขอบเขตของการวิจัย

     3.  ภาษาที่ใช้ต้องเป็นภาษาที่เชื่อถือได้ในวิชาชีพนั้น ๆ

     4.  เป็นประโยคที่สมบูรณ์  ข้อความ หรือวลีก็ได้

 

การเขียนความเป็นมาและความสำคัญของการวิจัย

แนวในการเขียนแบ่งเป็น  3  ส่วน  คือ

      1.1  เริ่มจากจากสภาพปัจจุบันของสิ่งที่จะวิจัย  

      1.2  ปัญหาที่เกิดขึ้นสำหรับสิ่งที่จะวิจัย

      1.3  แนวทาง หรือ หลักการที่จะแก้ปัญหานั้น

  2.  ตรงประเด็น และชี้ให้เห็นความสำคัญของสิ่งที่จะวิจัย ไม่ควรเขียนเยิ่นเย้อ  และนอกเรื่อง  เพราะจะทำให้ผู้อ่านไขว้เขวได้

  3.  มีข้อมูลอ้างอิง  เพื่อความน่าเชื่อถือ   การมีข้อมูลอ้างอิงจะทำให้งานวิจัยมีคุณค่า  และบางครั้งทำให้การเขียนมีความสละสลวย   มีเหตุมีผล

  4.  มีความต่อเนื่องกัน  ในแต่ละย่อหน้าผู้เขียนต้องเขียนให้ต่อเนื่องกัน   ห้ามเขียนวกไปวนมา  โดยต้องยึดหลักการเขียนตามข้อ  1

  5.  สรุปเหตุผลที่ผู้วิจัยจะศึกษา  ในส่วนสุดท้ายของความเป็นมาและความสำคัญของการวิจัย 

 

การเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัย             

   1. สอดคล้อง/สัมพันธ์  กับชื่อเรื่องการวิจัย

   2. ระบุอย่างชัดเจนว่าต้องการศึกษาอะไร  กับใคร  ที่ไหน

   3. ถ้าเรื่องที่วิจัยเกี่ยวข้องกับตัวแปรหลาย ๆ ตัว  ควรเขียนแยกเป็นข้อ ๆ

   4. ภาษาที่ใช้ต้องเข้าใจง่าย  และแจ่มชัดในตัวเอง

   5. สามารถเก็บข้อมูลได้ ประเด็นนี้สำคัญมาก เพราะถ้าเขียนแล้ว  ผู้วิจัยไม่รู้ หรือไม่สามารถที่จะเก็บข้อมูลได้  จะทำให้การวิจัยประสบความล้มเหลวได้

 

 

 

 

 

การเขียนสมมุติฐานการวิจัย

      สมมุติฐานการวิจัย (Research hypothesis) เป็นการคาดคะเนผลของการวิจัยไว้ล่วงหน้า  โดยใช้ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง  เพื่ออ้างอิงไปยังประชากร  การกำหนด/เขียนสมมุติฐานการวิจัย ควรเขียนหลังจากที่ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยเรียบร้อย  เพราะจะทำให้ผู้วิจัยมีเหตุผลในการกำหนดสมมุติฐาน

       1. หลักการกำหนดและทดสอบสมมุติฐาน

           1.1  มีข้อมูลพอเพียงเกี่ยวกับตัวแปร และ ความสัมพันธ์ของตัวแปร  จากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

           1.2  มีการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง (Samples , not populations, are used.) 

           1.3  ผู้วิจัยต้องการจะใช้วิธีการ การทดสอบสมมุติฐาน

 

       2. หลักการเขียนสมมุติฐานการวิจัย

           2.1  งานวิจัยจะมีสมมุติฐานการวิจัย เมื่อวัตถุประสงค์การวิจัยเป็นการเปรียบเทียบหรือมีลักษณะเป็นการเปรียบเทียบ

           2.2  ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย

           2.3  สอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่รู้กันทั่วไป  หรือ มีทฤษฎี   งานวิจัยรองรับ

           2.4  ถ้ามีข้อมูลสนับสนุนพอเพียง ให้ตั้งสมมุติฐานว่า “สูงกว่า/น้อยกว่า” ในทางตรงกันข้าม ถ้ามีข้อมูลสนับสนุนน้อย หรือไม่มีข้อมูลสนับสนุน ให้ตั้งสมมุติฐานว่า “แตกต่างกัน”

           2.5 ใช้คำที่เข้าใจง่าย  ชัดเจน  เป็นข้อความที่คนทั่วไปเข้าใจได้ตรงกัน

 

 

หมายเลขบันทึก: 400901เขียนเมื่อ 4 ตุลาคม 2010 20:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 16:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท