ทุนมนุษย์ที่สร้างได้ เตรียมความพร้อมรองรับการแข่งขันในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC ในอีก 5 ปีข้างหน้า ด้วยฐานรากการพัฒนาทุนมนุษย์สู่สังคมที่ยั่งยืนด้วยความสุข


บริบทแห่งการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับต่อการแข่งขันสู่สากล "รู้เขารู้เรารบร้อยครั้ง ก็ชนะร้อยครั้ง" ทุนมุษย์จึงเป็นรากฐานของการพัฒนาองค์กร สังคม ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ สอดคล้องต่อแผนยุทธ์ศาสตร์ของชาติ ทุกภาคส่วนต้องให้ความสำคัญอย่างจริงจัง คุณล่ะพร้อมแล้วหรือยัง ?

ทุนมนุษย์สร้างได้

 เตรียมความพร้อมเพื่อรองรับ

การแข่งขันใน

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC

 ในอีก 5 ปีข้างหน้า

 ด้วยฐานรากการพัฒนาทุนมนุษย์

สู่สังคมที่ยั่งยืนด้วยความสุข

ได้รับแรงกระตุ้นให้ตระหนักถึงความพร้อมในการรองรับเพื่อเข้าสู่การแข่งขันในระดับสากลในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี ค.ศ.2015 ในอีก 5 ปีข้างหน้า ซึ่งถือเป็นภารกิจของชาติ ที่ทุกภาคส่วนต้องให้ความสำคัญ ความตื่นตัวด้านการสร้างภาคีเครือข่ายในระดับนานาชาติ

คำถามมีว่าเราต้องเตรียมความพร้อมอย่างไร

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC

มีความสำคัญกับเราอย่างไร

ประโยชน์ที่เรา และประเทศไทย

จะได้รับในภูมิภาคนี้คืออะไร?

หลากหลายประเด็นคำถามจนเป็นข้อสงสัยให้ผมต้องการคำตอบ และหาคำอธิบายในหลากหลายประเด็นให้ตรงจุดเพื่อเสาะแสวงหาความรู้เป็นอย่างยิ่ง

ประเภทคนไม่หยุดนิ่ง

และไม่นิ่งนอน รอคอยเพียงอย่างเดียว

เราต้องแสวงหาเพิ่มพูนความรู้

 เพื่อแบ่งปันให้กับผู้อื่น

เพื่อเผยแพร่สู่สังคมต่อไป

 แนวคิดที่ได้รับ และเป็นแรงกระตุ้นต่อมความคิดของผมเป็นอย่างมากโดยได้รับความรู้ดีๆ จากผู้รอบรู้มากประสบการณ์ไม่เฉพาะบทบาทการเป็น

แพทย์ศัลยกรรมอย่างเดียวเท่านั้น

 ความคิดที่งดงาม

และศิลป์การวาดภาพด้วยสีน้ำมัน

 ยังไม่พอยังมากความรอบรู้ด้วย

ศาสตร์ และศิลป์แห่งการบริหาร

โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ 

สยามบรมราชกุมารี

ได้รับมาจากท่าน

ศาสตราจารย์ นพ.สมเกียรติ วัฒนศิริชัยกุล

 คณบดีคณะแพทยศาสตร์

มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ 

และผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพ.นิยม ละออปักษิณ

 ผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพฯ

Prof. Dr. Chira Hongladarom                           
Prof. Dr. Chira Hongladarom
Chairman
• Secretary, Foundation for International Human Resource Development

การเติมเต็มถอดบทเรียนนี้จะสมบูรณ์ไม่ได้หากขาดท่านผู้นี้ที่รอบรู้ในศาสตร์ด้านการพัฒนาทุนมนุษย์ ควรคู่กับการพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ และเจ้าของทฤษฎีทุนมนุษย์ชั้นครูของสังคมไทยท่าน

ศาสตราจารย์ ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

 เลขาธิการ

มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

 นายกสภามหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

และปรมาจารย์ด้านการพัฒนาทุนมนุษย์

ในระดับประเทศ และนานาชาติ

ท่านได้ให้แนวความคิดในการพัฒนาทุนมนุษย์โดยมุ่งสร้างคนดีคนเก่ง ไปพร้อมกับการพัฒนาองค์กรเน้นการพัฒนาทางปัญญา พัฒนาด้านอารมณ์  และธำรงรักษาอารย วัฒนธรรมประเพณีที่งดงามไม่เฉพาะการพัฒนาในด้านฝีมือแรงงานเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

(ซึ่งขณะที่ผมเขียนบทความนี้ท่านไปประชุมที่จากาต้า ประเทศอินโดนิเซีย เชื่อว่าท่านกลับมาคงจะมีเรื่องสนุกๆ มากความรู้มาเผยแพร่ต่อสังคม gotoknow เราต่อไปติดตามผลงานของท่านได้ที่

www.gotoknow.org/blog/chira  มีเรื่องที่น่าสนใจเป็นจำนวนมาก กูรูด้านการพัฒนาทุนมนุษย์พันธุ์แท้ของสังคมไทย)

และผู้ชายธรรมดาที่ไม่ธรรมดาอีกท่านที่หลายคนรู้จักผู้ชายคนนี้เป็นอย่างดีกับบทบาทเจ้าของธุรกิจอู่ซ่อมรถยนต์ปรีชาเพลาขับ ที่มุ่งเน้นการพัฒนาตนเองเป็นสำคัญด้วยการเสาะแสวงหาความรู้รอบทิศทาง ใฝ่รู้ในทุกภาคส่วนทั้ง สังคม เศรษฐกิจ การเมือง ภาษา เทคโนโลยี การบริหารด้วยการมีส่วนร่วม

โดยหลายท่านในตลาดมีนบุรีรู้จักผู้ชายคนนี้ในชื่อ "ช่างเลี่ยม พัชดล กาละเมฆ เจ้าของธุรกิจที่รอบรู้มากประสบการณ์ในด้านการซ่อมรถยนต์ และการติดตั้งแก๊ส และรับทำเพลาขับ ฯลฯ ที่บอกเสมอว่าความรู้สามารถเก็บเกี่ยวได้ทุกหนทุกแห่ง ไม่ใช่เฉพาะในตำราเรียน หรือในห้องเรียนเท่านั้น "

ความรู้เกี่ยวกับประชาคมเศรษฐอาเซียน ได้รับการเติมเต็มเป็นเบ้าหลอมที่ดีเหล่านี้ได้รับการต่อยอดความคิด จากโครงการพัฒนา และการสร้างความพร้อมสู่ตลาด AEC ที่ได้รับความรู้ดีๆ จากท่าน รศ.ดร.ชนินทร์ มีโภคี รองผู้อำนวยการ ศูนย์ศึกษาความร่วมมือระหว่างประเทศ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และดร.วัชรัศมิ์ ลีละวัฒน์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้า และการพัฒนา

แนวคิดเหล่านี้จะไม่สมบูรณ์เลยเพราะต้นแบบที่น่ายกย่อง ชมเชย และเป็นปฐมบทแห่งความสมานฉันท์ของสังคมในระดับนานาชาติ และระดับโลก

คือแนวความคิดจากท่านดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ

เลขาธิการอาเซียน

ถ่ายภาพร่วมกับท่าน ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ์ ในวันที่ท่านได้รับพระราชทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตย์กิตติมศักดิ์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า) ผมเข้ารับปริญญามหาบัณฑิตย์ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ การจัดการสำหรับผู้บริหาร MPA 20 กทม)

ในการปาฐกถาพิเศษในการสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศ "AEC โอกาสทองทางเศรษฐกิจของไทย" และในวันมอบรางวัลบุคคลแห่งปีในงาน HR 100 จัดโดยสถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กับแนวคิด

"แรงงานมีฝีมือ หรือ Professionals

จะเกิดการเลื่อนไหล

ไปทั่วทั้งภูมิภาคนี้

เราไม่ควรผลิตสินค้า

เพื่อคนแค่ 60 ล้านคน

 แต่ตลาดของเราจะใหญ่ขึ้น

 ต้องผลิตเพื่อคน 600ล้านคน

 อีก 5 ปี ข้างหน้า

เราจะรวมประชาคมเป็นหนึ่งเดียว

 และใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลาง"

สถาบันพัฒนาทุนมนุษยเพื่อสังคม

ร่วมกับสถาบันพัฒนาบุคลากรเชิงผลสัมฤทธิ์ เอชอาร์โปรลิ้งค์

 คิดการณ์ไกล

ได้นำชาวต่างประเทศมาสอนภาษาอังกฤษให้กับบุคลากร

เพื่อพัฒนาให้เกิดความพร้อมด้านการสื่อสาร ระหว่างประเทศ

กรอบแนวคิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) ฉบับย่อ ที่สรุปเพื่อให้ทุกท่านในสังคมผู้รอบรู้ และผู้ใฝ่หาความรู้ต้องพึงตระหนักก็คือ

" เราจะเตรียมความพร้อม

เพื่อการรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

 ในอีก 5 ปีข้างหน้ากันอย่างไร

 จะเริ่มที่อะไรก่อนหลัง"

เราลองมาดูภาพโดยร่วมที่ต้องเข้าใจในการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของภาคีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนก็คือ

 1.การเคลื่อนย้ายสินค้าอย่างเสรี

     2.การเคลื่อนย้ายการค้าบริการเสรี

     3.การเคลื่อนย้ายการลงทุนอย่างเสรี

     4.การเคลื่อนย้ายเงินทุนเสรี

     5.การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรี

สรุปโดยร่วมคือการพัฒนาทุนมนุษย์

เป็นปัจจัยสำคัญหลักในประเด็นดังกล่าว

ทุกภาคส่วนต้องมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในเรื่องทักษะฝีมือ ความรู้ความสามารถ ทักษะทางอารมณ์ ทักษะทางปัญญา ความชำนาญการพิเศษ พัฒนาภาษา(ภาษาสากล อังกฤษ ฝรั่งเศส จีน ญี่ปุ่นฯลฯ ภาษาที่สำคัญๆ ในภูมิภาค เพื่อการติดต่อสื่อสาร และการทำความเข้าใจในบริบทการค้าระหว่างประเทศ กฏหมาย ข้อตกลง สนธิสัญญา เพื่อประโยชน์ต่อตนเอง ต่อองค์กร เพื่อการพัฒนาประเทศ เตรียมพร้อมรองรับต่อการแข่งขัน แต่ไม่ควรลืมภาษาของเราชนชาติไทย คือภาษาไทย วัฒนธรรม ประเพณีอันดีงามของสังคมไทย มารยาท การอ่อนน้อมถ่อมตน การยกมือไหว้ กล่าวขอบคุณ ขอโทษ ภาษาทางร่างกายที่สำคัญอีกสิ่งคือ รอยยิ้ม(ยิ้มสยามรอยยิ้มที่งามสง่า)สิ่งงดงามที่คู่กับสังคมไทยมาอย่างช้านานาน สังคมครอบครัวที่มีความสุข ความกตัญญูรู้คุณผู้มีพระคุณ บิดา มารดา ญาติมิตร กิจกรรมทางสังคมดีงามของไทย และสำคัญยิ่งการธำรงรักษาสถาบัน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ การปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันทรงมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์พระประมุข พ่อหลวงของปวงชนชาวไทย)

มุ่งเน้นด้านการพัฒนาการศึกษา ใฝ่หาความรู้ ระบบเทคโนโลยี สารสนเทศ IT เพื่อการติดต่อสื่อสารในโลกสังคมแห่งยุคโลกาภิวัฒน์ รู้รอบในเรื่องสังคม เศรษฐกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อม กฏหมาย ของประเทศคู่ค้า เพื่อรู้เข้ารู้เรา ชัยชนะอยู่ไม่ไกล ใกล้แค่เอื้อม

สิ่งเหล่านี้สำคัญยิ่งคงหนีไม่พ้น

การสร้างมูลค่าเพิ่ม

ด้านการพัฒนาทุนมนุษย์

คุณเชื่อหรือไม่ ?

แล้วคุณเตรียมความพร้อม

รองรับต่อการเปลี่ยนแปลง

 และแข่งขันในระดับสากลหรือยัง?

 ผมเชื่อว่าทุนมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญยิ่ง

 แล้วคุณละเชื่อ หรือไม่ว่า

ทุนมนุษย์ สร้างได้ ?

หมายเลขบันทึก: 396945เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2010 13:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

..อ่านแล้วอยากจะเชื่อ..ว่าทุนมนุษย์..นั้นสร้างได้..หากว่าเรามี..ความพร้อมในทุกด้านที่เรียกว่าศักยภาพ..มนุษย์..รึยัง..พัฒนาไปแค่ไหนอย่างไรกับการเตรียมพร้อมที่จะแข่งขันหรือแบ่งปัน..(ต่อระดับการเปลี่ยนแปลงแข่งขัน..สากล..)..และสิ่งที่เรามี..แค่รอยยิ้มเจื่อนๆที่พยายามจะเหลือไว้ให้หลงเป็นระดับชาติหรือความรู้ที่แค่เอามาประติดปะต่อ..ทำเองคิดเองไม่ค่อยจะเป็น..ขอรับกระผมผสมเออออห่อหมก..ขายได้ประเดี๋ยวเดียว...เดี๋ยวก็เจ้ง...(ยายธีก็ได้แต่เป็นห่วงตามประสาคนแก่แลชาวบ้านธรรมดาๆ..ที่รู้แต่ว่า..สุกรนั้นไซร้คือหมาน้อยธรรมดาๆ..เจ้าค่ะ)

สวัสดีครับคุณยายธี ครับ

ต้องขอขอบพระคุณมากนะครับที่เข้ามาแสดงความคิดเห็นร่วมกัน ผมเสริมแนวคิดของยายนะครับ ว่าทุกภาคส่วนต้องร่วมกัน

ทำอย่างจริงจัง ตั้งแต่ฐานรากคือกระบวนการศึกษา สังคม สิ่งแวดล้อม อย่างน้อยก็มีผมกับยายธีนะครับ ที่เห็นตรงกัน ผมประสงค์อยากเห็นสังคมของเราเป็นสังคมที่แบ่งปัน ช่วยเหลือ และทัดเทียมด้วยความพอเพียง ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพ่อหลวง อยู่อย่างมีความสุขในโลกใบนี้ด้วยการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และทันต่อแสทางสังคมโลก แต่ก็ไม่ควรไปลอกเลียบแบบเขามาทั้งหมดต้องเป็นแบบไทยๆ เรา ผมยังมีความเชื่อบางอย่างนะครับ ว่าสังคมไทยเราสามารถหาความอบอุ่น ได้ไม่ยาก หากเราทำอย่างจริงจัง และสร้างความสุขให้กับตัวเอง คนรอบข้าง กับสังคม น่าจะส่งผลดีให้กับประเทศชาติในระยะยาวครับ ขอขอบคุณข้อคิดดีๆ ของยายธีอีกครั้งนะครับ

อ.ภูชิสส์ ศรีเจริญ

..สวัสดีค่ะ..ท่านอาจารย์..ภูชิสส์..(ความเชื่อบางอย่าง..ว่าสังคมไทยเราสามารถหาความอบอุ่นได้..ไม่ยาก...หากเราทำอย่างจริงจัง..สร้างความสุข(และความอบอุ่น)..กับตัวเองและคนรอบข้าง..(คือ)..สังคม...เป็นผลดี...ต่อ...ประเทศชาติ(ต่อส่วนรวม)ในระยะยาว..อย่างแน่นอน..(ในสังคมพุทธ..นิยม..กล่าวถึง..สังคมศรีอารยะ..แห่งพุทธกาลนั้นคงต้องใช้เวลา.อีกยาวนานหลายกัลป์...กับคำว่าศักยภาพที่มีเทียบเท่ากัน...ในหมู่มวลสรรพสัตว์แห่งโลกเรานี้....ที่มีพื้นฐานเดียวกันทั้งหมดทั้งสิ้น...คือเป็นผู้ร่วมทุกข์ร่วมสุข..เกิดแก่เจ็บตาย..)..ยายธีเชื่อว่าเมื่อ..หนึ่งบวกหนึ่งเป็นสอง..และสองบวกสอง..คงเป็นสี่...เราคงจะได้ตัวเลขที่คงที่ๆศูนย์หรือเปล่าไม่ทราบนะ..แน่แท้นะเจ้าคะ...(อยากทราบความเห็นของท่านอาจารย์ต่อเจ้าค่ะ)..และต้องขอขอบพระคุณอย่างยิ่งที่ให้ความสนใจต่อความคิดเห็นของคนธรรมดาๆเฉกเช่นยายธีเจ้าค่ะ...

สวัสดีครับคุณยายธี ครับ...

ผมเพิ่งมีโอกาสคิดเรื่องหนึ่งเลยรีบนำไปเขียนในบทเรียนใหม่ ทันที่ก็ได้แนวคิดจากคุณยายธีนี่ละครับ ในเรื่อง คบเด็กสร้างชาติ โตขึ้นไปจะไม่โกง เป็นโครงการดีๆ เพื่อสร้างเยาวชน ให้เป็นทุนมนุษย์ที่สำคัญของสังคม คุณยายธีลองเข้ามาอ่านนะครับ และช่วยเติมเต็มสิ่งที่ผมขาดด้วย ผมแอบเข้าไปเยี่ยมบ้านคุณยายธี ด้วยนะครับ มีบทความดีๆ เป็นจำนวนมากเลยครับ ผมชอบอ่านหลายเรื่องที่ยายธีเขียนนะครับ เป็นปรัชญา ที่ดีมาก น่ายกย่องมากเลยครับ ...ผมขอเอาแนวคิดดีๆไปสอน และบรรยายให้กับสังคมที่ผมมีโอกาสไปเผยแพร่นะครับ ...ต้องขอขอบพระคุณล่วงหน้านะครับ

อ.ภูชิสส์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท