การประเมินงานวิจัย ( evaluation of Research ) ตอนที่ 2


การประเมินงานวิจัย ( evaluation  of  Research ) ตอนที่ 2

       สำหรับครั้งก่อนเราได้ศึกษาการประเมินคุณภาพของงานวิจัยในประเด็น  ชื่อหัวข้อปัญหาการวิจัย และความเป็นมาของปัญหา  ในครั้งนี้ผู้เขียนจะนำเสนอการประเมินคุณภาพในหัวข้อต่อไป ดังนี้ค่ะ

        ความสำคัญของการวิจัย

        ในการประเมินจะพิจารณาว่างานวิจัยนั้นมีคุณค่าในระดับวิชาการเพียงใด  โดยเฉพาะองค์ความรู้  (Body of  Knowlege)  นั้นมีคุณค่าในด้านทฤษฏี  ในศาสตร์ศึกษาหรือไม่  องค์ความรู้ที่ได้สามรถนำไปปฏิบัติได้มากน้อยเพียงใด

 

        ขอบเขตของปัญหาการวิจัย

         พิจารณาว่าปัญหาการวิจัยได้ระบุขอบเขตได้อย่างชัดเจนหรือไม่  มีการกำหนดตัวแปรต้น  ตัวแปรตาม  ครอบคลุมถึงสิ่งที่จะศึกษาเขียนไว้อย่างชัดเจนเพียงใด

 

       นิยามคำศัพท์เฉพาะ  การประเมินการนิยามคำศัพท์เฉพาะ เรามีประเด็นการประเมินดังนี้ค่ะ

          1.)  มีการนิยามตัวแปรและคำศัพท์ที่ใช้ในการวิจัยได้อย่างครบถ้วน  ถูกต้องและชัดเจนเพียงใด

          2.)  การนิยามคำศัพท์เชิงปฏิบัติการ  นิยามได้ถูกต้องและครบตามทฤษฏีที่ได้ศึกษาค้นคว้า และสรุปเอาไว้ในส่วนที่เป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องเพียงใด

          3.)  คำศัพท์หรือตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยมีการใช้โดยตลอดทั้งเล่มหรือไม่

 

       สมมติฐานการวิจัย 

           1.)  สมมติฐานการวิจัยมีแนวคิด  ทฤษฎี  หรือผลการวิจัยรองรับหรือไม่

           2.)  สมมติฐานการวิจัยสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัยหรือไม่

           3.)  สมมติฐานการวิจัยสามารถทดสอบได้หรือไม่

           4.)  สมมติฐานขัดกับความเป็นจริงหรือไม่

 

       เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง   

           1.)  การนำเสนอแนวคิด  ทฤษฏี  ตลอดจนผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องสอดคล้องกับปัญหาการวิจัยหรือไม่

           2.)  แนวคิดทฤษฏีและผลการวิจัยที่นำเสนอเพียงพอหรือไม่

           3.)  การนำเสนอแนวคิดทฤษฏีและผลการวิจัยได้นำเสนอโดยเชื่อมโยงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กับประเด็นปัญหาการวิจัยหรือไม่

           4.)  การนำเสนอแนวคิดทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องได้มีการจัดหมวดหมู่จัดลำดับและมีความสอดคล้องกับตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาหรือไม่

           5.)  ได้เชื่อมดยงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นกับตัวแปรตามอันจะนำไปสู่การตั้งสมมติฐานและกรแบแนวคิดการวิจัยหรือไม่

           6.)  ในการนำเสนอแนวคิดทฤษฏีและการวิจัยที่เกี่ยวข้องได้ระบุแหล่งที่มาหรืออ้างอิงหรือไม่

 

เอกสารอ้างอิง

บุญชม  ศรีสะอาด. (2543). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

รัตนะ บัวสนธ์. (2548).  ปรัชญาวิจัย (Philosophy of Research). กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 

หมายเลขบันทึก: 399154เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2010 13:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 20:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ตามาเชียร์การเรียนรู้ของอาจารย์
  • ขอให้มีความสุขกับการเรียนปริญญาเอกนะครับ

ขอบคุณมากค่ะ

ยอมรับว่าเหนื่อยกับการเรียนปริญญาเอกที่ใช้เวลาในการเรียนบางส่วน

แต่การเขียน Blog ทำให้เราได้ทบทวนความรู้ไปในตัว

ขอบคุณนะค่ะ ที่เข้ามาเป็นกำลังใจให้บ่อยๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท