ครูนอกระบบ
นาง ณัฐนิธิ อารีย์ อักษรวิทย์

<เล่าสู่กันฟัง>สาระที่น่าสนใจ ความรู้เกี่ยวกับพนักงานราชการ


น่าสนใจ

 

สาระที่น่าสนใจ

ความรู้เกี่ยวกับพนักงานราชการ

 
1. ระบบพนักงานราชการมีจุดเด่นในเรื่องของความคล่องตัวและความยืดหยุ่นในการจ้างบุคลากรประเภทหนึ่งของรัฐ

2. หลังจากประกาศใช้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. 2547 แล้ว ส่วนราชการไม่สามารถจ้างลูกจ้างประจำหรือลูกจ้างชั่วคราวได้ เนื่องจากอัตรากำลังที่เป็นความต้องการของส่วนราชการต้องเปลี่ยนเป็นพนักงานราชการ

3. สัญญาจ้างมีอายุสูงสุดไม่เกิน 4 ปี แต่ส่วนราชการสามารถต่อสัญญาได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความจำเป็นของงาน

4. พนักงานราชการจะได้รับสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับดีกว่าลูกจ้างชั่วคราวและใกล้เคียงกับลูกจ้างประจำ โดยพนักงานราชการจะได้รับค่าตอบแทนเป็นจำนวนเงินมากกว่า 20% เพื่อทดแทนสิทธิประโยชน์บางเรื่องที่ลูกจ้างประจำได้รับ เช่น บำเหน็จ เป็นต้น

5. ส่วนราชการจะสามารถจ้างพนักงานราชการได้ตั้งแต่ระเบียบนี้ถูกประกาศใช้ หากเป็นการจ้างเพื่อทดแทนอัตรากำลังลูกจ้างประจำที่เกษียณอายุ ซึ่งส่วนราชการมีงบประมาณค่าจ้างอยู่แล้ว แต่โดยทั่วไปส่วนราชการต้องจัดทำกรอบอัตรากำลังล่วงหน้าและต้องได้รับอนุมัติกรอบดังกล่าวแล้วจากคณะกรรมการบริหารราชการ

6. ระยะเวลาการจ้างพนักงานราชการ ขึ้นอยู่กับความจำเป็นของภารกิจของส่วนราชการ

7. เมื่อระเบียบฯ นี้ ได้ถูกประกาศใช้แล้ว ลูกจ้างประจำจะลาออกเพื่อเข้ามาเป็นพนักงานราชการได้ แต่ต้องผ่านกระบวนการสรรหาและเลือกสรรเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งเสียก่อน

8. กรณีที่ส่วนราชการจ้างบุคคลเข้ามาภายใต้ขอบข่ายงานที่กำหนดไว้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เมื่อหมดช่วงระยะเวลาการจ้างดังกล่าวแล้วส่วนราชการสามารถดำเนินการต่อสัญญาจ้างได้เลย เนื่องจากเป็นงานที่มีความต่อเนื่องจากงานเดิม

9. เมื่อมีการจ้างพนักงานราชการแล้วก็จะไม่มีการจ้างลูกจ้างประจำอีก

10. พนักงานราชการที่มีกำหนดสัญญาจ้าง หากลักษณะงานที่ปฏิบัติเป็นภารกิจหลัก มีระยะเวลานานและเป็นงานที่ต้องใช้ข้าราชการปฏิบัติ รวมทั้งได้ขอกำหนดให้มีตำแหน่งข้าราชการเพื่อปฏิบัติงานนั้น ผู้ที่เป็นพนักงานราชการต้องเข้าสอบแข่งขันที่ส่วนราชการเปิดสอบเพื่อรับการบรรจุแต่งตั้งเป็นข้าราชการ

11. ลูกจ้างประจำเข้าสู่พนักงานราชการจะได้รับสิทธิประโยชน์การรักษาพยาบาลจากการประกันสังคม หากกรณีจะใช้สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลของสามีหรือภรรยาที่รับราชการจะสามารถใช้ได้ แต่ต้องใช้ทางใดทางหนึ่ง

12. ลูกจ้างประจำเดิม จะมีส่วนเกี่ยวข้อง หากสมัครใจเข้าสู่ระบบพนักงานราชการ

13. ระเบียบกระทรวงการคลัง กำหนดให้งานบริการยานพาหนะต้องเป็นการจ้างเหมาเอกชน แต่หากเป็นพนักงานราชการมีคุณสมบัติตรงตามลักษณะงานของกลุ่มงานอื่น ๆ เช่น เทคนิค บริหารทั่วไป หรือตำแหน่งอื่นในกลุ่มบริการ รวมทั้งมีตำแหน่งพนักงานราชการว่างลง ก็สามารถเข้ารับการสรรหาจากส่วนราชการที่เปิดรับสมัครได้

14. การจ้างงานพนักงานราชการ เมื่อจัดกลุ่มแล้วอาจเทียบกับตำแหน่งข้าราชการหรือลูกจ้างประจำเดิมได้ดังนี้
- กลุ่มงานบริการ ( ตำแหน่งผู้ดูแลรับการสงเคราะห์ พี่เลี้ยงเด็ก พนักงานช่วยการพยาบาล พนักงานเขียนโฉนด )
- กลุ่มงานเทคนิค ( นายท้ายเรือกลลำน้ำ ช่างเครื่องเรือ ช่างกษาปณ์ พนักงานขับเครื่องจักร นาฏศิลปิน ช่างประณีตศิลป์ )
- กลุ่มงานบริหารทั่วไป ( เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน นิติกร บุคลากร พนักงานคุมประพฤติ นักวิชาการเกษตร นักวิชาการสาธารณสุข )
- กลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ ( นักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ เช่น ด้านกฎหมายด้านศิลปแขนงต่าง ๆ นักบิน )
- กลุ่มงานเชี่ยวชาญพิเศษ ( ที่ปรึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหารโครงการ )

15. อัตราการจ้างจะมีอัตราสูงกว่าระบบราชการถึง 20 % และความมั่นคงในระบบราชการตามการบริหารจัดการแนวใหม่ ที่เน้นผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงานอยู่ที่การทำงานได้ตามเป้าหมายและมีผลงานตามที่กำหนด ดังนั้นความมั่นคงทั้งในระบบข้าราชการ ลูกจ้างประจำหรือพนักงานราชการก็เหมือนกัน ตราบใดที่ยังปฏิบัติราชการได้เต็มตามสมรรถนะและมีผลงานเป็นที่ประจักษ์

16. กรณีเป็นข้าราชการเดิมและได้ลาออกแล้ว สามารถกลับมาสมัครเป็นพนักงานราชการได้ สำหรับการคัดเลือกอยู่ในรูปของคณะกรรมการที่ส่วนราชการจัดตั้ง ซึ่งจะต้องโปร่งใส และพร้อมรับการตรวจสอบ

17. ร่างระเบียบพนักงานราชการสำนักเลขาธิการ คณะรัฐมนตรีจะแจ้งเวียนส่วนราชการและดำเนินการจัดทำได้เลย เนื่องจากระบบพนักงานราชการมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2547 ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. 2547 และจะมีประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติออกมาภายในเดือน มกราคม 2547

18. ลูกจ้างชั่วคราวในปัจจุบันสามารถเข้าสู่ระบบพนักงานราชการเมื่อมีตำแหน่งว่าง และด้วยวิธีการสอบแข่งขัน

19. หากต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงสร้างตำแหน่ง และเงินเดือนแบบใหม่ สามารถสอบถามรายละเอียดได้ดังนี้.-
19.1 โครงสร้างตำแหน่งและลักษณะงาน คุณ ทองพูน ลิ่มมณี 0 2281 3333 ต่อ 2118
19.2 บัญชีอัตราเงินเดือน การให้รับเงินเดือน คุณ ลักษณา สิวะอมรรัตน์ 0 2281 3333 ต่อ 2412
19.3 การสรรหาและเลือกสรร คุณ พรเพ็ญ รตโนภาส 0 2281 3333 ต่อ 2163
19.4 การประเมินผล คุณ อนุกูล เสริมศรี 0 2281 3333 ต่อ 2149
19.5 วินัย คุณ เอกศักดิ์ ตรีกรุณาสวัสดิ์ 0 2281 3333 ต่อ 2120
19.6 สัญญาจ้าง คุณ ศรัณย์ พรไพศาลดี 0 2281 3333 ต่อ 2177
19.7 หนังสือเวียน คุณสมคิด อุปนันชัย 0 2281 3333 ต่อ 2191

20. วิธีการวัดสมรรถนะของบุคคล มีวิธีการที่หลากหลายให้เลือกใช้ เช่น การสอบข้อเขียน การสอบสัมภาษณ์ การทดสอบตัวอย่างงาน ซึ่งแต่ละวิธีมีข้อดี ข้อเสียที่แตกต่างกัน วิธีการวัดที่เป็นธรรมต้องสอดคล้องกับความต้องการของตำแหน่งโดยมีวิธีดำเนินการที่มีหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยจุดเด่นคือความโปร่งใสตรวจสอบได้

21. ถ้าจำเป็นต้องจ้าง (ข้าราชการ) ทำได้โดยการจ้างด้วยงบประมาณ หมวดค่าตอบแทนก็สามารถขอทำความตกลงกับกรมบัญชีกลางได้ แต่ถ้าเป็นการจ้างด้วยงบประมาณหมวดดำเนินการก็สามารถจ้างได้ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535

22. ส่วนราชการจะจัดทำกรอบอัตราค่าจ้างพนักงานราชการที่จะกำหนดด้วยว่าเป็นอัตราลูกจ้างชั่วคราวของเดิมจำนวนเท่าใด และนำมากำหนดเป็นพนักงานราชการในกลุ่มลักษณะงานใด ซึ่งหากมีตำแหน่งที่ตรงตามคุณสมบัติของลูกจ้างชั่วคราวเดิม ลูกจ้างชั่วคราวผู้นั้น ต้องเข้ารับการสรรหา ซึ่งส่วนราชการเปิดรับสมัครเป็นการทั่วไป ยกเว้นส่วนราชการอาจขอให้คณะกรรมการบริหารราชการพิจารณาให้มีการสอบคัดเลือกเฉพาะกลุ่ม ซึ่งคณะกรรมการจะพิจารณาโดยยึดหลักต่าง ๆ เช่น เหตุผล ความจำเป็น ความเป็นธรรม หลักการที่จะเปิดโอกาสทั่วไปให้ผู้มีคุณสมบัติตรงตามกำหนด

23. พนักงานราชการ ถ้าทำงานครบ 4 ปี จะมีการต่อสัญญาการจ้างในงานเดิม และรับเงินเดือน ขั้นเงินเดือนต่อเนื่องกัน

24. พนักงานของสำนักงานประกันสังคม จ้างด้วยเงินนอกงบประมาณไม่รวมอยู่ในระบบพนักงานราชการในขณะนี้ เนื่องจากคำว่า " พนักงานราชการ " ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. 2547 กำหนดว่าบุคคลซึ่งได้รับการจ้างตามสัญญาจ้างโดยได้รับค่าตอบแทน จากงบประมาณของส่วนราชการเพื่อเป็นพนักงานของรัฐในการปฏิบัติงานให้กับส่วนนั้น

25.Performance Pay คือการจ่ายค่าตอบแทนผลงานหรือผลสัมฤทธิ์ของงาน ผู้ที่ทำงานมากและได้ผลงานที่มีคุณค่ามากย่อมจะได้รับค่าตอบแทนมาก ส่วนผู้ที่ทำงานน้อย และได้ผลงานที่มีคุณค่าน้อย ย่อมได้ค่าตอบแทนน้อย
Competency Pay คือการจ่ายค่าตอบแทนตามสมรรถนะ หรือคุณลักษณะของบุคคล เช่น ความรู้ ทักษะ ทัศนคติของแต่ละบุคคลที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ของการทำงานของบุคคลนั้น

26.การพิจารณากำหนดค่าตอบแทน นอกจากพิจารณาตามขนาดของงาน สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานอัตราตลาดแล้ว ยังต้องคำนึงถึงความสามารถในการจ่ายของรัฐด้วย ซึ่งปัจจุบันรัฐจ่ายค่าตอบแทนสำหรับข้าราชการ 40 % ของงบประมาณแผ่นดิน แต่อย่างไรก็ตามหากระบบราชการที่จะเปลี่ยนแปลงไปเป็นการบริหารจัดการตามผลงาน ซึ่งจะมีผลกระทบทำให้ขนาดกำลังคนอาจลดลง การพิจารณาค่าตอบแทนตามอัตราตลาดก็จะใกล้เคียงกับเอกชนมากขึ้น

27. พนักงานราชการจะไม่มีบำเหน็จ บำนาญ แต่ได้เงินเดือนสูงกว่าข้าราชการ

28. การรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จะเป็นไปตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีกำหนด

29. ข้าราชการพลเรือนสามัญจะไม่เกี่ยวกับระบบพนักงานราชการ แต่ถ้าเป็นลูกจ้างประจำ หรือลูกจ้างชั่วคราว ซึ่งไม่ได้เปลี่ยนมาเป็นพนักงานราชการโดยอัตโนมัติ นอกจากสมัครใจและมีตำแหน่งพนักงานราชการ จะเข้ามาเป็นพนักงานราชการก็ต้องผ่านการเลือกสรรของส่วนราชการ ดังนั้นจึงไม่มีการจัดคนลง

30. พนักงานจ้างเหมา (พนักงานธุรการ บันทึกข้อมูล ) สามารถแปรสภาพกลายเป็นพนักงานราชการได้ แต่ต้องผ่านกระบวนการสรรหา และเลือกสรร ตามวิธีที่คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการกำหนด และมอบอำนาจให้ส่วนราชการดำเนินการ

31. ในการบริหารจัดงานส่วนราชการ ต่อไปงานในกลุ่มสนับสนุน อาจใช้พนักงานราชการเป็นผู้ปฏิบัติในกลุ่มงานบริการ โดยอาจนำตำแหน่งข้าราชการที่ว่างไปกำหนดเป็นพนักงานราชการ ส่วนตำแหน่งที่มีผู้ถือครองอยู่ เช่น ตำแหน่งที่ถามว่าก้าวหน้าไปอย่างไรนั้น ตามที่ก.พ.กำหนดในขณะนี้คือ พนักงานธุรการ กำหนดให้เริ่มตั้งแต่ระดับ 2 และเลื่อนได้ถึงระดับ 4 ส่วนจะเป็นระดับ 5 หรือระดับ 6 ก็ขึ้นกับคุณภาพและปริมาณงานของตำแหน่ง

32. ลูกจ้างประจำถ้าเข้าสู่พนักงานราชการ ต้องลาออกจากการเป็นลูกจ้างประจำและได้รับสิทธิประโยชน์ตามระเบียบกระทรวงการคลังกำหนด ยกเว้นคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการจะได้กำหนดเป็นอย่างอื่น

33. เรื่องของสหกรณ์ออมทรัพย์ มีข้อแก้ไขสำหรับพนักงานราชการดังนี้
33.1 สหกรณ์ออมทรัพย์ของส่วนราชการ สามารถปรับปรุงระเบียบของสหกรณ์เพื่อให้พนักงานราชการเป็นสมาชิกของสหกรณ์ได้
33.2 ถ้าสหกรณ์ออมทรัพย์ของส่วนราชการใดมีระเบียบกำหนดว่า สมาชิกของสหกรณ์ออมทรัพย์ รวมถึงอดีตข้าราชการและอดีตลูกจ้างประจำของส่วนราชการก็จะยังมีฐานะเป็นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ของส่วนราชการนั้นต่อไปแม้จะไม่มีการแก้ไขระเบียบ
33.3 การให้กู้ยืมเงินแก่สมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ที่มีฐานะเป็นพนักงานราชการต้องมีข้อกำหนดที่คำนึงถึงระยะเวลาการจ้าง หรือหลักทรัพย์ที่ผู้กู้ยืมนำมาคำประกันด้วย

 ที่มา http://www.navy.mi.th/dockyard/dock_sara.htm

 

 

คำสำคัญ (Tags): #สาระ
หมายเลขบันทึก: 399129เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2010 13:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:51 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท