ComMedSci ι เรียนรู้การทำงานของทีมงาน รพ.สต.กระบาก ตอนที่ 7 ผู้บุกเบิก อสม.


เรื่องฝากต่อเนื่องจากพี่อ้อ (ศุภลักษณ์ พริ้งเพราะ)

 

การเรียนรู้การทำงาน  รพ.สต.กระบาก

ตอนที่  7  ผู้บุกเบิก  อสม.

 

                กลับจากพาทีมงาน  อสม.ไปทานก๋วยเตี๋ยวแล้วก็มาส่งที่  รพ.สต.  โชคเข้าข้างเราได้พบกับหัวหน้า  รพ.สต.กระบาก ไม่ใช่ซิตำแหน่งอย่างเป็นทางการตอนนี้คือท่าน ผอ. ซึ่งทางทีมงานเราทราบมาว่าท่านมีงานประชุม  อยู่ที่อำเภอสว่างแดนดิน  เราจึงคิดว่าหมดหวังที่จะได้คุยกับท่านแล้ว  ท่านบอกว่างานที่นั้นมอบหมายเสร็จก็เลยรีบมาเพื่อมาพบทีมงานจากศูนย์วิทย์ฯ (ขอกราบขอบพระคุณท่านมากเลยค่ะ)  ทั้ง  ๆ ฝนตกหนักมากท่านก็กรุณาต่อพวกเรา 

เราก็เลยถามคำถามเลยว่า 

ที่นี่ทำอย่างไร  อสม.ถึงเก่งได้ขนาดนี้ 

(คำถามอาจจะภูธรไปเสียหน่อย  แต่ก็ช่างเถอะ) 

ท่าน  ผอ. บอกว่าเมื่อปี  48  ท่านย้ายมาใหม่  ๆ  ให้  อสม. สำรวจข้อมูลเป็นหลังคาเรือน  จะบันทึกใส่สมุดสีชมพูแผ่นใหญ่พอสมควร 

จะมีข้อมูลว่า  ปู่  ย่า  ตา  ยาย  พ่อ  แม่  ลูก  หลาน  ข้อมูลเยอะมาก ชนิดใครเป็นอะไร  ที่ไหนเมื่อไรเลยประมาณนั้น  รวมถึงแผนที่บ้าน  โรคประจำตัวของแต่ละคน  

อสม.ก็เลยบอกกับท่าน  ผอ.  ว่า

ทำไม่ได้หรอก  มันยากเกินไป  ถ้าไม่อย่างนั้นจะลาออกจากการเป็น  อสม. 

(แรงกันมากเลย  ท่าน  ผอ.จะทำยังงัยนี่) 

ท่าน  ผอ.ก็ตอบไปเลยว่า 

ทุกคนนะรู้อยู่แล้วว่าใครเป็นลูกเป็นหลานใคร ปู่  ย่า  ตา  ยาย  เป็นใคร  เพียงแต่เอามาเขียนใส่ในกระดาษเท่านั้นเอง  อย่าบอกว่าไม่รู้เถอะ  ระดับอำเภอก็รู้จัก  อสม.  ระดับจังหวัดก็รู้จัก  อสม.  ระดับประเทศก็รู้จัก  อสม.  เขาไม่เห็นรู้จักพยาบาลที่นี่เลยว่าเป็นใคร  เขาก็พากันรู้จักแต่  อสม.กันทั้งนั้น  ยังจะลาออกอีกเหรอ  ถ้าลาออกไปแล้วไม่ต้องมาเป็นอีกน๊ะ  มีอีกหลายคนที่เขาอยากจะเป็น  และอยากจะทำงานตรงนี้

(โอ้! สุดยอด ) 

หลังจากนั้นทุกคนก็ไปทำ  งานก็ออกมาได้ดี  และก็ไม่มีใครลาออก 

จากนั้นท่าน ผอ.จึงเล่าต่อว่าที่นี่จะพัฒนาศักยภาพของ  อสม. โดย

ถ้าใครเรียนจบ  ป.4  ก็ให้เรียนต่อให้จบถึง  ม.3 

(เรียน  กศน.  อยู่ตรงข้ามกับ  รพ.สต.)

แต่ถ้าคนไหนอายุมากแล้วก็ไม่เป็นไร  ทุก ๆ หนึ่งเดือน  อสม.ทุกคนจะต้องมาทำกิจกรรมร่วมกันไม่ต่ำกว่า  1  ครั้ง 

ทั้งอำเภอชื่นชมจะต้องมีผู้เชี่ยวชาญงานแต่ละด้าน 

 มีงานทั้งหมด  14  ด้าน  ถ้าหมู่บ้านไหน  มี  อสม.น้อยแต่ละคนก็จะได้เป็นผู้เชี่ยวชาญหลายด้าน 

(จำนวน  อสม.จะขึ้นอยู่กับจำนวนครัวเรือน  เพราะ  อสม.   1  คนจะรับผิดชอบประมาณ  10 – 15  ครัวเรือน) 

งานนี้ทำกันทั้งอำเภอ  และงานในหน้าที่รับผิดชอบของ  อสม.  เยอะมาก 

สำรวจยุงลาย  ยิ่งในช่วงไข้เลือดออกระบาด 

ก็ต้องดูแล  ชั่งน้ำหนักเด็กอายุ  0 – 3 ปี  ทุก ๆ  3  เดือน

  ถ้าเด็กมีน้ำหนักน้อยจะต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง 

จะแบ่ง เป็น  3 ช่วงคือ  1,2,3    ให้เหลือในช่วงที่  1  ให้ได้ตอนนี้ที่  รพ.สต.กระบากก็ทำได้แล้ว  เพราะเด็กอยู่ในช่วงเกือบปกติ แต่ถ้าอยู่ในช่วงที่  2  ชึ้นไปต้องชั่งน้ำหนักกันทุกเดือน 

อสม.จะต้องทำแผนงานเป็นในแต่ละเดือนจะต้องมีและเดือนละ  4  ครั้ง 

ในปี  53  นี้ให้พัฒนาศักยภาพโดยการทำแผนที่ทางเดินยุธศาสตร์   จะมีงานส่งเสริม 

เยี่ยมหลังคลอดไม่ว่าจะคลอดที่ไหน 

เมื่อกลับมาอยู่บ้านทีม  อสม.จะเข้าไปดูแล  และมีของขวัญให้เล็ก ๆน้อย ๆ  เช่น  แป้ง  ผ้าอ้อม  ให้คำแนะนำกับคุณแม่คนใหม่  และยังมีงานแกนนำสุขภาพครอบครัว  (กสค)  ครัวเรือนละ  1  คน 

ให้มีความรู้ด้านสาธารณสุขมูลฐาน  (ตอนนี้คนไข้ก็เริ่มมากันหนาตามากขึ้น  เราจึงมองสบตากันว่าจะเอายังงัยต่อ  เพราะว่าไม่มีเจ้าหน้าที่อยู่เลย  ไปช่วยงานศพกันหมด  เป็นคุณย่าของคุณหมอพิมพ์นั่นเอง )

  แต่ท่าน  ผอ.ก็ยังให้ข้อมูลกับเราต่อว่า 

อสม.จะต้องมาปฏิบัติงานที่  รพ.สต.  อย่างเช่น  ในวันฉีดวัคซีน  มาช่วยต้อนรับคนมารับบริการ  หาบัตร จัดเป็นเวร  คุณทราบกันไหมว่า  อสม.ทำงานมากมายขนาดนี้ได้รับเงิน เดือนตอบแทนกี่บาท  ถ้าคุณทราบแล้วคุณจะตกใจ 

 “ไม่ได้เลยสักกะบาท” 

 อสม.ไม่มีเงินเดือนนะคะ  ท่าน  ผอ  เพราะเด็กอยู่  รพ.สต.กระบากก็ทำได้แล้ว  เพราะเด็กอยุ่ยจะต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง  จะแบ่งเป็น  3 งานตรงนี้

บอกว่าทำงานกันด้วยจิตอาสาจริง  ๆ  แต่ท่านก็พูดประโยคหนึ่งขึ้นมาประทับใจพวกเรามาก  ก็คือ

“จิตอาสาในจิตอาสา” 

 เขาเป็นผู้ให้กับชาวบ้านจริง  ๆ  ใกล้ชิด  รับรู้ข้อมูลข่าวสารถ่ายทอดสู่ชุมชนได้  แบบตัวต่อตัว  ไม่มีข้อมูลกระเด็นไปไหน  เดินไปหากันกินส้มตำด้วยกัน  แต่ก็สามารถคุยอะไรที่เป็นเชิงความรู้ได้  และเป็นคำพูดง่าย  ๆ  ที่ชาวบ้านเข้าใจ   ไม่ต้องปรุงแต่งให้เลิศหรู 

 (นี่แหล่ะวิถีตามธรรมชาติที่เราเป็น) 

คนไข้มาหลายคนแล้ว  เราก็เลยขอตัวกลับ 

ก่อนจะกลับท่าน  ผอ.บอกว่า "ท่านจะมาทำงานเดือนสุดท้ายแล้ว" 

ชาวบ้านคงใจหายหน้าดู  แต่ท่านบอกว่าท่านยังจะมาช่วยทำงาต่อ  เลยถามท่านว่าชาวบ้านจะเลี้ยงหรือเปล่า  (ถามได้งัยนี่ )  ท่านบอกว่าวันที่  24  ก็เลยบอกท่านว่าถ้าเห็นหนูมาก็ไม่ต้องตกใจน๊ะ  ก็เลยพากันหัวเรอะเสียงดังรวมไปถึงคนไข้ที่มารอด้วย  คนไข้ที่นี่ไม่ว่าจะอายุยังน้อยหรืออายุมากแล้ว  แต่คำเรียกท่าน  ผอ.  ใช้คำว่า 

 แม่  เป็นคำที่ยิ่งใหญ่มากสำหรับทุกคน  แต่ชาวบ้านที่นี่สามารถเรียกท่าน  ผอ.ด้วยคำนี้ได้  แสดงให้เห็นถึงความผูกพันเป็นสายใยซึ่งกันและกัน  แถมคุณแม่ของทุกคนบอกว่าอยู่คนเดียวคนไข้พากันไปค้นหาบัตรของตัวเอง  โดยไม่ให้คุณแม่ของพวกเขาลำบาก  รอตรวจอย่างเดียว  น่ารักจังเลยนะ  ครอบครัวของ  รพ.สต.กระบาก

                                                       ศุภลักษณ์  พริ้งเพราะ...ผู้เขียน
 
รวมลิงค์ของงานเขียน aar ณ รพ.สต.กะบาก
เขียนโดย พี่อ้อ (ศุภลักษณ์  พริ้งเพราะ)

ComMedSci ι เรียนรู้การทำงานของทีมงาน รพ.สต.กระบาก ตอนที่ 1 ตกใจที่สุด...และสุดขีด

ComMedSci ι เรียนรู้การทำงานของทีมงาน รพ.สต.กระบาก ตอนที่ 2 วางแผนทำ KM

ComMedSci ι เรียนรู้การทำงานของทีมงาน รพ.สต.กระบาก ตอนที่ 3 ลงพื้นที่กระบากพบ อสม.และ อบต.ครั้งแรก

ComMedSci ι เรียนรู้การทำงานของทีมงาน รพ.สต.กระบาก ตอนที่ 4 เข้าบทเรียน

ComMedSci ι เรียนรู้การทำงานของทีมงาน รพ.สต.กระบาก ตอนที่ 5 บทเรียนจากคุณตาเคน

ComMedSci ι เรียนรู้การทำงานของทีมงาน รพ.สต.กระบาก ตอนที่ 6 ความประทับใจของ อสม.

ComMedSci ι เรียนรู้การทำงานของทีมงาน รพ.สต.กระบาก ตอนที่ 7 ผู้บุกเบิก อสม.

ComMedSci ι เรียนรู้การทำงานของทีมงาน รพ.สต.กระบาก ตอนที่ 8 สรุปการทำงานของ รพ.สต.และทีมงาน

หมายเลขบันทึก: 400838เขียนเมื่อ 4 ตุลาคม 2010 15:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 22:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท