การเขียนหนังสือเรียนที่ใช้สอนเด็กด้วยตนเอง


การสร้างองค์ความรู้ที่เป็นไปได้ส่วนหนึ่งคือการเขียนหนังสือเรียนเอง

ได้อ่านบทความของ ศ.ชัยอนันต์ สมุทวานิช เขียนเกี่ยวกับ
เรื่องที่ท่านได้ส่งเสริมให้ครูอาจารย์ของโรงเีรียนวชิราวุธวิทยาลัย
ให้เขียนตำราเพื่อสอนนักเรียนเอง ทำให้ทบทวนประสบการณ์
จากหนังสือบริจาคที่ส่งมาให้โรงเรียน มีโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย
ชั้นนำในประเทศไทยก็ทำหนังสือเรียนเอง ได้เคยนั่งอ่านหนังสือ
เหล่านั้นแล้ว ส่วนใหญ่เป็นเรื่องไกล้ตัวของนักเรียนในเมือง

เมื่อบทความที่แล้วได้อธิบายถึงระดับขั้นของความรู้ชั้นสูงสุดคือ
สามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง จึงกลับมาทบทวนว่า
การส่งเสริมการทำตำราเพื่อสอนนักเีรียนนั้น จะเป็นความรู้ระดับ
สูงได้หรือไม่ เมื่อพิจารณาโดยใคร่ครวญแล้วก็น่าจะเป็นความรู้
ระดับสูงแบบขั้นเิ่ริ่มต้น และอาจเป็นความรู้ระดับสูงขึ้นมาก็ต่อเมื่อ
พากเพียรปรับปรุงทำให้สมบูรณ์แบบ ตั้งแต่ความรู้ ความจำ เทคนิค
การจำ การคิดวิเคราะห์สังเคราะห์  การใช้ mind map การสรุป
องค์ความรู้ของนักเรียนในรูปแบบฝึกหัด ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ในยุคของท่าน ผอ.สนิท ยี่รงค์ ผอปจ.แม่ฮ่องสอนในขณะนั้น ได้
เคยใช้รูปแบบหนังสือเหล่านี้ในรูปแบบหลักสูตรบูรณาการรวมทุกวิชา
ไว้ในรูปแบบเดียวกัน และส่งหนังสือและคู่มือมาให้โรงเรียนใช้ ซึ่งความ
เป็นท้องถิ่นมีความจำเพาะอยู่ในวัฒนธรรมของอำเภอเมืองเป็นส่วนใหญ่
แต่ก็ถือว่าเคยมีการสร้างหนังสือเรียนในลักษณะนี้นั้นไม่มากก็น้อยแล้ว

การสร้างหนังสือเรียนแนวท้องถิ่น นั้นกระบวนการทำนั้นทำอย่างไร
คงจะต้องเริ่มต้นจากผู้สอนที่มีอุดมการณ์ที่จะผลิตสื่อใช้เองในรูปแบบ
ของหนังสือเรียน ที่คิดเองโดยมีขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้ คือการวิเคราะห์หลักสูตร
จนได้หน่วยเรียนรู้ และถ้ามีการผสมผสานบูรณาการระหว่างหน่วยเรียนรู้
แต่ละวิชานำมารวมกันก็จะดีมาก  การสร้าง theme หรือหัวเรื่อง มีการสร้าง
โครงเรื่องเล่า สร้างตัวละครในบริบทของหมู่บ้านชุมชนนั้น มีข้อมูลจาก
เหตุการณ์บ้านเมือง ข่าวสาร โฆษณา นำมาทำให้สอดร้อยเรียงกัน มีกิจกรรม
ให้นักเรียนไ้ด้ฝึกปฏิบัติ เรียงตั้งแต่ วิธีจดจำข้อมูล การวิเคราะห์สังเคราะห์
เชิงรูปธรรม การประยุกต์ใช้ ทีเ่หมาะสมกับบริบทชุมชนหมู่บ้าน และที่สำคัญ
ที่สุดจะต้องเว้นว่างให้นักเรียนได้สร้างองค์ความรู้เพิ่มเติมจากเรื่องที่ได้เรียน

ผลแห่งการทำหนังสือก็คือนวัตกรรมที่ใช้ในการเรียนการสอนที่ไม่เหมือนใคร
ไม่มีใครเหมือน สามารถอ้างอิงเป็นผลงานทางวิชาการเชิงประจักษ์จาก
กระบวนการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประยุกต์ใช้ จะได้งานแบบ constructivism
ได้เข้าสู่ความต้องการสูงสุดของมนุษย์คือ social actualization และจะก่อ
ให้เกิดงานที่หลากหลาย สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้กลายเป็นความรู้
ที่สร้างสรรค์ได้ไม่มีวันหมดสิ้น

สรุปแล้ว การเขียนตำราหรือหนังสือเรียนเองนั้นทุกคนสามารถทำได้ และเป็น
การฝึกฝนพัฒนาตนเพื่อเข้าสู่วิชาการชั้นสูงได้  ถ้าหากได้กระทำโดยหลักวิชา
หลักการพึ่งพาสติปัญญาของตนเอง ต่อมาก็จะนำไปสู่เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์
คือสร้างและขายให้กับผู้ที่ไม่ชอบคิด ไม่ชอบทำ ชอบสิ่งที่สำเร็จรูป ต่อไป

หมายเลขบันทึก: 397133เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2010 21:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เขียนได้แล้ว อยากวาดการ์ตูนด้วยนะครับ ชอบจังเลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท