บริหารงานด้วยการมองโลกอย่างปัจเจกภาพ V.S. สมุหภาพ


คิดแบบแยกส่วน มองจากจุดเล็กๆ เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง ไม่ค่อยสนใจสิ่งรอบข้าง หรือจะมองโลกเป็นหนึ่งเดียว ทุกสิ่งทุกอย่างมีความเชื่อมโยงกัน เกี่ยวเนื่อง เกี่ยวพันกัน

 

“ปัจเจกภาพ” และ “สมุหภาพ” คำสองคำนี้ ดูเหมือนเป็นศัพท์แสงทางวิชาการที่หลายคนฟังแล้วอาจรู้สึกว่าเข้าใจยาก จริงๆ แล้วผมคิดว่าสองคำนี้ ก็เป็นคำที่มีความหมายอยู่ในตัวเองอย่างชัดเจนอยู่แล้ว แรงบันดาลใจที่ผมมาเขียนบันทึกเกี่ยวกับคำสองคำนี้มาจาก การที่ผมได้อ่านหนังสือของคุณวิศิษฐ์  วังวิญญู ชื่อ “โลกปัญญาจิตที่วิศษฐ์ลิขิตเอง” ในเรื่องที่เกี่ยวกับองค์ความรู้และแนวคิดในการจัดการศึกษาของสำนักวอลดอร์ฟ ในเนื้อหาของสมอง 3 ส่วน กับปัญญา 3 ฐาน คุณวิศิษฐ์ ได้กล่าวถึงความแตกต่างระหว่าง 2 แนวคิดนี้ไว้ โดยเปรียบเทียบจากวัฒนธรรมในบริบทของความเป็นโลกตะวันตกและโลกตะวันออก ในโลกตะวันตกจะให้ความสำคัญในเรื่อง“ปัจเจกภาพ” มากกว่า “สมุหภาพ” คือ คิดแบบแยกส่วน มองจากจุดเล็กๆ เอาตัวเองเป็นศูนย์กลางไม่ค่อยสนใจสิ่งรอบข้าง แต่ในทางตะวันออกจะมองโลกเป็นหนึ่งเดียว ทุกสิ่งทุกอย่างมีความเชื่อมโยงกัน เกี่ยวเนื่อง เกี่ยวพันกัน

 

 

ภาพจาก http://www.wongnamcha.com/index.php?option=com_content&task=view&id=261&Itemid=88888923

 

จากตัวอย่างเรื่องการทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัว ทางตะวันตกจะใช้คำว่า “สิ่งแวดล้อม” หมายถึงสิ่งต่างๆที่อยู่รอบๆ ตัวเรา เราสามารถจัดการได้ มองการใช้ทรัพยากรรอบตัวให้เกิดประโยชน์สูงสุด แต่ทางตะวันออกใช้คำว่า” นิเวศน์” หมายถึง เราเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศน์ ซึ่งต้องมีความสมดุลกัน จะมีสิ่งใดมากไปหรือน้อยไปไม่ได้ ระบบต้องมีความเกื้อกูลกันเป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน เมื่อมีสิ่งหนึ่งกระทบ ก็จะถูกกระทบไปทั้งระบบนิเวศน์ ดังคำกล่าวที่ว่า “เด็ดดอกหญ้าสะเทือนถึงดวงดาว” ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดจะเห็นได้จากฉากหนึ่งของหนังเรื่อง “Time Line ข้ามมิติฝ่าเวลาวิกฤตอันตราย” ที่คนในยุคปัจจุบันเดินทางย้อนเวลากลับไปยังยุคไดโนเสาร์ Jurassic ขากลับไปเหยียบเอาผีเสื้อติดรองเท้ามา เมื่อกลับมาถึงยุคปัจจุบัน ปรากฏว่าเกิดเรื่องเลวร้ายที่ไม่คาดฝันขึ้น นั่นแสดงว่าเพียงแค่เราฆ่าผีเสื้อตัวเดียวจากยุคอดีตแล้วนำมันกลับมาสู่ยุคปัจจุบันอย่างไม่ตั้งใจ ก็ทำให้โลกเปลี่ยนไปได้ถึงขนาดนี้ได้

 

 

ภาพจาก http://fws.cc/itsmovies/index.php?topic=102.0

 

ผมได้นำแนวคิด “ปัจเจกภาพ” และ “สมุหภาพ” ที่คุณวิศิษฐ์ได้อธิบายไว้นี้ ไปเชื่อมโยงใช้กับการทำงาน พบว่าหลายคนในองค์กรยังมีความคิดเห็นแตกต่างกัน กลุ่มที่มีความคิดไปทาง “ปัจเจกภาพ” มองว่าการทำงานต้องทำงานในส่วนของตัวเองให้ดีที่สุดและช่วยเหลือตัวเองให้ได้เสียก่อนแล้วค่อยไปช่วยเหลือคนอื่นเปรียบเทียบกับอุปสรรคของงานคือแม่น้ำ เราต้องเอาตัวเองให้รอดก่อน เช่น หากิ่งไม้ ท่อนซุงยึดเกาะไว้ก่อนหลังจากนั้นค่อยคิดหาทางช่วยคนอื่นต่อไป มิฉะนั้นอาจกอดคอกันจมน้ำตายได้ ส่วนคนที่มองแบบ “สมุหภาพ” มองว่าการทำงานก็คือการร่วมมือร่วมใจกัน งานไม่ใช่ของกลุ่มใด คนใดคนหนึ่ง งานคือความสำเร็จขององค์กร มองผลประโยชน์ความสำเร็จขององค์กรคือเป็นเป้าหมายเดียวกัน เมื่อองค์กรประสบความสำเร็จ ตัวพนักงานก็ประสบความสำเร็จด้วยโดยปริยาย ผมขออนุญาตยกตัวอย่างจากเหตุการณ์ในองค์กรของผมกับปัญหาของส่วนงานหนึ่ง (Division A) ที่มีหน้าที่ในการจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อช่วยเหลือสนับสนุนการทำงาน เจ้าของหน่วยงานพบว่าหน่วยงานของเขามีค่าใช้ในส่วนนี้จ่ายสูงมาก จึงต้องหาทางลดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้โดย ให้ส่วนงานอื่นๆ (Division B-Z) ที่มาขอความช่วยเหลือให้ของบประมาณกันเอาเอง จากเหตุการณ์นี้ ถ้ามองแบบ “ปัจเจกภาพ” จะเห็นว่า (Division A) สามารถประหยัดงบประมาณไปได้ แต่ส่วนงานอื่นๆ (Division B-Z) มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ถ้ามองแบบ “สมุหภาพ” จะพบว่า ถึงแม้ส่วนงานอื่นๆ (Division B-Z) จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น แต่โดยเฉลี่ยแล้ว องค์กรยังคงมีค่าใช้จ่ายเท่าเดิม

 

จากตัวอย่างดังกล่าว ผมคิดว่าประเด็นที่ควรมองคือผู้บริหารสูงสุดในองค์กรต้องพิจารณาเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายระหว่าง Division A กับส่วนงานอื่นๆ (Division B-Z) มีผลแตกต่างกันหรือไม่ โดยเปรียบเทียบกับผลลัพท์ที่ได้ตามประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานในภาพรวมความสำเร็จขององค์กร รวมถึงต้นทุนต่างๆให้ครอบคลุมทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนทางรูปธรรม (เงินทอง/ทรัพย์สิน) และต้นทุนทางนามธรรมเช่น ต้นทุนคน (Human Capital) ต้นทุนสังคม (Social/Collaboration Capital) เป็นต้น ทั้งนี้ต้องพิจารณาแบบภูเขาน้ำแข็งด้วยคือพิจารณาทุนและผลลัพท์ที่อยู่ใต้ภูเขาน้ำแข็งที่ไม่สามารถมองเห็นด้วย

 

หมายเลขบันทึก: 399096เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2010 11:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤษภาคม 2012 20:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

   ผมว่าสำคัญที่ผู้บริหารองค์กรสูงสุดครับ ว่าจะมีมุมมองในการบริหารองค์กรแบบใด

                           ปัจเจกภาพ  หรือ สมุหภาพ

     แต่ส่วนใหญ่ มักจะมองเป็นส่วนๆ ครับ ไม่สามารถนำมาเชื่อมโยงกันได้

                  ผมนึกถึงเกมองค์กรเกมหนึ่งครับ   ผมได้ไปเล่นมา

      ให้ทุกคนยืนล้อมวงเป็นวงกลม  และให้แต่ละคน  หมายตาคนอื่นไว้อีก 2 คน โดยไม่ให้เขารู้   โดยคนที่หมายตาไว้สองคน  ต้องยืนให้มีระยะห่างใกล้เคียงกับสามเหลี่ยมด้านเท่า  ระหว่างคนสองคนกับตัวเรา

      เมื้อหมายตาไว้เรียบร้อย   ผู้นำเกมสั่งให้ทุกคนเคลื่อนที่   โดยที่เมื่อเคลื่อนที่ไปแล้ว ให้รักษาระยะห่างสองคนที่หมายตาไว้ ให้เป็นสามเหลี่ยมด้านเท่าให้ได้

     ขยับตัวนิดเดียว  ก็เกิด Chaos เลยละครับ  มีแต่ความโกลาหล ประมาณว่าผีเสื้อกระพือปีกก็กระหน่ำถึงครึ่งโลก

    เกมนี้ให้ข้อคิดหลายอย่างครับ โดยเฉพาะ สมุหภาพ

                         ขอบคุณครับ

ขอบคุณท่าน Ico32 small man ที่เอาเกมที่เชื่อมโยงไปยังเรื่อง Chaos มาฝาก ขออนุญาตนำไปใช้นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท