ฝึกสมาธิด้วยกิจกรรมบำบัด


บูรณาการผ่านเอกสารอ้างอิง Mailoo, VJ. (2005). Yoga: an ancient occupational therapy? British Journal of Occupational Therapy; 68(12):574-577. และ MeditationSuccess.weebly.com

ผมกำลังทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับสมาธิ และพยายามนึกถึงกรอบอ้างอิงใน Domain & Process ของวิชาชีพกิจกรรมบำบัด ที่กล่าวถึง "สมาธิในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต" ได้น่าสนใจโดยสรุปคือ

การฝึกสมาธิ (Meditation training) คือ รูปแบบหนึ่งของกิจกรรมการดำเนินชีวิต ที่เน้นความมีวินัยในการจดจ่อ การทบทวนจิตสำนึก และการสำรวจพลังงานในการใช้หน้าที่ของร่างกาย ของแต่ละบุคคล

การฝึกสมาธินั้นมีหลายวิธีการ ที่พัฒนามาจากความเชื่อและความเข้าใจในวัฒนธรรมและภูมิปัญญาจากชนกลุ่มตะวันออกและตะวันตก และยังคงทำการศึกษาผลของการฝึกสมาธิเพื่อการบำบัดฟื้นฟู (หรือสมาธิบำบัด) ผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกาย และ/หรือจิตสังคม ต่อไปโดยยังไม่มีข้อสรุปชัดเจนทางการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

นอกจากนี้ในทางประสาทวิทยาศาสตร์และศาสตร์ของกิจกรรมการดำเนินชีวิต เราสนใจว่า การฝึกสมาธิในระดับ รูปแบบ และความถี่ที่เหมาะสม เช่น การฝึกสมาธิแบบ Vipassana-Zazen-Samatha ระดับลึก (5-46 ปี) ในกลุ่มผู้เข้าวิจัยด้วยเครื่อง MRI ซึ่งมีประสบการณ์ฝึกสมาธิทุกวันนาน 10-90 นาที (ระดับที่มีผลกระตุ้นการทำงานของสมองคือ 8 นาที) จะช่วยการทำงานของสมอง ได้แก่ พัฒนาความทรงจำ รักษาระดับความตื่นตัวที่เหมาะสมในการจัดการอารมณ์ ควบคุมระดับสารเคมีในสมองที่มีผลต่อความเครียด

อย่างไรก็ตามประสิทธิผลของการฝึกสมาธิน่าจะพัฒนาความรู้ความเข้าใจของคนๆหนึ่งเพื่อพัฒนาความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักการทางกิจกรรมบำบัด กล่าวคือ มีทักษะในการฝึกสมองผ่านจิตสำนึก มีทักษะการผ่อนคลายผ่านกระบวนการหายใจและการรับความรู้สึกที่หลากหลาย มีทักษะการจัดการความล้า ความเจ็บปวด และความเครียดด้วยความรู้ความเข้าใจข้อเท็จจริงที่พิสูจน์แก้ไขได้ด้วยตนเอง และมีทักษะการวางแผนทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตที่ใช้พลังงานอย่างสมดุล เป็นต้น

ลองศึกษาความหมายของการฝึกสมาธิข้างต้นจาก

http://en.wikipedia.org/wiki/Zazen

http://en.wikipedia.org/wiki/Samatha

http://en.wikipedia.org/wiki/Vipassana

เมื่อเปรียบเทียบวิธีการสามรูปแบบนั้น พบว่า การฝึกสมาธิแบบ Zazen นั้นจะนั่งประสานมือและเท้าอย่างพร้อมเปิดความรู้สึกนึกคิดที่จับต้องความเป็นจริงแห่งชีวิตได้ ลืมตาเล็กน้อยเพื่อให้รู้สึกพร้อมที่จะรู้สติอยู่ตลอดเวลา ซึ่งคล้ายกับการฝึกสมาธิแบบ Samatha (ฝึกจิตให้จดจ่ออย่างสงบ อาจมีการนับจำนวนครั้งของการหายใจได้) แต่ถ้าหลับตาหมด ฝึกหายใจพร้อมทบทวนความคิดใดๆ อย่างมีสติ (เกิดความรู้ความเข้าใจที่รู้แจ้ง) ก็จะเป็นการฝึกสมาธิแบบ Vipassana อย่างไรก็ตามการฝึกสมาธิทั้งสามแบบสามารถนำมาผสมผสานกันได้อย่างต่อเนื่องและประยุกต์ใช้อย่างพอเหมาะในการพัฒนาความสามารถของการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตได้ หากใช้กรอบอ้างอิงกิจกรรมบำบัด

 

หมายเลขบันทึก: 395424เขียนเมื่อ 18 กันยายน 2010 11:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 14:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

เป้นความรู้ที่ดีมากคะ^^

เรียนท่านIco64ที่นับถือ

   ขอบคุณเรื่องราวดีๆที่นำมาแบ่งปันนะคะ

ยินดีอย่างยิ่งครับคุณยาย

ลองติดตามอ่านประสบการณ์ดีๆ ที่ผมได้ไปแนะนำกิจกรรมบำบัดด้วยการฝึกสมาธิให้อาสาสมัครจิตอาสาช่วยเหลือผู้ป่วยเบาหวานที่

http://gotoknow.org/blog/yahoo/397569

http://gotoknow.org/blog/krutoiting/398959

http://gotoknow.org/blog/sk-ccc/398050

ขอบคุณครูต้อย พี่มด และพี่ ดร. ขจิต มากครับ

พิมประไพ สามพุ่มพวง

การฝึกสมาธิเป็นLeisure ที่ดีมากอย่างหนึ่ง ทำได้ทุกเพศทุกวัย ได้ทั้งคนปกติ และผู้พิการ

เพราะการฝึกสมาธิ ช่วยให้เกิดการรับรู้ดี จัดลำดับความคิดดี และยังทำให้เกิดความจรรโลงจิตใจ ยกจิตใจให้สูงขึ้น

หากได้มีเวลานั่งสมาธิ ก็เท่ากับว่าได้มีเวลาทบทวนตนเอง มองตนเองให้อยู่กับปัจจุบัน การมีสติจะช่วยให้เราระงับ

อารมณ์ต่างๆที่มากระทบได้ดีขึ้น ทำให้คิดและเข้าใจเรื่องราวต่างๆในแง่บวกได้ง่ายขึ้น ซึ่งความคิดในแง่บวกนี้เอง

ที่จะทำให้ชีวิตของผู้ป่วยเปลี่ยนไป ทั้งด้านร่างกาย และอารมณ์ ถือว่าเป็นLeisure ที่ดีมากๆค่ะ

ขอบคุณมากครับคุณพิมประไพ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท