เรื่องเล่าความสำเร็จ จากงาน KKU Show & Share 2010


เมื่อวาน ได้มีโอกาสเข้าร่วมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามโครงการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาการปฏิบัติงานที่สนับสนุนยุทธศาสตร์ การพัฒนามหาวิทยาลัยขอนแก่นจากแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศของผู้ได้รับรางวัลจากเวทีการแสดงความภาคภูมิใจและความสำเร็จ The 4th KKU Show and Share  2010  ในวันที่ 27 กันยายน 2553  เวลา  08.00-12.00 น.  ณ ห้องฝึกอบรม ชั้น 2  อาคารสิริคุณากร  สำนักงานอธิการบดี ตึกใหม่

งานนี้ ท่านรองอธิการบดีฝ่ายแผนและสารสนเทศ ท่านอาจารย์รังสรรค์ เป็นผู้เปิดงาน

เกริ่นด้วยท่าน JJ

งานนี้มีการบันทึกเทปด้วยนะคะ

            งานนี้ได้ให้ผู้ที่ชนะการประกวดรางวัลที่ ๑ – ๓ ได้มาเล่าความเป็นมาของผลงาน

ผลงานแรกเป็นของทีมงานคณะเภสัชศาสตร์ ของคุณวาสนา  ถวิลเชื้อ , นางวรรธนา  แพงเพ็ง , นางสาวจันทรัมพร ขจรมณี 

ผลงานชื่อ "การพัฒนาระบบงาน ด้านทะเบียนประวัติการซ่อมครุภัณฑ์ (History of Maintenance)  โดยการนำเอาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการปฏิบัติงาน"  

ทีมงาน ได้นำเอา Program Access มาเขียนโปรแกรมเพื่อง่ายในการหาข้อมูลให้กับผู้บริหาร คือโปรแกรมนี้ สามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับการซ่อมครุภัณฑ์ ถือว่ามีประโยชน์มาก เพราะในการที่ผู้บริหารจะอนุมัติการซ่อมโดยเฉพาะการซ่อมที่มีราคาสูง ย่อมต้องการข้อมูลว่า ครุภัณฑ์อะไร น่าตาเป็นอย่างไร (มีรูปครุภัณฑ์ประกอบด้วย) ซื้อมาเมื่อไร ซ่อมมาแล้วกี่ครั้ง ซ่อมอะไรบ้าง ค่าซ่อมที่ผ่านมาราคาเท่าไร มีอายุการประกันทั้งจากการซื้อมาใหม่และประกันการซ่อมนานเท่าไร เมื่อไรจะหมดอายุการซ่อม ยังอยู่ในประกันไหม นับว่ามีประโยชน์มาก น่าชื่นชมค่ะ

            ผลงานที่สอง เป็นของทีมงานคณะวิศวกรรมศาสตร์ ชื่อผลงาน "การจัดสรรค่าธรรมเนียมการศึกษาแบบทันเวลา

    เจ้าของผลงาน/สังกัด:งานนโยบายและแผน  คณะวิศวกรรมศาสตร์  

ประเภทผลงาน: ด้านบริหารจัดการองค์การที่ดี  (GG)

เป็นการนำเอา Program Access มาเขียนโปรแกรมเหมือนกัน แต่เป็นโปรแกรมเกี่ยวกับการคำนวณรายได้จากค่าธรรมเนียม ทีมงานเล่าว่าโปรแกรมนี้เกิดจากปัญหา คือ ทุกข์ จากการที่คณะต่างๆจะได้รับทราบรายได้จากค่าธรรมเนียมในช่วงเกือบสิ้นปีงบประมาณซึ่งบางครั้งไม่สามารถใช้งบประมาณได้ทัน ทั้งที่ก่อนหน้าจะรับทราบรายได้ในส่วนนี้ บางหน่วยงานต้องประสบกับปัญหางบประมาณหมด ไม่พอใช้จ่ายแม้จะมีรายจ่ายที่จำเป็น มีรายละเอียดการคิดคำนวณไปจนถึงรายวิชาเพื่อแบ่งกระจายรายได้ลงได้ถึงสาขาวิชา เพราะคณะวิศวกรรมศาสตร์มีหลายสาขาวิชา

            ผลงานที่สาม ชื่อผลงาน "เครื่องมือการเติมและเปลี่ยนถ่ายน้ำยาแช่ดองในกล่องพิพิธภัณฑ์พยาธิวิทยา (Museum)"
    
เจ้าของผลงาน/สังกัด: นายสังคม จันทะ นางพันเพชร น้อยเมล์ นายสมบูรณ์ มาตุ้ม นางพรลภัส โสดาสร้อย และนางสำเนียง เลี้ยวประเสริฐ  ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์   

ประเภทผลงาน: ด้านบริการนักศึกษา/การจัดการเรียนการสอน/การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร  (SD)

เป็นผลงานการทำกล่องเก็บดองชิ้นเนื้อ ของทีมงานคณะแพทยศาสตร์ ของคุณ สังคม  จันทะ และทีมงาน คุณสังคม เล่าว่า ได้ประดิษฐ์กล่องสำหรับเก็บชิ้นเนื้อ หรืออวัยวะ เพื่อส่งให้ภาควิชาพยาธิวิทยาใช้ในการเรียนการสอนของนักศึกษาแพทยศาสตร์ จึงคิดกล่องใส่ชิ้นเนื้อที่สามารถเปลี่ยนน้ำยาฟอร์เมอรินได้ จากเครื่องปั๊มดูดเปลี่ยนถ่ายและเติมน้ำยา(๙งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้จากโรงพยาบาลศรีนครินทร์) ที่ใช้ได้อย่างสะดวก ใช้เวลาในการเปลี่ยนถ่ายน้ำยาน้อย โดยน้ำแช่ไม่ขุ่นข้นจนมองชิ้นเนื้อไม่ชัด การเก็บชิ้นเนื้อบางชิ้นเป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากบางชิ้นเนื้อไม่สามารถหาดูรอยโรคบางชนิดได้ง่าย มีปรากฎการณ์เช่นนั้นน้อย หาชิ้นเนื้อเสียหาย เป็นเรื่องน่าเสียดาย

            งานนี้โชคดีที่คณะฯได้สนับสนุนให้หลายท่านไปร่วมงาน เพราะการเล่าเรื่องดีๆผ่านความสำเร็จของทีมงานที่ทำงานสำเร็จแล้ว เรายังอาจจะนำผลงานต่างๆเหล่านี้ไปพัฒนาต่อยอดได้อย่างดีค่ะ คงเรียกได้ว่า เรื่องเล่าเร้าพลัง ค่ะ

หมายเลขบันทึก: 399001เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2010 06:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 03:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ

แวะมาอ่านเรื่องเล่าเร้าพลัง  ขอชื่นชมและเป็นกำลังใจให้คุณใบบุญ และทุก ๆ ท่านนะคะ  ขอให้ทำงานอย่างมีความสุขค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณครู ขอบคุณกำลังใจและการมาเยี่ยมเยือน คุณครูสบายดีนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท