6 เวลาพิเศษสำหรับดนตรีบำบัด


  การดำเนินชีวิตในปัจจุบัน หลีกเลี่ยงไม่ได้คือความเครียด ไม่ว่าจะวันไหน อาชีพอะไร ถ้าเป็นผู้ที่มีทักษะชีวิตดี รู้และมีวิธีกำจัดเหตุและบรรเทาที่มาของความเครียดก็จะโชคดี มีความสุขในการดำเนินชีวิต บางท่านไม่ใส่ใจและไม่หาวิธีก็เป็นอุปสรรคในการเรียรนและทำงาน ทำให้ประสิทธิภาพด้านต่างๆลดลงหรือไม่เต็มศักยภาพ เท่าที่ควรจะเป็น เคยอ่านพบวิธีง่ายๆที่ทุกคนสามารถนำมาใช้ได้ อย่างมีประสิทธิภาพและใช้ได้ในทุกสถานการณ์ เลือกใช้ดนตรีให้เหมาะสมและเป็นประโยชน์ ตามโอกาสและสถานการณ์ดังนี้

1.ฟังเพลงเวลาอาบน้ำตอนเช้า โดยใช้วิทยุ / เครื่องเล่นCDเครื่องเล็กๆ เปิดเพลงใสๆ   กระชับ และมีชีวิตชีวา กระปรี้กระเปร่า จะกระตุ้นให้เริ่มต้นวันใหม่อย่างสดชื่น อารมณ์ดีไปทั้งวัน

2.ฟังเพลงในที่ทำงาน จากการวิจัยพบว่า การเปิดเพลงเบาๆในที่ทำงาน ช่วยเพิมประสิทธิภาพในการทำงานให้ดีขึ้น ดีกว่าการทำงานในบรรยากาศที่เงียบเกินไป แต่เพลงที่ฟังควรเป็นเพลงช้าๆ หรือเพลงบรรเลง จะทำให้บรรยากาศสดชื่น และสร้างสมาธิในการทำงาน

3.ฟังเพลงเวลาสบายๆ ไม่ต้องใช้ความคิดมาก ไม่เร่งรีบ ไม่เคร่งเครียด จะทำให้การฟังเพลงรื่นรมย์ที่สุด เช่น ขณะพักผ่อน ทำงานบ้าน ก่อนนอน ฯลฯ การที่เราได้ฟังเพลงที่ชอบและไพเราะเสมอๆ ทำให้ร่างกายหลั่งสารแห่งความสุข เอนดอร์ฟิน ซึ่งทำให้ไม่เครียด และสร้างภูมิคุ้มกันร่างกาย

4.ฟังเพลงเวลาออกกำลังกาย เรามักเปิดเพลงเวลาออกกำลังกายไปด้วย เพราะทำให้เพลิดเพลินและสนุก จังหวะเร็วกระชับของเพลง กระตุ้นให้อยากออกกำลังกาย จากการศึกษาพบว่า การเปิดเพลงจะช่วยให้เราออกกำลังได้นานขึ้น จึงทำให้การออกกำลังกายมีประสิทธิภาพมากขึ้น แถมเพลงยังมีส่วนช่วยเพิ่มอัตราเต้นของชีพจรและหัวใจ ความดันโลหิต และกระตุ้นอัตราการเผาผลาญพลังงานให้ดีขึ้น วิธีเลือกเพลงสำหรับการออกกำลังกาย ให้เริ่มเพลงจังหวะปานกลางสำหรับวอร์มร่างกาย จากนั้นจึงเริ่มจังหวะเร็วขึ้นตามลำดับ และกลับมาเป็นจังหวะปานกลางในที่สุด เพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัว

5.ฟังเพลงเวลารัปทานอาหาร ดนตรีไพเราะฟังเพลงสบายๆระหว่างมื้ออาหาร ทำให้ช่วยย่อยอาหาร เพราะดนตรีมีผลต่อการหดตัวของผนังลำไส้ เมื่อรัปทานอาหารแล้ว มีการย่อยที่ดี ก็ส่งผลให้ร่างกายส่วนอื่นๆดีไปด้วย สุขภาพจึงแข็งแรง

6.ฟังเพลงเวลาทำสมาธิ ลองนำเพลงมาใช้ประโยชน์ในการนั่งสมาธิ โดยเลือกเสียงเพลงจากธรรมชาติ เสียงคลื่นทะเล เสียงนก หรือบทเพลงสวดมนต์ การฟังเพลงทำให้สมาธิเราดีขึ้น เพราะเบี่ยงเบนความสนใจของเราให้ไปจดจ่อกับดนตรี จังหวะของดนตรียังช่วยให้เรากำหนดลมหายใจสม่ำเสมอ จึงช่วยให้สงบเยือกเย็น ขณะทำสมาธิ

 

หมายเลขบันทึก: 398482เขียนเมื่อ 26 กันยายน 2010 13:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 14:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

แวะมาให้กำลังใจให้คุณยงยศหายป่วยไวๆ รักและคิดถึงเสมอ ขอบคุณมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท