gat-pat ยาขมที่จำเป็นต้องกลืน


เมื่อนักเรียนบ้านนอก(ต้อง)เข้าไปสอบ gat-pat ในเมือง

        ภาคเรียนนี้(กำลังจะสิ้นสุดภาคเรียนที่ 1)  มุ่งเข้าสู่โค้งสุดท้ายของการสอบปลายภาค  นักเรียนกำลังหัวปักหัวปำกับการบ้าน  รายงาน  ชิ้นงานที่ได้รับมอบหมาย  รวมถึงการเตรียมตัวสอบปลายภาค(สำหรับนักเรียนบางคน) ไปพร้อมๆกัน  แน่นอนค่ะว่า...นักเรียนอีกหลายคนก็ไม่เคยรู้สึกรู้สากับการสอบ  สอบก็สอบ  ได้ก็ดี  ตกก็ตก  แต่ที่น่าตื่นเต้นและเร้าใจกว่านี้ยังมีอีก  ประมาณวันที่  8-12  ตุลาคม  หลังสอบปลายภาคเสร็จไม่กี่วัน  นักเรียน ม.6 จำนวนหนึ่งต้องไปสอบสิ่งที่เรียกว่า  gat-pat  ที่ตัวอำเภอเมือง  ที่ห่างจากอำเภอที่เราอยู่ประมาณ 80 กิโลเมตร 

       บางคนเข้าเมืองเป็นครั้งแรก  ความกังวลสูงมากๆ  บางคนเคยเข้าไปนานๆที  ก็ไม่สามารถกังวลน้อยลงไปกว่านี้ได้  ที่หนักกว่านั้นบางคนสอบ 2 สนามสอบ  แต่สนามสอบอยู่คนละฟากของตัวเมือง  ยิ่งแล้วไปกันใหญ่  กังวลอีกเป็น 2 เท่า...นี่เป็นเรื่องของสถานที่เท่านั้นนะคะ  ถามว่าทำไมถึงรู้ว่านักเรียนมีความกังวลมากหรือน้อย   อ้าว...ก็พวกเขาบอกอ่ะดิ

        ส่วนข้อสอบ...คนที่เคยไปสอบมาแล้วบอกว่า"คนออกข้อสอบเค้าเก่งค่ะ  อัจฉริยะมากๆที่สามารถคิดค้นการทำข้อสอบแนวนี้ออกมา"  โดยเฉพาะไอ้เจ้าสิ่งที่เรียกว่า  gat  ที่แบ่งออกเป็น 2 ส่วน  ส่วนแรกเป็นการวิเคราะห์หรือเชื่อมโยง  ส่วนที่  2  เป็นภาษาอังกฤษ  เราได้นำข้อสอบเก่ามาดูร่วมกัน  นักเรียนคนที่สอบ  gat  ได้คะแนนมากที่สุด(ของโรงเรียน)  พยายามอธิบายวิธีการทำข้อสอบให้ครูฟังอยู่หลายคำ  แต่...ครูแนะแนวมึนตึ้บเลยค่ะ (ฉลาดน้อยหรือเปล่าคะครู)

         เอาเป็นว่า  ปีที่ผ่านมานักเรียนหญิงที่อยากเรียนพยาบาลหลายคนต้องอกหักกันไป  เพราะ ว.พยาบาลบรมราชชนนี กำหนดคะแนน pat2  (วิทยาศาสตร์)  ต้องไม่ต่ำกว่า 120/300  คะแนน  ฮือ...ฮือ...แง...แง  นักเรียนของเราได้คะแนนเกินร้อยอยู่ไม่กี่คน  แถมยังไม่ถึง 120 ด้วย  นอกนั้นน่ะหรือ  ต่ำกว่าร้อยคะแนนรวดเลยค่ะ 

        เอ่อ...ถ้าหากนะคะ  ถ้าหากว่าสนามสอบ  gat-pat  อยู่ตามสนามสอบอำเภอเหมือนสอบ  o-net  ได้  นักเรียนคงจะมีคะแนนดีขึ้นซัก 2-3  คะแนนกระมังคะ  ในเมื่อ สทศ.ก็เป็นเจ้าภาพการสอบทั้งสองประเภทอยู่แล้วนี่นา  น่าจะลองรับไปพิจารณาเนาะ 

        เดี๋ยวหลังการสอบครั้งที่  3/2553 ตุลานี้แหละ  ต้องคอยลุ้นผลคะแนนของเด็กๆอีกครั้ง  ไม่รู้ว่าจะมี  "ค่าน้ำหนัก" พอนำไปคัดโควตาสถาบันต่างๆหรือเปล่า        

       นี่แหละ  gat-pat  ยาขมที่นักเรียนจำเป็นต้องกลืน  เพื่อรักษาโรคอยากเข้ามหาวิทยาลัย  ถ้าไม่รักษาก็...ตายสิคะ  สู้นะ>>>เด็กๆ

 

คำสำคัญ (Tags): #gat-pat#สทศ.
หมายเลขบันทึก: 393234เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2010 22:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 16:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะ

เห็นใจค่ะ  และขอเป็นกำลังใจให้เสมอนะคะ  สู้ ๆ ๆ ๆ ค่ะ

สวัสดีค่ะคุณครูคิม (คนอิสระ) ขอบคุณที่ให้กำลังใจค่ะ จะสู้เพื่อฝันของเด็กๆต่อไปค่ะ

สวัสดีค่ะคุณเบดูอิน (จำได้ว่าชนเผ่านี้ก็รักอิสระเหมือนกันใช่ไหมคะ) ขอบคุณสำหรับคำสั้นๆแต่ "จี๊ด"เข้าไปในใจนะคะ "ขมเป็นยา" เราจะรักษากันต่อไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท