สิ่งที่ต้องพิจารณาในการเลือกใช้ชนิดทางสถิติ


 
หลักการง่าย ๆ ในการเลือกใช้ต้องสังเกตุนะครับ

          ในวันนี้จะมาเรียนรู้กันในเรื่องการเลือกใช้ชนิดทางสถิตินะครับ เป็นเรื่อไม่ยากครับลองดูครับ

สิ่งที่ต้องพิจารณาในการเลือกใช้ชนิดทางสถิติ

                ในการพิจารณาในการเลือกใช้ชนิดทางสถิตินั้น จะต้องมีการคำนึงถึงจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ของการวิจัย ซึ่งโดยทั่วไปแบ่งจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ของการวิจัยได้ดังต่อไปนี้

                1. เพื่อบรรยายลักษณะตัวแปรในกลุ่มตัวอย่างหรือประชากร เป็นการใช้สถิติบรรยาย มาบรรยายภาพรวมของกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย

                   - การแจกแจงความถี่และค่าร้อยละ และนำผลจากการแจกแจงความถี่หรือค่าร้อยละเพื่อแสดงภาพรวมของข้อมูลที่ได้ ในการนำเสนอนิยมใช้ตารางและแผนภูมิมากกว่าคำบรรยายเพียงอย่างเดียว

                   - การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต มัธยฐาน ฐานนิยม

                   - การวัดการกระจาย ได้แก่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

                2. เพื่อเปรียบเทียบหาความแตกต่าง และสรุปอ้างอิงหาความแตกต่างจากกลุ่มตัวอย่างกลับไปยังประชากรที่ศึกษา ได้แก่

                   - การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่เป็นอิสระกันด้วย  Independent t-test

                   - การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่ไม่เป็นอิสระต่อกันด้วย  pair t-test

                   - การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างตั้งแต่ 2 กลุ่มด้วย Anova

                    - การเปรียบเทียบความถี่และสัดส่วนด้วยไคสแควร์

               3. เพื่อบรรยายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ได้แก่ การใช้สหสัมพันธ์อย่างง่าย ในการบรรยายความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ตัวแปร เช่น การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s product moment coefficient of correlation) และสหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน (Spearman’s Correlation) และการใช้สหสัมพันธ์พหุคูณ ในการบรรยายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป

          เป็นอย่างไรบ้างครับไม่ยากใช่มั้ยครับ....ในครั้งหน้าเราจะมาเรียนรู้กันในเรื่อง สถิติบรรยาย และสถิติอ้างอิง ผมว่าเรื่องนี้ผู้อ่านคงคิดว่าต้องยากแน่นอนใช่หรือป่าวครับ แต่ผมจะพยายามทำไม่ให้ยากนะครับ

เอกสารอ้างอิง
อรุณี  อ่อนสวัสดิ์. (2553).  เอกสารประกอบการบรรยาย วิชา ระเบียบวิธีวิจัยขั้นสูง (390611). พิษณุโลก. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ในห้องเรียนระเบียบวิธีวิจัยขั้นสูง โดย รศ.ดร.อรุณี  อ่อนสวัสดิ์
ความคิดเห็นของเพื่อนในห้องเรียนที่ช่วยกันอภิปราย
ภาพอ้างอิงมาจาก http://xchange.teenee.com/up01/post-109675-1258951048.jpg

หมายเลขบันทึก: 399366เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2010 11:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 เมษายน 2012 10:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

การแบ่งจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ของการวิจัยตามที่ผู้เขียนได้อธิบายมานั้น อ่านแล้วทำให้เข้าใจการเลือกใช้ชนิดทางสถิติมากขึ้น ไม่ยากอย่างที่คิดจริงๆ ค่ะ

ถ้าอย่างนั้นลองเอาไปทำดูนะครับ....

และถ้าสงสัยสามารถถามได้นะครับ

การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน อธิบายให้อ่านคร่าวหน่อยสิครับ พอดียังไม่ค่อยเข้าใจ

ครู อบจ. ครับ....

การวิเคราะหืค่าสหสัมพันธ์แบบเพียรสัน....

ผมขออนุญาตินำขึ้นใน blog เรื่องถัดไปนะครับ เพราะ รายละเอียดมากพอสมควรครับ....

ติดตามอ่านได้ครับผม....

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท