การพยายามยื้อยุดการตายของอวัยวะและการนิ่งมองดูอย่างมีสติรับ "ความตายของชีวิต"


หลาย ๆ ครั้งที่เคสคนไข้ที่ได้รับการตรวจศพ(Autopsy) มีสภาพเช่นนี้..

การพยายามยื้อยุดการตายของอวัยวะและการนิ่งมองดูอย่างมีสติรับ "ความตายของชีวิต"

 

อ่านแง่คิดพระอาจารย์ไพศาล วิสาโลเรื่อง การจัดการกับความตาย ชื่อบทความจริง ๆ จำไม่ได้นะคะ แต่เป็นเรื่องหนึ่งบทในหนังสือพระอาจารย์ชื่อ "บุญที่ถูกลืม"

บทนี้พระอาจารย์เสนอแนวคิดเกี่ยวกับความตาย และวิธีจัดการกับความตายของคุณยอดรัก สลักใจ ค่ะ

 

ในช่วงนั้น มีสื่อและแฟนเพลง เพื่อนฝูงไปร่วมเยี่ยมเยียนคุณยอดรักจำนวนมาก

พระอาจารย์จึงเขียนว่า น่าจะปล่อยช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิตนี้แก่เจ้าของชีวิตและครอบครัว

มันอาจเป็นช่วงเวลา นาทีทอง ที่คุณยอดรัก ได้มีโอกาสพูดคุย ฝากความรัก ความคิด คำสอน ฝากคำขอโทษหรือกิจธุระที่ค้างแก่คนใกล้ชิด ในครอบครัว

เป็นช่วงเวลา ที่ผู้กำลังก้าวเดินเข้าสู่ หรือกำลังก้าวข้าม ก้าวผ่าน ความตาย ได้ใช้การนิ่งมองดูอย่างมีสติ รับ "ความตายของชีวิต"

และอาจเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ ที่ ก้าวข้าม "ภพ" ประโยคนี้ดิฉันประมวลเอาเอง

 

พระอาจารย์ยังพูดถึงการพยายามยื้อยุด ยืด การตายของ"อวัยวะของมนุษย์"

โดยเครื่องมือทางการแพทย์ ซึ่งเต็มไปด้วยสายระโยง ระยาง ท่อต่าง ๆ สารเคมีหรือยา เพื่อประคับประคอง "อวัยวะ" หาใช่ ยื้อยุด ยืด การตายของชีวิต"คน"

 

พระอาจารย์ เสนอว่า ควรปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ ปล่อยเวลาให้เจ้าของชีวิตเลือกเองให้เป็นเวลาที่ได้อยู่ "คุยกัน" "ฝากฝัง" "สั่งเสีย" หรือ อื่น ๆ ของคนคนนั้น กับคนใกล้ชิด

 

ดีกว่าหรือไม่

 

เมืออ่านแล้ว อดคิดถึงเคสต่าง ๆ หลายเคสที่พบในการงาน

เคสที่ได้รับการตรวจศพ หรือที่เรียกว่า Autopsy

Autopsy เป็นการตรวจศพเพื่อประโยชน์ทางวิชาการทางการแพทย์ เพื่อหาสมมุติฐาน หาสาเหตุ หาข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ ว่า

คนไข้เสียชีวิตด้วยเหตุอะไร

นำไปสู่การหาแนวทางการรักษาที่ดีกว่า ในเคสอื่น ๆ

หรือนำไปสู่ข้อมูล ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์การแพทย์นั่นเอง


บ่อยครั้ง หรือเกือบทุกครั้ง เคสต่าง ๆ เหล่านี้มีร่องรอยผ่านการ ยื้อยุด ยืด ชีวิตของอวัยวะ มาแล้วทั้งสิ้น เพราะ

เป็นเคสรักษาในโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์หนึ่ง

เป็นวัตถุประสงค์ของญาติ? อีกหนึ่ง

 

อวัยวะสำคัญ ๆ หัวใจ ไต สมอง ปอด ตับ ล้วนชอกช้ำ

 

แต่

เหตุการณ์เหล่านี้ยังคงต้องเป็นไปเช่นนี้

 

เขียนเอง แต่ไม่สรุป ไม่มีคำตอบ

ไม่ทราบเช่นกันว่า

 

การพยายามยื้อยุดการตายของอวัยวะ กับการนิ่งมองดูอย่างมีสติรับ"ความตายของชีวิต"

อย่างไหนดีกว่ากัน

 

แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันนะคะ

ขอบคุณค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 394265เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2010 21:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 ธันวาคม 2014 11:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • สวัสดีครับคุณภูสภา
  • แต่ละคนมุมมองไม่เหมือนกันครับ สำหรับญาติคนใกล้ชิดช่วงแรกอาจต้องยื้อยุดกับความตายให้ถึงที่สุดก่อนแม้ได้แค่ร่างกายไว้ก็ยังดี ยังรู้สึกว่าคนที่เรารักยังไม่จากไปอย่างไม่มีวันกลับ จนถึงเวลาหนึ่งเมื่อรู้สึกว่ายื้อไปก็ไม่ได้ประโยชน์อะไร ทำใจได้บ้าง จึงสามารถทำใจปล่อยไปตามธรรมชาติ อย่าลืมว่าคนเราเคยอยู่รักกันนานๆ ย่อมเกิดความผูกพัน จึงทำให้ต้องยื้อยุดไว้ก่อนครับ
  • คนผู้ป่วยเองส่วนใหญ่ก็อยากจากไปแบบสงบไม่ต้องมาทำอะไรทั้งนั้น กรณีนี้ถ้าทั้งผู้ป่วยเตรียมตัวมาดี ก็จะยอมรับความตายอย่างสงบมีสติครับ
  • ถ้าปนโรคที่ทรมาณ รักษาไม่ได้ เป็นระยะสุดท้าย อยู่แบบไม่มีคุณภาพชีวิต เลือกอย่างที่สองนี่น่าจะดีกว่าครับ

สวัสดีค่ะ

ข้อเขียนของพระคุณเจ้า ชวนคิดเสมอเลยนะคะ ขอบคุณค่ะที่นำมาบันทึกให้ได้อ่าน

สวัสดีค่ะ

ฟังความเห็นเด็กๆเรื่องการนับถือ 2 ศาสนาไปแล้ว อยากแสดงความเห็นตนเองบ้างค่ะ

เชิญที่นี่ นะคะ

Ico32

ชำนาญ เขื่อนแก้ว เป็นเรื่องยาก ค่ะ

ประสบการณ์ตรง เราพี่น้องเองยังคิดเห็นไม่ตรงกันเมื่อแม่นอนป่วยหนัก

พี่ ๆ และดิฉันซึ่งอยู่ในสายงานแพทย์ เราไม่กล้าชี้แนะอะไร เพราะแม่คือแม่ของเราทุกคน

น้องชายผูกพันกับแม่มากอยากยื้อยุด ให้นานที่สุด

 

สุดท้ายพี่สาวคนดตซึ่งอยู่กับแม่มาตลอด เป็นผู้เข้มแข็งและบอกทุก ๆ คนว่า แม่เปรย ๆ เรื่องการเตรียมพร้อมรับความตาย

การไม่ให้ใส่สายอะไร ๆ ระโยงระยาง การจัดงานศพซึ่งท่านขอให้เรียบง่าย..

 

เราจึงได้คำตอบกันค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท