ห้องเรียนกระบวนกร AI (ตอนที่ 246) .."..Coaching ทำไม...มันไปแทรก AI ตรงไหน... "


Appreciative Coaching

การ Coaching คือ OD ประเภทหนึ่งครับ...

ทาง OD เรามี Executive Coaching หลากหลาย Model ครับ...

Coaching กับ Training ต่างกันตรงไหน...

Training ก็เหมือนเวลาคุณไปซื้อเสื้อสำเร็จรูป...เขาออกแบบเสื้อมาสำหรับคนจำนวนมาก...ไม่ใช่สำหรับคุณคนเดียว...คุณมีหน้าที่ต้องตาม Trend เพราะมันจะออกมาเรื่อยๆ...สักพักก็จะหายไป..มีของใหม่มาแทน...หลายครั้งคุณก็พบว่า...มันไม่เหมาะกับคุณ...หรืออาจเหมาะ แต่ต้องทำใจ และปรับเปลี่ยนเอาเอง...เพราะ Trainer เขาเสร็จงานนี้ก็ไปงานอื่น...หลักสูตรบางทีก็ซื้อลิขสิทธิ์มา...หลักสูตรแน่นด้วยเนื้อหา จนไม่มีช่องว่างจะถาม

.......................................

Coaching คล้ายๆกับการไปตัดเ้สื้อที่ร้านครับ...มันสำหรับคุณคนเดียว.ไม่ใช่สำหรับคนจำนวนมาก....คุณไม่จำเป็นต้องตาม trend ของใคร คุณตัดตามใจคิด อาจดูแบบแล้วปรับเปลี่ยน ได้สุดเหวี่ยง ตาม mission และงบประมาณของคุณ แต่จะตามใจคุณได้แค่ไหน ขึ้นกับประสบการณ์ ความเก๋าของเจ้าของร้านหรือตัว Coach นั่นเอง...

........

ในด้าน Appreciative Inquiry เรามีศาสตร์หนึ่งคือ Appreciative Coaching ครับ..ที่เข้ามาเติมเต็มการทำ Appreciative Inquiry...ถามว่ามาเติมเต็มตรงไหน บ้าง ทำไม ลองดูเรื่องราวต่อไปนี้ครับ...

1. ความมั่นใจของคนไม่เท่ากัน...

"อาจารย์ค่ะ หนูไม่เก่งค่ะ หนูโง่นะคะ..."   

"อาจารย์ครับ...ผมอยากทำธุรกิจที่ปรึกษา (โดยใช้ AI)

คนแรก Coach ต้องให้กำลังใจ ประคับประคอง ค่อยเป็นค่อยไป ต้องทำเรื่องยากๆ ให้เข้าใจได้ง่ายๆ...ชมบ่อยๆ

คนที่สอง ต้องค่อยๆ ให้เขาทำทีละขั้น เพราะมีแนวโน้มว่าจะข้ามขั้น พุ่งไปข้างหน้าแบบไม่ลืมหูลืมตา

...............

2. ความรู้พื้นฐานไม่เท่ากัน...

"..อาจารย์ค่ะ..พวกพี่เป็นพยาบาล ไม่ถนัดด้านบริหาร จะทำไงดี..."

"ผมจบดนตรีมาครับ..แต่โจทย์ผมเป็นโรงงาน..." 

ครับตัว Coach ต้องพยายาม เชื่อมโยงสิ่งที่เขาทำอยู่ ความรู้พื้นฐานเข้ากับการทำ AI ให้ได้ครับ....

.....................

3. การยอมรับขององค์กรไม่เท่ากัน...

"อาจารย์ ครับ...พอผมไปเล่าให้นายฟังเรื่อง AI นายกลับบอกว่า ..."ผมก็เรียน MBA มาเหมือนกัน..ไม่เห็นได้เรียนสิ่งที่คุณพูดเลย...จ๋อยครับ..แล้วผมจะทำยังไง"

"นายผมเอาแต่ตัวเลข ครับ...แกบอกว่า AI เป็นนามธรรมไป..."

นี่คือ เสียงจริงจากชาว AI ระดับเทพ เลยตอนทำ AI ในระยะแรก..หน้าที่ของ Coach คือต้องให้เขาช่วยปรับกลยุทธ์ การทำ AI ครับ เช่น สองกรณีนี้ก็กลับไปทำแผนกที่มีคนน้อยๆ ก่อน...

.....................

4. อยู่ดีๆ องค์กรก็ยอมรับ..ตายละหวาทำไงดี..

เช่นมีรายหนึ่งตอนแรกโรงงานไม่ใ้ห้ทำ เพราะผู้บริหารชอบตัวเลข เราเลยค่อยๆ ขาย idea แล้วก็ตกใจครับ...เขาให้ทำทั้งโรงงาน...จาก 14-15 คนเป็น 1,000 คน..แล้วจะทำไง..ตรงนี้แหละครับ Coach เข้ามามีบทบาท ช่วยให้คำปรึกษา ชี้แนะ...จนกระทั่งสามารถทำได้ในที่สุด...

...............

5. งงงวยเรื่องเทคนิค....

"อาจารย์ครับทำ Discovery แล้ว ไหงไม่ได้อะไรเป็นชิ้นเป็นอันครับ..."

"อาจารย์ครับ...ได้ข้อมูลจมหูเลยค่ะ...จะเริ่มจากตรงไหนดี"

"ถามแล้วเขาไม่ตอบ...จะทำไงดีคะ.."

"เราจะเอาอะไรมาเป็นตัวชี้วัดดีครับ.."

Coach นอกจากจะต้องมีเิอกสาร แล้ว ยังต้องร่วมกันค้นหาความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ..จนถึงนำไปทำจริง...แล้วปรับปรุงกระบวนการกัน...นี่ก็อีกบทบาทหนึ่ง

...........

6. งงกับชีวิิต จิตตก..เช่นลูกศิษย์ถูกท้าทายด้วยคำถามแปลกๆ กวนโอ๊ย..ชนิดทำให้จิตตกได้ เช่น

"AI นะผมไม่เอานะ เพ้อฝัน..."

"AI ใช้ไม่ได้กับธุรกิจร๊อก.."

"AI นี่ทำการตลาดเพี้ยนหมด.."

หน้าที่ของ Coach ก็คือรักษาสติ แล้วร่วมกับลูกศิษย์ช่วยกันหาคำตอบอย่างมีหลักวิชาครับ...

........
7. เย่ๆ เรียนจบสักที ลูกศิษย์บางคนเก่ง แต่รู้เลยบางคนจบอาจไม่ทำต่อ... Coach ก็จะพยายาม กระตุ้น ชี้ช่องทางให้เขาคิดการณ์ใหญ่ เพื่องานของเขาจะได้ไปไกลกว่าเดิม...ได้เป็นประโยชน์ต่อสังคมต่อไป.. 

.........

ครับ นี่คือบทบาท AI Coach ครับ....

คุณล่ะคิดอย่างไร...

หมายเลขบันทึก: 396831เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2010 09:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

อาจารย์ครับ

   ผมขออนุญาตเสนอมุมมองโดยเปรัยบเทียบกับการจัดการศึกษาอย่างนี้ครับ

    Training  =  Teacher  centered  จัดการศึกษาให้เด็กเก่งแบบครู

    Coaching = Child centered จัดการศึกษาให้เด็กเก่งแบบตัวเอง

ตรงเป้า ตรงประเด็นเลยครับ..

เห็นด้วยอย่างแรงครับ ท่านอาจารย์ครับ.

คำถามที่ว่า "คุณล่ะคิดอย่างไร?" ขอตอบว่า...

หนูคิดว่าบทความนี้อธิบาย AI และ AC ได้ดีมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

อ่านแล้ว get เลยค่ะ ขอบคุณอาจารย์สำหรับความรู้ในวันนี้

อาจารย์เก่งมากจริงๆค่ะ

เขียนภาคต่อด้วยได้มั๊ยคะ

เรียนอาจารย์ครับ

เข้ามาดูทีไรก็ได้ความรู้เพิ่มทุกที ผมเริ่มเอาหลักAIไปลองใช้ที่โรงงานแบบเรียนไปใช้ไป คิดว่าได้ผลและพรรคพวกก็มองเราทีแรกด้วยสายตาแปลกๆ ผมต้องการทำฉีกแนวโดยใช้แบบที่3ของอาจารย์คือหาโอกาสแล้วขยายผล ส่วนมากพวกเราแก้ปัญหาแบบcorrectiveคือแบบที่1หรือไม่ก็แบบpreventiveคือแบบที่2ครับ จำได้ว่าหลายปีมาแล้ว อาจารย์ญี่ปุ่นเคยสอนเราว่าเวลาทำอะไรได้ผลดีเราได้แต่ดีใจและพอใจแต่ไม่เคยบันทึกoperation procedureไว้เลย ทีเวลาผลงานตกต่ำต่างใช้เวลามากมายหาสถิติข้อมูลกันมากมายเพื่อแก้ไข ขออนุญาตเล่าสู่กันฟังเท่านั้นครับ

เรียนท่านอาจารย์Ico64ที่นับถือ

  • ขอบคุณมากค่ะ  Coach
  • ตอนนี้ลูกศิษย์มีหน้าที่แสดงความสามารถให้โลกรู้ และพิสูจน์ตัวเองค่ะว่า AI ไม่ได้ทำให้การตลาดเพี้ยนค่ะ  

สัวสดีครับคุณลุงตุ๋ย และท่านที่ไม่ได้แสดงตน

ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาครับ...

ผมเลยมีการบ้านเขียนต่ออีกครับ...

เข้าใจว่าที่สัญญาไว้ ยังไม่ได้เขียนหลายเรื่อง จะพยายามเขียนตามมาเรื่อยๆนะครับ

ที่วางโครงไว้ดังนี้ครับ...

1. ต่อ AI Coaching อีกหกตอน

2. เรื่อง Inclusion

3. เรื่อง Institutionalization

4. เรื่อง The Flow

5. เรื่อง Culture

รวมกันราวๆ 11 ตอนนะครับ..

แต่ผมจะว่าอีกครั้งก็หลังวันที่ 8 ต.ค. ระหว่างนี้ขออนุญาตหายตัวไปสอนหนังสือที่ต่างจังหวัดหน่อยนะครับ...ถ้าว่างจะเขียนมาอีกครับ

ตอบคุณยาย สู้ๆครับ..สนับสนุนอย่างเต็มกำลังเลยครับ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท