ComMedSci ι เรียนรู้การทำงานของทีมงาน รพ.สต.กระบาก ตอนที่ 4 เข้าบทเรียน


เรื่องฝากจากพี่อ้อ ต่อกันเลยนะคะ

 

การเรียนรู้การทำงาน  รพ.สต.กระบาก 

ตอนที่  4  เข้าบทเรียน 

 

          ผู้เข้าร่วมให้การเรียนรู้มี  อบต. จำนวน  8  คน  นำทีมโดย  ท่านรองนายก  และนักพัฒนาชุมชน  อสม.  5  คน  เจ้าหน้าที่  รพ.สต.  2 คน ประชาชนที่ใช้ยาแผนโบราณ 1 คน  และเจ้าหน้าที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ ๖  (ขอนแก่น)  จำนวน  3  คน 

ประเด็นแรกที่ทางศูนย์วิทย์ ฯ  บอกกับทุกคนที่เข้าร่วมประชุมว่าใครต้องการจะเล่าเกี่ยวกับประสบการณ์ที่ทุกคนได้รับมาในการใช้ชุดทดสอบสเตียรอยด์ หรือการทำงาน  เกี่ยวกับอะไรก็ได้ที่ต้องการจะสื่อสารให้เรารับรู้ 

มีตัวแทน  อสม.ทองคำ  ชัยโย  :  

คุณแม่ของดิฉันอายุมากแล้ว  ก็ปวดตามข้อ  ตามแขนขา เมื่อยเนื้อเมื่อยตัว  ก็เลยใช้ยาแผนโบราณ ต้องการให้หายจากโรคนี้ที่ไหนว่าดีก็ไปลองหาซื้อมาทาน  ซึ่งผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักจะใช้ยาแผนโบราณเนื่องจากมีอาการปวดตามข้อต่าง ๆ ทานข้าวไม่ได้  ก็จะไปหาซื้อกัน             

โดยลักษณะใช้ดีแล้วบอกต่อ  ซึ่งจะอยู่นอกหมู่บ้าน  โทรไปสั่งซื้อบ้างเขาก็จะส่งมาทางไปรษณีย์  หรือไปซื้อเอง  

ไม่เช่นนั้นก็ฝากเขาไปซื้อ     จากรถเร่บ้าง  โดยจะมีลักษณะให้ลองทานฟรีเป็นบางตัว  จากนั้นก็เอายาไว้ให้คนละหนึ่งโหล  โดยใช้บัตรประชาชนแลกกับยาครบหนึ่งเดือน  หรือครึ่งปี  หรือครบหนึ่งปีจะมาเก็บเงิน  หรือไม่ก็จะมาเก็บเงินหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ 

จากการนำละครลิง  แสดงกล  โชร์งู  หนังขายยา   แม้กระทั่งหนังแผ่น ซีดีก็สามารถนำมาใช้เรียก  ร้องความสนใจของชาวบ้านให้ไปดูให้ได้   

จากนั้นก็จะใช้วิธีเดียวกันกับรถเร่  และไปรักษาตามคลินิก  คนสูงอายุจะชอบมาก  เพราะไปแล้วหายปวด  หมดยาก็มีอาการเหมือนเดิม  แล้วก็กลับไปหาใหม่  ก็เป็นอยู่อย่างนี้  ไม่ชอบเข้าไปหาหมอที่โรงพยาบาล  เพราะไม่หายปวด 

 

อสม.คนอื่น ๆ  ก็ช่วยเสริมด้วยข้อมูลด้วย  ทุกคนก็จะเล่าลักษณะคล้ายกัน  (ฝนก็เริ่มลงเม็ดปะปลาย)

รองนายก ถามว่า  “ เมื่อตรวจพบสเตียรอยด์แล้วศูนย์วิทย์ฯจะแก้ไขปัญหาอย่างไร  แล้วสเตียรอยด์คืออะไร

ชาวบ้านจะรู้ได้อย่างไรว่ามีสเตียรอยด์  แล้วจะเป็นผลต่อประชาชนยังไง ” 

ทุกคนเงียบสนิทเมื่อเจอคำถามประ โยค  นี้ของท่านรองนายยก  แล้วใครจะเป็นคนตอบ  และจะตอบอย่างไรให้ทุกคนรู้สึกดี  แต่นะเวลานั้นศูนย์วิทย์ฯ  คงต้องตอบ  แล้วจะตอบยังงัยล่ะ  สมองช็อคไปชั่วขณะ  เหมือนกับเรากำลังปืนเขาอยู่ดี ๆ  แล้วมีคนมาเบียดเราตกเขา  คิดท่าช่วยชีวิตตัวเองไม่ออกว่าจะทำอย่างไรดีเราถึงจะรอด  แต่ในชั่วเศษเสี้ยววินาทีนั่นเองก็ตอบไปโดยคำพูดนั้นไม่ผ่านสมอง  ไม่รู้ตอบไปได้งัย  

 “  ท่านรองค่ะ  ทางศูนย์วิทย์ฯ  ไม่ต้องทำอะไรแล้ว  เพราะที่นี่มี  อสม.ที่เก่ง  เขาช่วยกันแก้ปัญหาของยาแผนโบราณที่มียาสเตียรอยด์ปนอยู่แล้ว ” 

 แต่ท่านรองกับยิงคำถามเดิมอีก   เอ๊อะ  !  ยังงัยทำไมคำถามถึงยังอยู่อีก  แต่ในที่สุดเราก็มีนางฟ้าขี่ม้าขาวมาช่วยเราและตอบไปว่า 

“ อสม.รู้ ” 

เท่านั้นแหล่ะเสียงปรบมือและเสียงโห่ร้องของทุกคนก็ดังสนั่นหวั่นไหว  ในความคิดของผู้เขียนมันเป็นอะไรที่สุดยอดมาก

จากที่หมดเรี่ยวหมดแรงกับมีกำลังวังชาอยากจะทำงานนี้ไปจนตายเลย    (ให้ตายเถอะ)    

และ อสม.ก็อธิบายเหตุผลต่อว่า 

 

 “  คุณหมอมาสอนความรู้เกี่ยวกับสเตียรอยด์แล้วว่ามีโทษอย่างไร  และให้ชุดทดสอบตรวจยาแผนโบราณ   เราตรวจกันในหมู่บ้าน  แล้วก็บอกกับชาวบ้านว่ามันไม่ดี  มันเป็นโทษ จำทำให้เราผิวบางเหมือนกับตาเคน หรืออีกหลาย ๆ คนในหมู่บ้าน  กินแล้วก็ไม่หาย  พอหมดยาก็ต้องไปหาซื้ออีก  หมดแต่เงิน  ยาก็แพง  เม็ดละ  10-20 บาทวันหนึ่งกินไป  10  เม็ดเราจะเอาเงินที่ไหนไปซื้อ”

 จากนั้นท่านรองนายกก็คงจะเข้าใจแล้วมั๊ง  เก่งมากเลย  อสม.ที่นี่

 จากนั้นเราก็เลยถามว่าทำไมทาง อบต.ถึงไปเช่าเวลาวันละ  1  ชั่วโมงจัดรายการเปิดเพลงและให้ความรู้กับประชาชน  นักพัฒนาชุมชนจึงตอบว่า 

“ ทาง อบต.ได้ทุนมาจากยูนิเซฟมา  5,000  บาท  ก็เลยนำไปเช่าเวลาเพื่อว่าใครมีอะไรจะได้แจ้งข่าวให้กับประชาชน จะแจ้งข่าวเองก็ได้  หรือจะให้ทาง  อบต.ดำเนินการให้ก็ได้  ด้านงบประมาณเกี่ยวกับคุ้มครองผู้บริโภคก็มีสนับสนุนไห้กับ  รพ.สต.  และทาง  รพ.สต.ต้องการสนับสนุนก็ให้ทำโครงการไป  แต่ตอนนี้ทาง  รพ.สต. เขียนโครงการของบจาก สปสช.  ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงการพิจารณา  ทาง  อบต.ก็ยังไม่เป็นเรื่องแต่ทราบคร่าว ๆ จากคุณพิมพ์แล้ว  แต่ไม่ทราบว่าจะให้ อบต.  ช่วยส่วนไหนบ้าง เพราะทาง  รพ.สต.  รับผิดชอบ  11 หมู่บ้าน  1500  ครัวเรือน  จำนวนประชากรประมาณ  6,300  คน  ส่วน  อบต.ยังไม่มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข  ก็ช่วยกันดูแลเรื่องคุ้มครองผู้บริโภคไปก่อน” 

 สิ้นเสียงการบอกเล่าของ  อบต.ฝนก็ตกหนักเก็บของแทบไม่ทัน  เราก็เลยย้ายที่นั่งคุยเข้าไปในตัวอาคารแทน

 

รวมลิงค์ของงานเขียน aar ณ รพ.สต.กะบาก
เขียนโดย พี่อ้อ (ศุภลักษณ์  พริ้งเพราะ)

ComMedSci ι เรียนรู้การทำงานของทีมงาน รพ.สต.กระบาก ตอนที่ 1 ตกใจที่สุด...และสุดขีด

ComMedSci ι เรียนรู้การทำงานของทีมงาน รพ.สต.กระบาก ตอนที่ 2 วางแผนทำ KM

ComMedSci ι เรียนรู้การทำงานของทีมงาน รพ.สต.กระบาก ตอนที่ 3 ลงพื้นที่กระบากพบ อสม.และ อบต.ครั้งแรก

ComMedSci ι เรียนรู้การทำงานของทีมงาน รพ.สต.กระบาก ตอนที่ 4 เข้าบทเรียน

ComMedSci ι เรียนรู้การทำงานของทีมงาน รพ.สต.กระบาก ตอนที่ 5 บทเรียนจากคุณตาเคน

ComMedSci ι เรียนรู้การทำงานของทีมงาน รพ.สต.กระบาก ตอนที่ 6 ความประทับใจของ อสม.

ComMedSci ι เรียนรู้การทำงานของทีมงาน รพ.สต.กระบาก ตอนที่ 7 ผู้บุกเบิก อสม.

ComMedSci ι เรียนรู้การทำงานของทีมงาน รพ.สต.กระบาก ตอนที่ 8 สรุปการทำงานของ รพ.สต.และทีมงาน

หมายเลขบันทึก: 397429เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2010 18:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 15:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท