ความปรารถนาดีของกลุ่มที่อยากศึกษาชีวิตมันนิ


 

ความปรารถนาดีของกลุ่มที่อยากศึกษาชีวิตมันนิ

         ด้วยวิถีชีวิตของกลุ่มมันนิ  อยู่คู่กับเทือกเขาบรรทัด ใน 3 จังหวัด ตรัง พัทลุง สตูล อยู่มาอย่างยาวนาน อย่างน้อยตั้งแต่ รัชกาลที่ 5 ประมาณอายุราว 105 ปี  จึงเป็นกลุ่มที่มีคนอยากมาศึกษา  พอจะแยกออกมาเป็น 5 กลุ่มด้วยกัน

         1.กลุ่มชาวต่างประเทศที่เข้ามาศึกษา เข้ามาทำสารคดี เผยแพร่ หรือมีบางคนที่มาคลุกคลีทำวิจัย หรือวิทยานิพนธ์ มีชื่อเสียง จำนวนมาก

         2.กลุ่มนักวิชาการไทย  นักวิจัย  มาศึกษาหรือมาทำวิทยานิพนธ์ ที่หลายคนจบปริญญาโท ปริญญาเอก ด้วยชีวิตของชาวมันนิ

        3.กลุ่มนักศึกษา ที่เข้ามาศึกษาเพราะความอยากรู้ อยากเรียนรู้ หรือบางคนก็แค่มาถ่ายรูปส่งอาจารย์ ก็มี

        4.กลุ่มผู้ปฏบัติงานทางหน่วยงานราชการหรือองค์กรพัฒนาเอกชน ซึ่งพยายามจะหาแนวทางช่วยเหลือ หรือบางหน่วยงานพยายามสร้างสถานที่ให้กลุ่มมันนิอยู่อย่างถาวร  แต่ไม่ใช่วิถีชีวิตของกลุ่มมันนิที่ต้องมีการเคลื่อนที่ตามวงจรชีวิต หรือห่วงโซ่อาหารตามฤดูกาลของกลุ่มมันนิเอง

        5.กลุ่มนักท่องเที่ยว หรือกลุ่มผู้ปรารถนาดี  กลุ่มนี้อยากเห็น ซึ่งบางแห่งมีการจัดโปรแกรมทัวรให้นักท่องเที่ยวเข้าไปดูพร้อมกับอาหารของคนเมืองนำไปฝากพวกเขา

ขนมจำนวนมากที่นักท่องเที่ยวนำไปฝากกลุ่มมันนิ ที่ขัดกับวิถี

หนุ่มมันนิ ถึงกับนอนกินขนมเหล่านี้ ซึ่งมีจำนวนมากในแต่ละคน

  

หมายเลขบันทึก: 395010เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2010 00:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท