Mr.CHOBTRONG
ผศ. สมศักดิ์ สถาบันวิจัยและพัฒนา ชอบตรง

ระบบประกันคุณภาพ ตอนที่ 2


ระบบประกันคุณภาพ ตอนที่ 2
สิ่งที่ควรจะตอบมาตรฐานของการศึกษา ควรจะคิดวิธีประกันให้ได้ว่า เมื่อผ่านระบบการศึกษาไปแล้วบัณฑิตควรจะเข้าใจว่า การทำหน้าที่ของมนุษย์ที่แท้จริง มิใช่ทะเยอทะยานที่จะมีชีวิตที่ทันสมัยโดยการ แย่งชิงบางสิ่งบางอย่าง ให้ตัวเองมีสถานะเหนือคนอื่น การศึกษาต้องทำให้ มีความรู้ที่จะดูแลเพื่อนร่วมสังคมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี เช่นเดียวกับที่เราคิดจะดูแลชีวิตเรา แล้วการศึกษาเช่นนี้ก็จะรับประกันได้ว่า ได้สร้างภูมิคุ้มกันไห้มนุษย์ได้อย่างแท้จริง  และแก้ปัญหาที่กำลังเกิดอยู่ในปัจจุบันได้ ไม่เช่นนั้นเราก็จัดการศึกษาแบบเหนื่อยฟรี   สมศ. ก็เหนื่อยฟรี เปลื้องเวลา เปลื้องกระดาษ เปลื้องไฟฟ้า สำหรับการประชุมครั้งแล้ว ครั้งเล่า และเปลื้องเวลาที่จะมากล่าวหากันเอง ซึ่งดัชนีและตัวชี้วัดมันไม่ควรจะปรากฏอยู่เพียงบนกระดาษ แต่ควรจะวัดจากสภาพสังคมที่แท้จริง ดังนั้นพวกเราในฐานะผู้เกี่ยวข้องโดยตรง ควรเสนอทางสว่างแก่ สมศ.  ด้ เพราะเขาอาจมีขีดจำกัดบางอย่างที่ไม่สามารถข้ามพ้นได้แต่ที่เสนอความคิดเห็นเช่นนี้ไม่ได้มีเจตนาให้เลิกทำ แต่ควรมีการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาให้ตรงกับปัญหาที่มนุษย์กำลังประสบอยู่ และ ปัญหาที่กำลังเผชิญกันอยู่ทุกวันนี้ ก็คือวิธีคิดหรือวัฒนธรรมแห่งการแย่งชิงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยเข้าใจผิดว่าหากได้สิ่งนั้นแล้วตัวเราและสังคมจะมีความสุขเพราะสิ่ง ๆ นั้น สุดท้ายเราก็ควบคุมความอยากของเรามิได้ นี่แสดงให้เห็นว่าเราเริ่มต้นจากความไม่รู้ แต่คิดว่ารู้ ท่านพุทธทาส  เรียกสิ่งนี้ว่า ความมืดสีขาว ซึ่งร้ายกว่าความมืดสีดำเสียอีก เพราะเรามองมันเป็นสีขาว เพราะฉะนั้นสิ่งที่อยากเสนอให้พัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษา ให้แก้ปัญหาตรงตามที่มนุษย์มีปัญหาคือ มีปัญหาเรื่องสติปัญญา คือ รู้ความจริงไม่ถึงที่สุด ดังนั้นวิธีแก้ไขคือ สถาบันการศึกษาต้องรับประกันว่า             1. ตัวเองมีความรู้ชนิดรู้แจ้งจนถึงที่สุด ( รู้ความจริงสากลที่ไม่เปลี่ยนแปลง ) ไม่ใช่รู้จักแต่สิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้เท่านั้น การรู้จักแต่สิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้   เราก็จะถูกการเปลี่ยนแปลงนั้น     โยกคลอน และเคลื่อนไหวไปมา ยากที่จะหลุดออกจากวงจรนั้นได้ ซึ่งสังเกตได้จากการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม             2. เมื่อมีความรู้ชนิดรู้แจ้งแล้ว ( การรับรู้สิ่งสากล )  ต้องประกันกระบวนการทั้งในทางทฤษฏี และ การฝึกปฏิบัติ ว่าเป็นการฝึกเพื่อให้รู้แจ้ง ทฤษฏีและวิธีการเหล่านี้ อาจพบได้จากทฤษฏีเศรษฐกิจพอเพียง การพึ่งตัวเอง การมีชีวิตที่เรียบง่าย ไม่ฟุ้งเฟ้อ แต่ปัจจุบันกำลังตรงกันข้าม มาตรฐานการประกันคุณภาพในปัจจุบันไม่สามารถทำให้มนุษย์พึ่งตนเอง และ ระงับความฟุ้งเฟ้อได้ สังเกตได้จาก พฤติกรรมของนักศึกษา และผู้ที่เกี่ยวข้อง            3. เมื่อทำข้อ 1 และ 2 ได้แล้ว   ต้องประกันได้ว่า ผู้ผ่านระบบการศึกษาเช่นนี้ จะมองสิ่งรอบข้างในฐานะเป็นมิตรมากกว่าเหยื่อ และ สามารถปรองดองกันได้  แม้จะมีความต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา และ เศรษฐกิจ หากสภาพสังคม ยังแยกคนออกเป็นชั้น ๆ แยกวรรณะ  แยกตำแหน่ง โอกาสปรองดองกันได้ก็จะยากขึ้น             แม้ว่ามาตรฐานทั้ง 3 ข้อที่เสนอมาจะมีลักษณะเป็นนามธรรมสูง แต่ก็ใช่ว่าจะจัดทำตัวชี้วัดไม่ได้ และ มันก็ท้าทายกว่าตัวชี้วัดเดิมๆ  ที่มีขึ้นในครั้งที่เราจัดการศึกษาเมื่อ 200 ปีที่แล้วเป็นต้นมา ที่เสนอความคิดเช่นนี้ไม่ได้ประสงค์ จะลบล้างทัศนะและความเชื่อเดิม แต่เสนอทางเลือกที่ช่วยพัฒนา ระบบเดิมที่ได้กระทำกันอยู่แล้วในปัจจุบัน เพราะทุกคนมีเสรีภาพในการคิดและกระทำและถูกต้องตามสติปัญญาของตัวเองกันทั้งสิ้น   การจะกล่าวว่าตัวเองคิดถูกและผู้อื่นคิดผิดเป็นเรื่อง ที่ไม่ควรกระทำ เพราะถูกผิดเป็นการรับรู้เฉพาะตัว มิใช่ความจริงแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามระบบประกันคุณภาพการศึกษาเริ่มต้นจากการประกันตัวเอง รู้จักตัวเอง รู้จักความจริงสากล และสิ่งนี้จะเป็นเครื่องประกันความวุ่นวายของสังคมได้อย่างแน่นอน ส่วนเครื่องมือที่คิดขึ้นจนรุงรัง  นั้นควรคัดเลือกเฉพาะที่จำเป็น คือ จำเป็นสำหรับการรู้แจ้ง หรือ รู้จักสิ่งไม่เปลี่ยนแปลง จะได้มีภูมิคุ้มกันชีวิตด้วย
หมายเลขบันทึก: 39192เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2006 12:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท