เกณฑ์การตัดสินการแข่งขันโดยใช้โปรแกรม GSP


เกณฑ์การตัดสินการแข่งขันโดยใช้โปรแกรม GSP น่าจะเป็นงานศิลปหัตถกรรม ซึ้งแต่ละจังหวัดก็แข่งไม่พร้อมกัน           อาจยังมีรายละเอียดไม่มากนัก ใครมีรายละเอียดมากกว่านี้ก็ส่งมาครับ 

 ผลงานสร้างสรรค์คณิตศาสตร์โดยใช้โปรแกรม GSP

 1. คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน

1.1 นักเรียนระดับชั้น ป.4-ป.6

1.2 นักเรียนระดับชั้น ม.1-ม.3

1.3 นักเรียนระดับชั้น ม.4-ม.6

 2. ประเภทและจำนวนผู้เข้าแข่งขัน

2.1 แข่งขันประเภททีม ทีมละ 2 คน

2.2 จำนวนผู้เข้าแข่งขัน ระดับชั้นละ 1 ทีม

 3. วิธีดำเนินการแข่งขัน และรายละเอียดหลักเกณฑ์การแข่งขัน

3.1 ส่งรายชื่อนักเรียนผู้เข้าแข่งขัน ทีมละ 2 คน พร้อมชื่อครูผู้ฝึกสอน 1 คน ตามแบบฟอร์ม ที่กำหนด

3.2 กำหนดโจทย์การแข่งขัน จำนวน 5 ข้อ ข้อละ 20 คะแนน รวมคะแนนเต็ม 100 คะแนน

3.3 เวลาที่ใช้แข่งขัน ใช้เวลา 1 ชั่วโมง 30 นาที

 4. เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 100 คะแนน กำหนดรายละเอียด ดังนี้

4.1โจทย์แก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยใช้ GSP จำนวน 4 ข้อ ข้อละ 20 คะแนน รวม 80 คะแนน ซึ่งแต่ละข้อใช้เกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้

1) ความสมบูรณ์และถูกต้องของผลงาน 10 คะแนน

2) ขั้นตอนไม่ซับซ้อน 5 คะแนน

3) ความสวยงาม (รูปร่าง รูปทรง สี และความสมดุลของภาพ) 5 คะแนน

4.2โจทย์กำหนดให้ใช้เครื่องมือที่กำหนดให้สร้างสรรค์งานคณิตศาสตร์ จำนวน 1 ข้อ

20 คะแนน

1) มีความเป็นพลวัต(เคลื่อนที่ เคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงรูปร่างได้)มีแนวคิดริเริ่มสร้างสรรค์10 คะแนน

2) มีการนำเสนอที่สื่อความหมายได้สอดคล้องและเชื่อมโยงกันอย่างต่อเนื่อง 10 คะแนน

5. เกณฑ์การตัดสิน

ร้อยละ 80 - 100 ได้รับรางวัลระดับเหรียญทอง

ร้อยละ 70 – 79 ได้รับรางวัลระดับเหรียญเงิน

ร้อยละ 60 – 69 ได้รับรางวัลระดับเหรียญทองแดง

ต่ำกว่าร้อยละ 60 ได้รับเกียรติบัตร เว้นแต่กรรมการจะเห็นเป็นอย่างอื่น

ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นสิ้นสุด

6. คณะกรรมการการการแข่งขัน ระดับชั้นละ 3 – 5 คน

คุณสมบัติของคณะกรรมการ

- เป็นศึกษานิเทศก์ที่รับผิดชอบกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

- เป็นครูที่สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์มีความเชี่ยวชาญโปรแกรม GSP

- ผู้ทรงคุณวุฒิในด้านคณิตศาสตร์

ข้อควรคำนึง

- กรรมการต้องไม่ตัดสินในกรณีสถานศึกษาของตนเข้าแข่งขัน

- กรรมการที่มาจากครูผู้สอนควรแต่งตั้งให้ตัดสินในระดับชั้นที่ทำการสอน

- กรรมการควรมีที่มาจาก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอื่นหรือหน่วยงานอื่นอย่างหลากหลาย

- กรรมการควรให้ข้อเสนอแนะเติมเต็มให้กับนักเรียนที่ชนะในลำดับที่ 1-3

สถานที่ทำการแข่งขัน

ควรใช้ห้องคอมพิวเตอร์ ที่สามารถดำเนินการแข่งขันได้พร้อมกัน

7. การเข้าแข่งขันระดับชาติ

7.1 ผู้ที่ได้คะแนนสูงสุด ลำดับที่ 1 - 3 จากการแข่งขันระดับภาคจะได้เป็นตัวแทนเข้าแข่งขัน

ในระดับชาติ

7.2 ในกรณีที่มีผู้ชนะลำดับสูงสุดได้คะแนนเท่ากันมากกว่า 3 ทีม ให้พิจารณาลำดับที่ตามลำดับข้อของ

การให้คะแนน เช่น มีผู้ที่ได้คะแนนข้อที่ 1 เท่ากันให้ดูคะแนนข้อที่ 2 ผู้ใดได้คะแนนข้อที่ 2 มากกว่าถือเป็น

ผู้ชนะแต่ถ้าข้อที่ 2 เท่ากัน ให้ดูคะแนนในข้อถัดไป กรณีคะแนนเท่ากันทุกข้อให้ใช้วิธีจับฉลาก

ข้อเสนอแนะในการต่อยอดในระดับชาติ ควรต่อยอดโดยการจัดค่ายพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์และโปรแกรม GSP__

คำสำคัญ (Tags): #gsp
หมายเลขบันทึก: 397536เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2010 23:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 15:41 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ทำไมไม่มีวิธีการสร้างต้นไม้

ขอบคุณมากค่ะ เข้าบล็อกนี้แล้วได้ความรู้เพิ่มเยอะเลยค่ะ

ทำไมไปแข่งไม่เห็นเหมือนกันเลยให้คะแนนเท่ากันหมดเลยและก็ยากด้วย

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท