Medical journal club แบบบ้านๆ


journal club.ไม่ใช่การจับผิด แต่ฝึกคิดให้แตกฉาน

แนวทางการอ่านวารสารทางการแพทย์ (โดยส่วนตัวฉันชอบคำว่า journal club มากกว่า Critical appraisal) อาจมีหลากหลายรูปแบบ วันนี้ขอนำเสนอแนวทางที่ กระชับ และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม จากชุดคำถามดังนี้คะ

 

1.    What is the question they are asking? Do we care?
2.    How did they answer the question? Are the methods appropriate for the question?
3.    What did they find? What information do we wish they had reported?
4.    How will this study change our practice? Does this study apply to our patient population and clinical practice?

 

Part I : คำถามของงานวิจัยนี้คืออะไร  มีประโยชน์ต่อการดูแลผู้ป่วยของเราหรือไม่

ดูจาก หัวเรื่อง, abstract และ background

หัวเรื่อง และบทคัดย่อที่ดี ควรทำให้เราสามารถวิธีการสรุปคำถามงานวิจัยให้ชัดเจนใน 1 ประโยค ซึ่งมีแนวการตอบคือ

   กรณี Observational study
   (Prospective cohort/ Retrospective cohort/Case cotrol/Cross sectional)  เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่าง ( Predictive variable) กับ ( Outcome variable) ใน (Population of study) 

   กรณี Intervational study
   (Randomized/non randomized/case crossing/ control trial..) เพื่อเปรียบเทียบ (Outcome) ระหว่าง ( Intervation group) กับ ( Control group) ใน (Population of study)

สำหรับ Background มักจะประกอบด้วย 3 ส่วน คือ

 ส่วนที่ 1  เกริ่น อธิบายขยายความทั่วๆ ไปที่เกี่ยวกับตัวแปรต่างๆ เช่น Breathlessness คือ.. พบมากใน...

 ส่วนที่ 2 กล่าวถึงคำถามงานวิจัยนี้ ว่ามีคำตอบจากงานวิจัยที่เคยทำก่อนหน้าอย่างไร โดยเป้าหมายชี้ให้เห็น "ช่องโหว่" อย่างไร

 ส่วนที่ 3 อธิบายว่างานวิจัยชิ้นนี้จะเติม "ช่องโหว่" ของคำตอบนั้นได้อย่างไร

 ก็จะสามารถพิจารณาได้ว่า
- Population และ setting ที่ศึกษานั้น สามารถประยุกต์กับผู้ป่วยใน รพ.เราได้หรือไม่
- Predictive variable/ intervention มีในบ้านเราหรือไม่
- Outcome  ตรงประเด็นกับประโยชน์ทางคลินิกหรือไม่ เช่น หากเราสนใจ Dyspnea ซึ่งเป็นความรู้สึก  หากวัดผลลัพท์หลักเป็น oxygen ในเลือด คงตอบไม่ตรงประเด็น
- study design เหมาะสมกับการหาคำตอบหรือไม่ สิ่งที่เป็นคำตอบนั้นตรงกับสิ่งที่เราต้องการรู้เพิ่มเติมหรือไม่

Part II : คำตอบจากงานวิจัยนี้ เชื่อถือได้หรือไม่  

ดูจากส่วน Method และ baseline characteristic

ส่วน Method มักแบ่ง เป็นหัวข้อย่อยบอกกวิธีการของ
- การเลือก และ การติดตาม Paticipant  -> Selection bias ?
- การจำแนก (classified) exposure และ outcome  -> Information bias ?
- เครื่องมือวัด การทดสอบมาตรฐาน  ->  Measurement error?
- การหาขนาดกลุ่มตัวอย่าง (sample size) -> Sampling error ?
- การจัดการกับ confounder / interaction:
  หากเป็น Trial จะกล่าวถึง Randomization 
  หากเป็น Observational study เพื่อหา "causual" relationship จะกล่าวถึง การ Stratified หรือ Multivariable analysis 
  เราสามารถตรวจสอบจากตารางแสดง Baseline characteristic ว่า ผู้วิจัยได้กระจายปัจจัยที่น่าจะเป็น confounding ได้เท่ากันเพียงไร ปัจจัยอะไรบ้างที่อาจเป็น confounder แต่ไม่ได้แสดงในตาราง
   
รายละเอียดการพิจารณาตามตัวทำให้เขว 4 อย่างที่นี่คะ  
Chance         : Sampling error, Measurement error 
Bias              : Selection bias , Information bias
Confounding  : Negative , Positive confounder
Interaction    :  Additive , Multiplicative interaction 

 

Part III :  การรายงานผล น่าพอใจไหม และจะทำอย่างไรให้ตอบคำถามสมบูรณ์ขึ้น

ดูจากส่วน result  และ discussion

ส่วน result  การแปลผล ซึ่งการคุ้นเคยกับศัพท์ในการแสดงผลวิจัย ซึ่งสอดคล้องไปกับ study design ก็คงช่วยให้การอ่านลดความปวดหัวลงได้บ้าง จึงขอนำเสนอตารางสรุปดังนี้

 

ในส่วน discussion ทำให้ผู้อ่านเข้าใจว่า งานวิจัยที่มี Bias ไม่ได้หมายความว่าเป็นงานวิจัยที่ไม่ดี ( Don't bias to bias) แต่ควรคิดต่อไปว่า  แล้วถ้าเราเป็นผู้วิจัยจะแก้ปัญหานั้นได้อย่างไร อาจเกิด empathy ว่าเป็นสิ่งที่เลี่ยงยากจริงๆ ซึ่งในเมื่อเลี่ยงไม่ได้ แล้วเราเองควรแปลผลอย่างไร

Part IV :  Take home message ผลจากงานวิจัยนี้นำไปใช้ในชีวิตจริงได้อย่างไร

Reflection เปิดเวทีแสดงความเห็น

ส่วน reflection เปิดให้แต่ละคนแสดงความเห็น ว่ามีอะไรที่เขาอยากรู้แล้วในงานวิจัยยังไม่ตอบไหม แล้วจะทำอย่างไรให้ตอบคำถามได้ดีขึ้น..จุดนี้ ทำให้เกิดความคิดแตกฉานและบรรยากาศสนุก 
บางงานวิจัยผลสรุปออกมาน่าสนใจมาก แต่เราอาจดึงผลนั้นไปใช้ไม่ได้ทั้งหมด จะด้วยการเมืองในหน่วยงานก็ดี ข้อจำกัดด้านวัฒนธรรมก็ดี แต่ก็ควรสกัดไปใช้ได้บ้าง

 

---------------------------------------------------------------------------------------------

 

มีตัวอย่างงานวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับ Palliative care/ Chronic care จะค่อยๆ ทะยอยบันทึก ตามประเภทคำถามทางคลินิก ดังนี้คะ

Causuality matter:

1. Benefit : คำถามนี้ ยอมรับกับว่า Double blinded randomized control trial น่าจะให้คำตอบ มี bias น้อยที่สุด

2. Harm :ไม่ว่าจะจาก treatment หรือสิ่งแวดล้อม เหมาะที่จะหาจากงานวิจัย observational study โดยเฉพาะ cohort  เนื่องจาก RCT กลุ่มประชากรศึกษามักจำกัด ไม่ได้วางแผนให้ตอบคำถาม harm

Association matter: สิ่งที่ต่างจากกลุ่ม causuality matter คือไม่ต้องกังวล ว่าอะไรจะเกิดก่อนหลัง ใน Case-control Cross-sectional study  และการกำจัดตัวเบื้องหลังเหตุ confounding แต่จะเอามาเป็นปัจจัยพยากรณ์ด้วยซ้ำ

3.Diagnosis : หา "current association" ระหว่าง test กับการมีโรค (ที่กำหนดด้วย gold standard) ในกรณีนี้ 

4.Prognosis : หา "future association" เช่นพยากรณ์คนที่เป็นโรคแล้ว ว่าจะมีชีวิตอยู่นานเพียงไร ดำเนินโรคเร็วช้า.

Quality matter:

5. How to communicate : อันนี้ขอเติมเข้าไป ในบางกรณี งานวิจัย quatitative อาจบอกแค่ว่า ยา ก. ดีกว่า ยา ข. หรือ ยา ก. มีผลข้างเคียง..ได้กี่ %  หรือ จากผลพยาธิวิทยา คาดว่า พยากรณ์โรคไม่ดี  ...คงไร้ค่า ถ้าแพทย์ไม่สามารถอธิบาย ให้ผู้ป่วยเข้าใจและยอมรับได้...จึงเป็นที่มาของคุณค่า งาน qualitative study

6. Audit : เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ จัดเป็น Descriptive study ตราบใดที่ไม่มีกระบวนการพิสูจน์ causuality (adjust confounding, report interaction)  หรือ พิสูจน์ association กับ gold standard

 

หมายเลขบันทึก: 400519เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2010 00:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 17:52 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีค่ะ

มาทักทายกันในวันหยุด

สบายดีนะคะ

ขอบคุณมากคะ พยายามจดบันทึกสรุปประเด็นสิ่งที่ได้เรียนรู้ไว้ และเผื่อเป็นประโยชน์ต่อใครไม่มากก็น้อยคะ

สุดยอดไปเลยค่ะ

ไม่ทราบว่ามีจัดทำ คำศัพท์ทางการแพทย์ที่พบบ่อยๆ ที่ใช้อ่าน journal ไหมครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท