ครูที่นักเรียนต้องการและไม่ต้องการ


ครูที่นักเรียนต้องการและไม่ต้องการ
                ลักษณะของครูที่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑  โรงเรียนธวัชบุรีวิทยาคม   ปีการศึกษา  ๒๕๕๒   มีความต้องการมากที่สุดคือ ครูที่สอนสนุกและใจดี   มีเหตุผล  ขยันในการทำงาน  ตั้งใจสอน  เข้าใจนักเรียน  รับผิดชอบต่องาน  ให้คำปรึกษาแก่นักเรียน  สอนตรงเวลา  แต่งตัวเรียบร้อย  ตรวจงานที่สั่ง  ตักเตือนเมื่อทำผิด   ไม่พูดคำหยาบ  จากการสำรวจนักเรียนทั้งหมด ๑๔๑  คน มีนักเรียนที่เลือก ๑๔๑   คน คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐   และลักษณะของครูที่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑   ต้องการน้อยที่สุดคือ ร่วมงานส่วนรวม จากการสำรวจนักเรียนทั้งหมดจำนวน ๑๔๑  คน มีนักเรียนที่เลือก ๘๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๐.๙๙

 ส่วนลักษณะของครูที่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ไม่ต้องการมากที่สุดคือ ครูที่ตี ดุนักเรียน ครูพูดจาไม่สุภาพ  ครูขี้บ่นด่าเก่ง  พูดมาก  ครูขาดความรับผิดชอบ  ครูไม่มีเหตุผล   ครูละเลยต่อนักเรียน  ครูดื่มสุรา  ครูเรียกเก็บเงินจากนักเรียน  ครูเสพสิ่งเสพติด  ครูเล่นการพนัน  ครูลำเอียง    ครูดูถูกนักเรียน  ครูเอาอารมณ์ที่บ้านมาระบายใส่นักเรียน  ครูที่ไม่ค่อยสอน  จากจำนวนนักเรียนที่เลือกทั้งหมด ๑๔๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ และลักษณะของครูที่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ไม่ต้องการน้อยที่สุดคือ ครูที่มอบหมายงานมาก     มีจำนวนนักเรียนที่เลือกทั้งหมด ๑๓๘    คน คิดเป็นร้อยละ  ๙๗.๘๗

 สรุปผลการศึกษา

         การศึกษาลักษณะของครูที่นักเรียนต้องการตามความคิดเห็น  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๑  โรงเรียนธวัชบุรีวิทยาคม   ปีการศึกษา  ๒๕๕๑  ทำให้ผู้ศึกษาพบว่า  ครูควรนำหลักจิตวิทยามาช่วยในการจัดการเรียนการสอนด้วย  สังเกตได้จากนักเรียนโดยรวมมีความต้องการครูที่มีลักษณะสอนสนุก  ใจดีและครูควรหลีกเลี่ยงการตี  ดุด่า  ควรยกย่องส่งเสริมให้กำลังใจ เป็นกันเอง ร่วมมือแก้ปัญหาร่วมกับนักเรียนจะทำให้การจัดการเรียนการสอนของครูประสบผลสำเร็จได้

 การอภิปรายผล ดังนี้

                  จากการศึกษาครั้งนี้พบว่า ลักษณะของครูที่นักเรียนมีความต้องการมากที่สุด คือครูที่มีลักษณะสอนสนุก และใจดี ไม่พูดคำหยาบ  ครูที่มีเหตุผล  ขยันการทำงาน  ตั้งใจสอน  เข้าใจนักเรียน  รับผิดชอบต่องาน  ให้คำปรึกษาแก่นักเรียน  สอนตรงเวลา  แต่งตัวเรียบร้อย  ตรวจงานที่สั่ง  ตักเตือนเมื่อทำผิด  ไม่เข้มงวดเรียนสูง    ร่วมงานส่วนรวม   ซึ่งในการจัดการเรียนการสอนเพื่อเข้าสู่ยุคปฏิรูปการศึกษานั้นต้องเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนั้นครูผู้สอนต้องพยายามจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นที่อยากจะเรียน ควรจะคิดหาวิธีการใหม่ ๆ เพื่อเร้าความสนใจของผู้เรียน เช่น การใช้นวัตกรรมที่แปลก ๆ ใหม่ ๆ ในการจัดการเรียนการสอน การใช้สื่อการสอนที่หลากหลาย การสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูผู้สอนกับผู้เรียนให้เกิดขึ้นตลอดเวลาที่ทำการสอน เป็นต้น เมื่อผู้เรียนเรียนได้อย่างมีความสุข และเกิดความเข้าใจในเนื้อหาและองค์ความรู้ที่ได้รับ  การจัดการเรียนการสอนก็ถือว่าประสบผลสำเร็จในอีกระดับหนึ่ง 

 ส่วนลักษณะของครูที่นักเรียนไม่ต้องการมากที่สุดคือ  ครูที่ตีดุนักเรียนขาด  ครูพูดจาไม่สุภาพ  ครูขี้บ่นด่าเก่ง      ครูขาดความรับผิดชอบ     ครูเรียกเก็บเงินจากนักเรียน    ครูไม่มีเหตุผล    ครูดื่มสุรา  ครูเสพสิ่งเสพติด   ครูเล่นการพนัน  ครูลำเอียง  ดูถูกนักเรียน ครูที่ละเลยต่อนักเรียน  ครูที่ไม่ค่อยสอนนักเรียน  ครูที่เอาอารมณ์ที่บ้านมาระบายใส่นักเรียน  ผู้ทำการศึกษาเชื่อว่าครูลักษณะดังกล่าวนี้ยังคงมีอยู่ในสังคมปัจจุบันแต่ก็คงเป็นส่วนน้อยมาก เพราะการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับ พ.ศ. ๒๕๔๒ นั้น ครูผู้สอนต้องเน้นนักเรียนเป็นสำคัญ ดังนั้นครูผู้สอนควรจัดกิจกรรมต่าง ๆ ครูควรให้ความสำคัญต่อผู้เรียน  สู่การปฏิรูปการเรียนรู้

 ข้อเสนอแนะ

 ๑.  ครูควรนำผลการศึกษาไปปรับปรุงพัฒนาการเรียนการสอนของตนเองต่อผู้เรียน

๒. ควรศึกษาความต้องการในลักษณะนี้กับนักเรียนระดับต่าง ๆ  ทุกโรงเรียน  ทั้งศึกษาจากนักเรียน  ศึกษาจากผู้ปกครอง  และชุมชนด้วย  

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 400517เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2010 00:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 16:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณมากค่ะ เป็นวิจัย เชิงคุณภาพด้วยไหมคะ

ใช่ค่ะครูอ้อย

วิจัยนี้เป็นกระจกสะท้อนครูโดยนักเรียน ครูอิ๊ดนำเสนอฝ่ายบริหารที่โรงเรียนและเผยแพร่ในที่ประชุมครูค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท