การเขียนรายงานฉบับสมบูรณ์ (ประเภทการเขียนรายงานวิจัยเชิงปริมาณ)


การเขียนรายงานฉบับสมบูรณ์

       การเขียนรายงานวิจัยในลักษณะนี้มักเป็นการเขียนเพื่อประกอบการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา  ซึ่งมีรูปแบบการเขียนที่ค่อนข้างจะเป็นมาตรฐานที่ใช้กันทั่วไป

       ในที่นี้ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงองค์ประกอบที่สำคัญ โดยแยกเป็นการเขียนรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ที่ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ  ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ และระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ตามลำดับนะค่ะ

        1.  การเขียนรายงานวิจัยเชิงปริมาณ

รายงานวิจัยประเภทนี้จะมีอยู่เป็นจำนวนมากและเป็นที่รู้จักคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี  ซึ่งจะมีลักษณะการเขียนแบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่  ส่วนหน้า  ส่วนเนื้อหา  และส่วนท้าย
       ส่วนหน้า
            - ปก : ปกหน้า ปกใน
            - หน้าอนุมัติ (ถ้ามี)
            - บทคัดย่อ : ภาษาไทย อังกฤษ

            - คำนำและ/หรือ กิตติกรรมประกาศ
            - สารบัญ : สารบัญเรื่อง  สารบัญตาราง  และสารบัญภาพ

     ส่วนเนื้อหา
          บทที่ 1 บทนำ
                  - ความเป็นมาของปัญหาวิจัย
                  - คำถามวิจัย
                  - วัตถุประสงค์การวิจัย
                  - ความสำคัญของการวิจัย/ ผลที่คาดว่าจะได้รับ
                  - สมมติฐาน (ถ้ามี)
                  - ขอบเขตของการวิจัย (ตัวแปรและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง)
                  - ข้อตกลงเบื้องต้น (ถ้ามี)
                  - นิยามศัพท์เฉพาะ (โดยเฉพาะตัวแปรตาม หรือข้อความที่ต้องการสื่อความโดยไม่ต้องการเขียนภายในเล่มยาว ๆ)
                  - ความไม่สมบูรณ์ของงานวิจัย (ถ้ามี)   ซึ่งเป็นสิ่งที่ผิดพลาดจากงานวิจัย  เรามักจะเขียนตอนทำวิจัยเสร็จแล้ว
          บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
                  - แนวคิด/ทฤษฎี
                  - สาระสำคัญ
                  - งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (เขียนเรียงตามปีเพื่อให้เห็นถึงพัฒนาการงานวิจัยเรื่องดังกล่าว)
                        -  งานวิจัยในประเทศ
                        -   งานวิจัยต่างประเทศ
          บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
                  - ประชากร
                  - กลุ่มตัวอย่างและวิธีการสุ่ม
                  - เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
                  - วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
                  - การวิเคราะห์ข้อมูล
                  - สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
          บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
                  เขียนแยกเป็นตอนตามลำดับของวัตถุประสงค์ (จุดมุ่งหมาย) นิยมเสนอในรูปแบบของตารางและภาพ พร้อมกับอธิบายใต้ตารางหรือใต้ภาพ
          บทที่ 5 สรุป อภิปราย และข้อเสนอแนะ (เป็นส่วนที่สามารถอ่านแล้วทำความเข้าใจเกี่ยวกับงานวิจัยได้ทั้งหมด)
                  - สรุปผลการวิจัย
                  - อภิปรายผลการวิจัย
                  - ข้อเสนอแนะ
                         -  ข้อเสนอแนะในการนำผลวิจัยไปใช้
                         -  ข้อเสนอแนะในการศึกษาวิจัยต่อ

     ส่วนท้าย

                  - บรรณานุกรมหรือส่วนอ้างอิง
                  - ภาคผนวก
                  - ประวัติผู้วิจัย
ครั้งต่อไปผู้เขียนจะได้นำประเด็นการเขียนรายงานวิจัยเชิงคุณภาพค่ะ 

    
เอกสารอ้างอิง

รัตนะ บัวสนธ์. (2551).  ปรัชญาวิจัย (Philosophy of Research). กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรุณี  อ่อนสวัสดิ์. (2553).  เอกสารประกอบการบรรยาย วิชา ระเบียบวิธีวิจัยขั้นสูง (390611).พิษณุโลก. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

หมายเลขบันทึก: 399100เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2010 11:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 19:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท