สะพานความรู้และความเข้าใจแก่สังคมจากการเป็นคนชายขอบ


คนชายขอบของการพัฒนา
 สะพานความรู้และความเข้าใจแก่สังคมจากการกลายเป็นคนชายขอบ                จากที่ท่าน ดร.กนกวรรณ  มโนรมย์ มอบหมายให้ไปอ่านหนังสือทำความเข้าใจเกี่ยวกับโลกาวิวัฒน์และการกลายเป็นชายขอบ  พบว่า กระบวนการเชิงโครงสร้างทำให้เกิดคนชายขอบในสังคมไทยขึ้นอยู่ 3  กระบวนการ คือ 1.       กระบวนการสร้างรัฐชาติ  ทำให้มีคนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช่คนไทยกลายเป็นคนชายขอบ2.       กระบวนการพัฒนา ที่มุ่งเน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ ทำให้ผู้ตกเป็นเหยื่อของการพัฒนาและผู้ที่ขัดแย้งกับการจัดสรรทรัพยากรกลายเป็นคนชายขอบ3.       กระบวนการโลกาวิวัฒน์  ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม ทำให้คนที่ด้อยโอกาสกลายเป็นกลุ่มชายขอบ การเป็นคนชายขอบ คือ   การเป็นคนนอกกรอบหรือนอกเวทีการรับรู้ของสาธารณะเพราะขาดโอกาสในการพูดถึงตัวเองของคนชายขอบ แต่มีเวทีให้คนอื่นพูดถึงคนชายขอบเพียงฝ่ายเดียว  โดยเฉพาะการสร้างภาพจากสื่อมวลชนเพื่อขายข่าวสนองการตลาด ทำให้คนชายขอบกลายเป็นแพะรับบาปที่แปลกแยกไปจากสังคม กลายเป็นตัวปัญหาหรือตัวถ่วงความเจริญในสายตาของสังคม                ในมุมมองของคนส่วนใหญ่ที่ไม่เข้าใจคนชายขอบ มักมองว่า คนชนบทที่ยากจนเป็นคนชายขอบ  ทั้งนี้เพราะคนเหล่านี้ไม่มีโอกาสมีส่วนร่วมและไม่สามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงทางการพัฒนาได้ทัน โดยส่วนใหญ่ขาดอำนาจการต่อรอง ขาดการศึกษา ขาดเครื่องมือ(สื่อ)ที่เข้าถึงอำนาจ และถูกกีดกันออกจากระบบการต่อรองอำนาจและการจัดสรรทรัพยากร อำนาจและความมั่งคั่งในสังคม ทำให้ไม่ได้รับการยอมรับจากสังคมหรือได้รับการเลือกปฏิบัติจากผู้คนในสังคมและจากรัฐ                ดังนั้นจะทำอย่างไรที่ผู้คนส่วนใหญ่ถึงจะรับรู้ได้ถึงความเป็นคนชายขอบ  หรือทำให้ผู้คนหรือสาธารณะรู้สึกและเข้าใจได้ว่า ทำไมบางคนแม้ยากเย็นแสนเข็ญก็ยังสู้ ทำไมเขาถึงสู้ได้และสู้อย่างไร และชีวิตของเขายิ่งอย่างไร ในมุมมองของคนชายขอบ
หมายเลขบันทึก: 40074เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2006 12:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท