ผลการสำรวจเจตคติต่อครูผู้สอนวิชาภาษาไทย


เจตคติต่อครูผู้สอนวิชาภาษาไทย

ผลการสำรวจ

 สรุปผลได้ดังนี้

                ๑.  ในด้านการจัดกระบวนการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยระดับมัธยมศึกษาปีที่    ๑   นักเรียนมีความคิดเห็นว่าครูได้จัดกระบวนการเรียนการสอน  จากระดับร้อยละสูงไปต่ำ  ดังนี้ ได้เรียนอย่างมีความสุข  วัดผลหลากหลายวิธี    ได้เรียนอย่างมีความสุข   ได้ปฏิบัติจริงรูปแบบการสอนแบบใหม่ได้เรียนรู้จริง ได้เรียนรู้เป็นกลุ่ม  และได้นำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน      ตามลำดับ

                ๒.  ด้านความคิดเห็นต่อครูผู้สอนในทางบวก  พบว่านักเรียนมีความคิดเห็นต่อครูในการสอน  จากระดับสูงไปต่ำ  ดังนี้ ครูเข้าสอนทุกคาบ   ครูมีความขยัน  ครูเอาใจใส่ดูแลตลอดเวลา     เวลาค้นคว้า  ทำงานกลุ่ม  ครูคอยให้คำปรึกษา    ครูเป็นกันเอง  และ    ด้านความคิดเห็นต่อครูในทางลบ  พบว่า  นักเรียนมีความคิดเห็นต่อครู  ครูเคร่งครัดเรื่องการส่งงาน    ครูจริงจังมากเกินไป     และครูภารกิจอื่นมาก

 อภิปรายผล

             จากการสำรวจครั้งนี้ได้พบว่าการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่สุดตามแนวปฏิรูปการเรียนรู้  ช่วยพัฒนาความก้าวหน้าทางการเรียน  ช่วยพัฒนาความคิด  ให้ผู้เรียนมีความสามารถ  เก่ง  ดีและมีความสุข  ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ.  ๒๕๔๒  อย่างแท้จริง  ซึ่งเห็นได้จากนักเรียนได้ปฏิบัติ  วางแผน  เรียนรู้  ค้นพบความรู้ใหม่ได้ด้วยตนเองเป็นการได้แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่

 ข้อเสนอแนะ

 ๑.  ครูผู้สอนวิชาอื่นควรนำการศึกษานี้ไปสำรวจเจตคติของนักเรียนตนเองที่สอน  ซึ่งเป็นกระจกส่องตัวครูไปสู่การเรียนรู้ตามแนวปฏิรูป

๒.  ครูทุกคนควรจัดทำรูปแบบการสอนเป็นของตนเองจะเป็นการตรวจสอบ  การสอนของตนเองโดยผู้เรียน

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 400515เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2010 00:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 10:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

นำเครื่องมือ เผยแพร่ไหมคะ น่าสนใจมากค่ะ

ผมเป็นครูวิทย์ แต่ชอบคำประพันธ์ของภาษามากเพราะสละสลวย

แต่ติดใจอยู่คำหนึ่ง ที่ยังแคลงใจไม่หายสักที่ คือคำว่า "ใช่" เมื่อนำมาใช้ในคำประพันธ์ต่างๆ ทำไมจึงกลับแปลว่า "ไม่ใช่"

เช่น คนจะงาม งามน้ำใจ ใช่ใบหน้า แปลว่าคนจะงาม งามที่น้ำใจไม่งามที่ใบหน้า(เท่านั้น)

ถ้าว่า "คนจะงาม งามน้ำใจ ไม่ใช่ใบหน้า" ความไพเราะของคำประพันธ์นี้จะหมดไปเลย

อีหลายวรรค ที่เห็นนะครับ

*แผ่นดินนี้ใช่ จะไร้เท่าใบพุดทรา

*คนจะแก่ แก่ความรู้ ใช่อยู่นาน

อยากฟังเหตุผลคำอธิยายนะครับ มันมีที่ไปที่มาอย่างไร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท