หลักะรรมสำหรับการอยู่ร่วมกันในสังคม


อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข

หลักธรรมสำหรับการอยู่ร่วมกันในสังคม

การอยู่ร่วมกันในสังคมมักจะมีปัญหาเกิดขึ้นเสมอ โดยเฉพาะการกระทบกระทั่งกันด้วยวาจา ใจ และการเบียดเบียนกัน สังคมที่มีการเบียดเบียนกันสังคมนั้นย่อมหาความสุขไม่ได้ การปฏิบัติตนให้อยู่ร่วมกันในสังคมให้ราบรื่นเรียบร้อย มีความสุข และมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน พระพุทธเจ้าได้ให้หลักธรรมในการอยู่ร่วมกันไว้ดังนี้

๑. การมีสังคหวัตถุ ๔ คือ มีเครื่องสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน ซึ่งประกอบด้วย

  • ๑.๑ ทาน คือ การให้ปันสิ่งของ ๆ ตนต่อผู้อื่น การผูกใจคนต้องอาศัยการให้เป็นหลักพื้นฐาน การให้เป็นการแสดงออกถึงไมตรีจิตของผู้ให้ที่ผู้รับพอใจ
    ๑.๒ ปิยวาจา คือ การมีถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวาน น่าฟัง ซึ่งเป็นอีกส่วนหนึ่งที่จะช่วยครองใจคนด้วยไมตรีจิต
    ๑.๓ อัตถจริยา คือ การประพฤติตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น เป็นคนไม่ดูดาย รู้จักช่วยเหลือผู้อื่น บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม
    ๑.๔ สมานัตตตา คือ ความเป็นผู้มีตนสม่ำเสมอ วางตนเหมาะสมไม่ถือตัว นอบน้อมต่อผู้ใหญ่


    ๒. การมีผาสุกวิหารธรรม คือ ธรรมอันเป็นเครื่องอยู่อย่างเป็นสุข คนเราไม่ว่าจะอยู่ร่วมกันในครอบครัว ในองค์การ หรือในสังคมก็ตาม จะอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขได้ต้องตั้งมั่นอยู่ในหลักธรรม ๖ ประการ คือ

  • ๒.๑ เมตตากายกรรม คือ มีเมตตาต่อกัน ทำอะไรด้วยกายที่ไม่ก่อความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น
    ๒.๒ เมตตาวจีกรรม คือ จะพูดอะไรต้องมีเมตตาต่อกัน โดยสำนึกถึงความเสียหายของผู้อื่น ไม่พูดให้เกิดความเข้าใจผิด หรือแตกแยกความสามัคคี
    ๒.๓ เมตตามโนกรรม คือ คิดอะไรต้องมีจิตเมตตาทั้งต่อหน้าและลับหลัง มีความปรารถนาดี ไม่คิดร้าย คิดทำลาย ไม่คิดแก้แค้น คิดแต่ในทางที่ดีเป็นกุศล
    ๒.๔ มีการแบ่งปันลาภที่ตนไดมาแล้วโดยชอบธรรม ให้แก่ผู้อื่นที่สมควรให้ โดยไม่หวงไว้ใช้หรือบริโภคแต่เพียงผู้เดียว
    ๒.๕ มีความประพฤติเสมอกัน คือ จะต้องมีศีลบริสุทธิ์เหมือนกัน ไม่รังเกียจผู้อื่น ต้องเคารพในสิทธิอันเสมอภาคกัน
    ๒.๖ มีความคิดถูก คิดดีเหมือนกัน คือ มีความคิดเห็นที่ประเสริฐ เป็นความคิดที่เกื้อกูลไปสู่ความสุข ความเจริญ และพ้นทุกข์ ไม่วิวาทกับใคร ๆ เพราะมีความเห็นผิดกัน

    ๓. การมีสามัคคีธรรม คือ ความพร้อมเพรียงของหมู่คณะทำให้เกิดสุขในทางปฏิบัติ สามัคคีธรรมประกอบด้วย

  • ๓.๑ ความสามัคคีทางากาย คือ การทำงานร่วมกันด้วยความเสียสละ
    ๓.๒ ความสามัคคีทางใจ คือ มีความพร้อมใจกันที่จะทำกิจทุกอย่าง
    ๓.๓ ความสามัคคีทางความคิด คือ การช่วยกันคิดสร้างสรรค์ความเจริญให้เกิดแก่ส่วนรวม ไม่คิดเพื่อประโยชน์ส่วนตัว


    นอกจากหลักธรรมดังกล่าวข้างต้น มนุษย์ที่อยู่ในสังคมประสบแต่ความทุกข์ ต้องการมีชีวิตที่หลุดพ้นความทุกข์ได้นั้น จึงขอเสนอขั้นตอนของวิธีการแก้ปัญหาทางพุทธศาสนา โดยยึดหลักธรรมการใช้ปัญญาแก้ทุกข์ คือ อริยสัจ ๔ ประการ (The four noble truths) มีดังนี้

  • ๑. ทุกข์ (Suffering)
    ๒. สมุทัย (The cause of suffering)
    ๓. นิโรธ (Cessation of suffering)
    ๔. มรรค (The way leading to the cessation of suffering)

    ในพระพุทธศาสนาถือว่า การแก้ไขความทุกข์ได้เป็นจุดประสงค์อย่างสูงสุด ดังจะเห็นได้ว่า ทฤษฎีอริยสัจ (The noble truths theory) (ของจริงอย่างประเสริฐ) ๔ ประการนั้น คือ ทฤษฎีแก้ความทุกข์โดยตรง แต่เป็นทฤษฎีแปลกว่าธรรมดาก็คือ ทฤษฎีธรรมดานั้นเป็นเรื่องคิดเอาหรือลองตั้งหลักขึ้นไว้ก่อนที่จะได้ผลจริ งจังหรือไม่ก็ค่อยพิสูจน์กันทีหลัง แต่ทฤษฎีอริยสัจของพระพุทธเจ้า มิใช่ความคิดฝันหรือคาดคะเนเอา หากเป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าได้ใช้ชีวิตของพระองค์เองเป็นเดิมพันในการค้น คว้าทดลองจนได้ผลแล้ว ได้พ้นทุกข์จริงแล้ว จึงประกาศทฤษฎีนี้ออกมา พร้อมทั้งทรง ชี้แจงว่าตราบใดที่ยังมิได้ทรงรู้แจ้งเห็นจริงหรือปฏิบัติได้ผลมาเองในเรื ่องนี้แล้ว พระองค์ก็ไม่ปฏิญาณพระองค์ว่าเป็นพระพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ (สุชีพ ปุญญานุภาพ, ๒๕๓๓ : ๑๔๘)
    เพราะฉะนั้น ในการพิจารณาเรื่องการแก้ความทุกข์ของพระพุทธศาสนา เราจึงพิจารณาได้โดยตรงจากเรื่องอริยสัจประการหนึ่ง กับการใช้หลักการในอริยสัจเป็นแนว แล้วใช้ปัญญาสอนใจตนให้หายทุกข์หายกลุ้มประการหนึ่ง
  • ขอบคุณ www.faihin.org/faihin-webboard/21---/189.html -

    หมายเลขบันทึก: 393799เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2010 15:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2012 09:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (0)

    ไม่มีความเห็น

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท