MARE LIBERUM กับ RES COMMUNIS กับ RES NULLIUSหมายความว่าอย่างไร?


มารู้จัก mare liberum ในกฎหมายทะเลกันเถอะค่ะ...

     Mare liberum หมายความว่า เสรีภาพในท้องทะล โดยในค.ศ. ๑๖๐๙ Hugo Grotius นักกฎหมายระหว่างประเทศคนสำคัญชาวเนเธอเเลนด์ได้เผยแพร่ข้องข้อเขียนคือ"Mare liberum"เขียนยืนยันหลักเสรีภาพในท้องทะเลว่าเป็นมรดกร่วมกันของมนุษยชาติ(common heritage of mankind หรือ Res communis) ผู้ใดจะอ้างสิทธิเหนือท้องทะเลไม่ได้ 

     Res communis หมายถึง สมบัติส่วส่วนรวมของมนุษยชาติ ถือว่าทรัพย์สินเช่นนั้นผู้ใดจะยืดถือครอบครองไม่ได้ แต่จะเป็นสาธารณสมบัติที่ใช้ร่วมกันของมนุษยชาติ

     Res nullius หมายถึง สมบัติไม่มีเจ้าของ ถือว่าทรัพย์สินเช่นนั้นไม่มีเจ้าของ ผู้ใดครอบครองจับจอง(Occupation)  ผู้นั้นเป็นเจ้าของ หรืออีกนัยหนึ่ง คือผู้ใดได้ก่อนผู้นั้นได้กรรมสิทธิ์(the first taker)

     อันเนื่องมาจากตั้งแต่ปลายยุคกลางนั้นรัฐต่างๆ ที่มีศักยภาพทางทะเลต่างอ้างสิทธิเหนือท้องทะเล ตลอดจนขยายอำนาจอธิปไตยของรัฐตนให้ครอบคลุมทะเลมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ไม่ว่าจะเป็น อังกฤษ โปตุเกส ฝรั่งเศส เป็นต้น จึงได้มีความพยายามรื้อฟื้นหลักกฎหมายโรมันขึ้นมาเพื่อมาประสานประโยชน์ระหว่างประเทศ คือหลักที่ว่าทะเลเป็นสาธารณสมบัติของมวลมนุษยชาติ ตามหลัก res communis ซึ่งทำให้ทุกชาติได้รับเสรีภาพในท้องทะเลตามหลัก mare liberum ได้รับความเห็นชอบจากรัฐนาวี แต่ประเทศที่เป็นรัฐชายฝั่งกลับยึดถือหลัก res nullius ที่ทำให้ทะเลเป็นทรัพย์ที่จะจับจองเป็นเจ้าของได้และรัฐชายฝั่งย่อมอ้างอธิปไตยเหนือท้องทะเลได้ตามหลัก Mare clausum ซึ่งเป็นแนวคิดมาจากหนังสือ Mare clausumของจอห์น เซลดอน(John Selden) ที่แต่งขึ้นในค.ศ. ๑๖๓๕ สมัยพระเจ้าชาลส์ที่ ๑ อ้างหลักว่า ทะเลย่อมเป็นทรัพย์ที่มวลมนุษย์ยึดถือครอบครองได้ ดังนั้น แนวความคิดที่แตกแยกเนื่องมาจากผลประโยชน์ขัดกันของรัฐชายฝั่งและรัฐนาวีเสมือนไม่มีทางทำให้ยุติลงได้นอกจากจะประนอมผลประโยชน์ของรัฐชายฝั่งและรัฐนาวีเข้าด้วยกัน

     หลักกฎหมายละตินทั้งสามคำนี้เอง นำไปสู่การพัฒนาและร่วมกันประสานประโยชน์ทางทะเลร่วมกันในเรื่องกฎหมายทะเล และในที่สุด การประชุมยกร่างกฎหมายทะเลครั้งที่ ๓ (The Third United Nations Conference on the Law of the Sea 1983 หรือ UNCLOS III) แม้จะมีปัญหาข้อขัดแย้งตามมาจากการกำหนดอาณาเขตทางทะเลและการใช้สิทธิอธิปไตยของรัฐชายฝั่งและรัฐที่ไม่มีชายฝั่งในเวลาต่อมา

หนังสืออ้างอิง

นพพร โพธิรังสิยากร.กฎหมายทะเลตอนที่ ๑.นิตยสารกระทรวงยุติธรรมดุลพาหเล่มที่ ๑ ปีที่ ๓๕ มกราคมถึงกุมภาพันธ์ ๒๕๓๒,หน้า ๓๔-๔๑

หมายเลขบันทึก: 39242เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2006 15:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 01:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  •  คนกสำคัญชาว พิมพ์ผิดครับ
  • ดีจังเลยครับได้เรียนรู้หลายสาขา






แก้ไขเรียบร้อยแล้ว ขอบคุณมากนะคะที่เข้ามาอ่านและทักทาย...สังคมgotoknow นี้อบอุ่นกว่าที่คิดค่ะ
  • แวะมาเยี่ยมอีกครั้งครับผม
  • สอบเป็นอย่างไรบ้างครับ

จะสอบวันพฤหัสที่ ๓ ส.ค. นี้ค่ะ ตอนนี้ต้องอ่านหนังสือหนักเลยเพราะopen books อาจารย์ผู้สอนบอกว่าจะเข็นรถเข็นใส่หนังสือก็ไม่ว่ากัน...ฮา...

ขอถามนิดนึงครับว่า registered tonnage หมายถึงอะไรหรอครับ ผมไปหเจอใน Advosory Opinions ของ ICJ ใน 1960

อาจตอบช้าไปนะคะสำหรับคุณ blur แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็เพื่อประโยชน์ของท่านผู้อ่านทุกท่านดิฉันพอที่จะพบนิยามของคำว่า registered tonnage มีรายละเอียดดังนี้ค่ะ

Tonnage เป็นหน่วยที่ใช้วัดขนาดของเรือ ได้มีความพยายามาแต่อดีตเพื่อให้การวัดขนาดของเรือเป็นไปตามมาตรฐาน เดียวกัน สนธิสัญญาที่มีข้อตกลงกัน และที่นิยมใช้ในปัจจุบันก็คือ International Tonnage Convention 1969 หรือ ITC 69 ซึ่งระบุ วิธีการคำนวณ Gross Registered Tonnage หรือ GRT และ Net Registered Tonnage หรือ NRT ไว้ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้คือ

Gross Registered Tonnage หรือเรียกย่อ ๆ ว่า GRT คือปริมาตรในส่วนผนึกน้ำทั้งหมดของเรือ 1 หน่วยของ GRT มีปริมาตรประมาณ 100 ลูกบาศก์ฟุต

Net Registered Tonnage หรือเรียกย่อ ๆ ว่า NRT คือปริมาตรในส่วนผนึกน้ำของเรือที่สามารถใช้บรรทุกสินค้าได้ 1 หน่วย ของ NRT มีปริมาณ 100 ลูกบาศก์ฟุต ทั้ง GRT และ NRT ไม่มีหน่วย เช่น เรือมี GRT 9,500 และNRT 6,500 เป็นต้น

ระวางขับน้ำ หรือ Displacement Tonnage คือน้ำหนักของน้ำที่จมลงไปแทนที่น้ำมีหน่วยเป็นเมตริกตันหรือ 1,000 กิโลกรัม ส่วนมากใช้สำหรับกรณีของเรือรบ

น้ำหนักเรือเปล่า หรือLight Displacement Tonnage คือ น้ำหนักของมวลสารทั้งหมดที่ใช้ในการสร้างเรือ มักใช้ค่า 2 หน่วย คือ Long Ton หรือ 1,016 กิโลกรัม และ Metric Ton หรือ 1,000 กิโลกรัม

ระวางขับน้ำสูงสุดเมื่อบรรทุกสินค้า หรือ Loaded Displacement Tonnage คือน้ำหนักของเรือเปล่า และสิ่งของที่บรรทุกอยู่ บนเรือทั้งหมด วัดที่ระดับอัตราการกินน้ำลึกสูงสุดของเรือ หน่วยที่ใช้เป็นเมตริกตันหรือ1,000 กิโลกรัม

ระวางบรรทุกสูงสุด หรือ Deadweight Tonnage หรือเรียกย่อ ๆ ว่า DWT หรือ Deadweight All Told หรือ DWAT คือ น้ำหนักที่เรือสามารถใช้ในการบรรทุกทุกสิ่งรวมทั้งน้ำหนักสินค้า น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำจืด เป็นต้น ที่เรือจะรับได้โดย ปลอดภัย มีหน่วยเป็นเมตริกตัน

ระวางบรรทุกสินค้าสูงสุด หรือ Deadweight Cargo Capacity หรือ DWCC คือน้ำหนักของสินค้าที่เรือจะสามารถบรรทุกได้ สูงสุด DWCC จะมีค่าผันแปรบ้างเล็กน้อย ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของสิ่งอื่น ๆ ที่ไม่ใช่สินค้า ที่บรรทุกอยู่บนเรือ เช่นน้ำมันเชื้อเพลิง น้ำจืด อะไหล่ น้ำอับเฉา หรือ Ballast Water และน้ำหนักค่าคงที่ของเรือหรือ Constant Weight

ความจุของระวางสินค้าเรือ หรือ Grain หรือ Bale Capacity คือปริมาตรความจุของระวางสินค้า มีหน่วยเป็นลูกบาศก์ฟุต หรือ ลูกบาศก์เมตร ถ้าเป็น Grain Cupacity คือปริมาตร ความจุ ที่สามารถบรรจุสินค้าที่เป็นสินค้าเทกอง หรือเป็นเมล็ด ส่วน Bale Capacity คือปริมาตรความจุที่สามารถบรรจุสินค้าที่เป็นกระสอบหรือเป็นกล่องหรือเป็นหีบห่อ

ดังนั้นเมื่อเทียบเคียงกับนิยามของคำว่า registered tonnage นั้นหมายถึง การวัดขนาดของเรือซึ่งจดทะเบียนค่ะ

ดิฉันหวังว่าท่าผู้อ่านจะได้รับประโยชน์ไม่มากก็น้อยค่ะ

**หมายเหตุขอบคุณแหล่งที่มาดีๆ ค่ะ ของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2552 จากhttp://cms.sme.go.th/webboard/posts/list/1850.page

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท