เครื่อมือในการวิจัย


เครื่องมือวิจัย ,ชนิดของเครื่องมือวิจัย,การเลือกเครื่องมือวิจัย

เครื่องมือวิจัย หมายถึง เป็นอุปกรณ์หรือเทคนิคที่นักวิจัยใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลหรือวัดตัวแปรที่ต้องการศึกษา เช่น แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์

ความสำคัญของเครื่องมือวิจัย

1. เครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการเก็บข้อมูลจะเป็นส่วนประกอบสำคัญของการวัดการประเมินตัวแปรในการวิจัยตัวแปรในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพมักไม่สามารถวัดโดยตรงจึงต้องอาศัยเครื่องมือในการวิจัย

2. เป็นสะพานเชื่อมที่สำคัญระหว่างปัญหา วัตถุประสงค์ และสมมุติฐานการวิจัย กับข้อมูลที่ใช้เป็นหลักฐานในการตอบปัญหา

3. มีส่วนสำคัญทำให้การรวบรวมข้อมูลกระชับตรงประเด็นตามวัตถุประสงค์ มีความต่อเนื่องเป็นขั้นตอน ช่วยลดความผิดพลาด

4. เครื่องมือวิจัยที่วางรูปแบบที่ดีจะมีส่วนช่วยให้การจัดเตรียมข้อมูลการวิจัยเพื่อวิเคราะห์ง่ายขึ้นดังนั้นเพื่อให้งานวิจัยมีคุณภาพ ผลการวิจัยได้รับความน่าเชื่อถือ นักวิจัยจะต้องมีการวางแผนการดำเนินการดที่ดี เพื่อให้ปราศจากความคลาดเคลื่อนหรือมีความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด

 

ชนิดของเครื่องมือวิจัย

แบบสอบถาม หมายถึง ชุดของข้อคำถามที่ผู้วิจัยเตรียมไว้ให้ผู้ตอบซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลโดยตรงเขียนตอบในเรื่องใดเรื่องใดเรื่อง

หนึ่งที่ต้องการศึกษา แบบสอบถามเป็นเครื่องมือวิจัยที่นิยมใช้กันมากชนิดหนึ่ง ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ

หนังสือนำ คำชี้แจงในการตอบ เนื้อหาของแบบสอบถาม

แบบสอบถามที่ใช้มีหลายลักษณะดังนี้

1. แบบสอบถามชนิดเลือกตอบ มักใช้เพื่อต้องการวัดความรู้ หรือเป็นแบบทดสอบที่มีคำตอบที่ถูกต้องเพียงคำตอบเดียว มี

หลายรูปแบบ เช่น

- ให้เลือกตอบ 1 คำตอบจากตัวเลือก 2 ตัวเลือก แบบสอบถามชนิดนี้มักจะถามเป็นการตอบรับปฏิเสธ โดยกำหนดคำตอบเป็น

ใช่-ไม่ใช่ เคย – ไม่เคย เห็นด้วย – ไม่เห็นด้วย เช่น

ท่านเคยตรวจร่างกายประจำปีหรือไม่ ( ) เคย ( ) ไม่เคย

- ให้เลือกคำตอบ 1 คำตอบจากตัวเลือกมากกว่า 2 ตัวเลือก ซึ่งอาจกำหนด 4 หรือ 5 ตัวเลือก เช่น

ท่านมีบุตรกี่คน ( ) 1 คน ( ) 2 คน ( ) 3 คน ( ) มากกว่า 3 คน

- แบบเลือกตอบได้หลายคำตอบ มักใช้ถามความคิดเห็นหรือประสบการณ์ของผู้ตอบซึ่งมีโอกาสเกิดได้หลายกรณีในเวลา

- แบบจัดลำดับสิ่งที่ให้ตอบ เช่น ท่านพึงพอใจในบริการที่ได้รับจากใครมากที่สุดเรียงลำดับก่อนหลัง

2. แบบประมาณค่า เป็นแบสอบถามที่กำหนดให้ผู้ตอบเลือกตอบตามระดับความคิดเห็นที่แตกต่างกันโดยตอบเป็นคำตอบ

เพียงคำตอบเดียว มักใช้วัดเจตคติ ความคิดเห็น หรือความเชื่อของผู้ตอบ ซึ่งมีระดับแตกต่างกัน แบ่งออกเป็น

- แบบเลือกตอบจากตัวเลือกที่กำหนดให้ เช่น

ท่านคิดว่าการสอนโดยใช้สื่อวีดิทัศน์มีความน่าสนใจในระดับใด ( ) มาก ( ) ปานกลาง ( ) น้อย

- แบบเลือกตอบจากตัวเลข เช่น 0 10 20 30 40 50 60 70 80 90 100

ไม่พึงพอใจเลย ปานกลาง พึงพอใจมาก

3. แบบสอบถามชนิดปลายเปิด เป็นแบบสอบถามที่มีรูปแบบของคำถามในลักษณะที่ถามอย่างกว้าง ๆ เพื่อเปิดโอกาสให้

ผู้ตอบได้ตามเสรี มักใช้เมื่อต้องการข้อมูลหรือความคิดเห็นอย่างกว้าง ๆ เช่น

ปัญหายาเสพติดมีผลกระทบต่อชุมชนของท่านอย่างไรบ้าง

....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

แบบสัมภาษณ เป็นการรวบรวมข้อมูลโดยมีการสื่อสารกันระหว่างผู้ถามกับผู้ให้ข้อมูล ทั้งนี้การสื่อสารจะต้องมีจุดมุ่งหมาย

แบ่งตามวิธีการสัมภาษณ์ได้ 2 ประเภทคือ

1. แบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้างแน่นอน มีลักษณะคล้ายคลึงกับแบบสอบถามแบบเลือกตอบ ประกอบด้วยข้อคำถาม และ

คำตอบเอาไว้ให้ผู้ตอบเลือกหลายคำตอบ ผู้เก็บรวบรวมข้อมูลจะสัมภาษณ์ตามเนื้อหาในแบบสัมภาษณ์ เท่านั้นโดยอ่าน

คำถามทีละข้อ แล้วให้ผู้ตอบเลือกคำตอบที่ได้เตรียมไว้

2. แบบสัมภาษณ์ชนิดไม่มีโครงสร้างแน่นอน มักประกอบด้วยแนวคำถามกว้าง ๆ และมีลักษณะยืดหยุ่น เพื่อให้ผู้ให้ข้อมูล

สามารถให้ข้อคิดในแนวลึกคล้ายแบบสอบถามชนิดปลายเปิด

แบบสังเกต เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ต้องใช้การดู การฟัง หรือการใช้ประสาทสัมผัสอื่น ๆ เช่นการสัมผัส

การดมกลิ่น ซึ่งผู้รวบรวมข้อมูลต้องอยู่ใกล้ชิดกับสิ่งที่ต้องการสังเกตมาก นิยมใช้แบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ

1. แบบสังเกตชนิดมีโครงสร้าง เป็นเครื่องมือที่กำหนดขอบเขตของการสังเกตว่าจะต้องสังเกตอะไร และอย่างไรบ้าง มักอยู่

ในรูปแบบตรวจสอบรายการ (checklist) โดยกำหนดหัวข้อของการสังเกตและตัวเลือกในแต่ละหัวข้อเพื่อให้ผู้สังเกตบันทึก

เมื่อมีเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น

2. แบบสังเกตชนิดไม่มีโครงสร้าง ไม่ได้กำหนดขอบเขตไว้ล่วงหน้า เมื่อสังเกตพบว่ามีพฤติกรรมใด ๆ เกิดขึ้น ผู้สังเกตจะจด

บันทึกไว้ทั้งหมด

แบบทดสอบมาตรฐาน เครื่องมือชนิดนี้มักใช้ในการวัดความถนัด ความสามารถในวิชาใดวิชาหนึ่ง หรือด้านใดด้านหนึ่ง เช่น

แบบวัดความถนัดทางด้านคณิตศาสตร์ แบบทดสอบความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ และแบทดสอบทางจิตวิทยาต่าง ๆ

เช่น แบบทดสอบความสามารถทางสติปัญญา แบบวัดบุคลิกภาพ

การพัฒนาเครื่องมือเพื่อใช้ในการวิจัย

ในขั้นตอนของการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการวิจัย ผู้วิจัยจะต้องพิจารณาว่าในการวิจัยของตนเองต้องการวัดตัวแปรอะไรบ้าง

และจะใช้เครื่องมือชนิดใดเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลนั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยอาจได้มาจากคัดเลือกเครื่องมือที่มีอยู่แล้วมาใช้

หรือพัฒนาขึ้นใหม่ ดังนี้

การเลือกเครื่องมือที่มีอยู่แล้วมาใช้ในการวิจัย ผู้วิจัยจำเป็นต้องพิจารณาในประเด็นต่อไปนี้

1. เครื่องมือนั้นสร้างขึ้นเพื่อวัดอะไร มีความสอดคล้องกับเรื่องที่จะวิจัยหรือไม่

2. เครื่องมือนั้นสร้างขึ้นภายใต้กรอบแนวคิดหรือทฤษฎีอะไร ทฤษฎีแต่ละทฤษฎีอาจให้แนวคิดที่แตกต่างกันดังนั้นในการทบทวนวรรณกรรมผู้วิจัยจึงต้องศึกษาที่ผู้สร้างเครื่องมือใช้

3. เครื่องมือนั้นสร้างขึ้นเพื่อใช้กับคนกลุ่มใด เพราะคนแต่ละกลุ่มอาจมีความแตกต่างกันทั้งในเรื่องของวัยสภาวะด้านร่างกายและจิตใจ อารมณ์ สังคม

4. เนื้อหาหรือคำถามที่อยู่ในเครื่องมือนั้นยังคงทันสมัยอยู่หรือไม่ และข้อคำถามย่อยภายในสอดคล้องกันเพียงพอหรือไม่เครื่องมือบางฉบับสร้างขึ้นเป็นเวลานานเกินไปอาจล้าสมัยหรือไม่สอดคล้องกับสถานการณ์

5. การนำเครื่องมือไปใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือมือบางชนิดอาจต้องอาศัยผู้ที่ได้รับการฝึกฝนมาโดยเฉพาะในการเก็บข้อมูล หรือการแปรผล เช่น เครื่องมือวัดทางจิตวิทยาหรือพัฒนาการ

6. คุณภาพของเครื่องมือ ได้แก่ ความตรง ความเที่ยง และคุณสมบัติอื่นสำหรับเครื่องมือที่ดีควรอยู่ในระดับที่ยอมรับได้เพราะการนำเครื่องมือที่ด้อยคุณภาพมาใช้จะมีผลเสียต่องานวิจัยทั้งหมด

7. ความเหมาะสมในด้านของระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการนำเครื่องมือมาใช้ในการเก็บข้อมูล เครื่องมือมาตรฐานบางฉบับมีคุณภาพดี แต่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์ในราคาที่แพงมาก เครื่องมือที่มีความยุ่งยากซับซ้อนในการนำไปใช้ อาจไม่คุ้มค่าแก่การนำไปใช้

8. ลิขสิทธิ์ของเครื่องมือ การพัฒนาเครื่องมือแต่ละฉบับถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญา การละเมิดลิขสิทธิ์นอกจากมีความผิดตามกฎหมายแล้ว ยังอาจมีผลทำให้ไม่สามารถเผยแพร่งานวิจัยได้โดยเฉพาะกรณีที่เป็นเครื่องมือที่พัฒนาในต่างประเทศ

หมายเลขบันทึก: 400762เขียนเมื่อ 4 ตุลาคม 2010 10:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 16:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีครับ

มาขอเรียนรู้ด้วยคนน่ะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท