อ.ผัก
อาจารย์ พท. ศุภฤกษ์ ภมรรัตนปัญญา

โลกาภิวัฒน์ ตอนที่ ๓


โลกาภิวัฒน์

โลกาภิวัฒน์

  

                                                                        ศุภฤกษ์  ภมรรัตนปัญญา
ผลกระทบของโลกาภิวัตน์
     
                    
 
โลกาภิวัตน์มีผลกระทบต่อโลกในหลายแง่มุม เช่
  • อุตสาหกรรม – การปรากฏของตลาดการผลิตที่เกิดขึ้นทั่วโลก และช่องทางเข้าถึงผลิตภัณฑ์ต่างประเทศที่กว้างขึ้นสำหรับผู้บริโภคและบริษัท
  • การเงิน – การปรากฏขึ้นของตลาดการเงินทั่วโลกและการเข้าถึงเงินลงทุนจากแหล่งภายนอกที่ง่ายและสะดวกขึ้นของบริษัทต่างๆ ประเทศและรัฐต่ำกว่าประเทศที่ประสงค์ของกู้ยืม
  • เศรษฐกิจ - การยอมรับตลาดร่วมของโลกบนพื้นฐานแห่งเสรีภาพในการแลกเปลี่ยนสินค้าและทุน
  • การเมือง - การเมืองโลกาภิวัตน์หมายถึงการสร้างสรรค์รัฐบาลโลกที่จะทำหน้าที่กำกับดูแลความสัมพันธ์ระหว่างชาติและให้หลักประกันสิทธิ์ที่เกิดจากสังคมและเศรษฐกิจของโลกาภิวัตน์ ในทางการเมือง สหรัฐฯ ได้รับประโยชน์จากการครองอำนาจในโลกในหมู่ชาติมหาอำนาจ ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและความั่งคั่งของประเทศ ด้วยอิทธิพลของโลกาภิวัตน์และจากการช่วยเหลือของสหรัฐฯ ประเทศจีนได้เจริญเติบโตอย่างมหาศาลในช่วงเพียงทศวรรษที่ผ่านมา หากจีนมีความเจริญเติบโตในอัตราตามแนวโน้มนี้ต่อไป เป็นไปได้ที่จะเกิดการเคลื่อนย้ายศูนย์อำนาจในระหว่างประเทศผู้นำภายใน 20 ปีข้างหน้า ประเทศจีนจะมีความมั่งคั่ง มีอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีที่สามรถท้าทายสหรัฐฯ ในการเป็นประเทศมหาอำนาจผู้นำ
  • ข้อมูลข่าวสาร – มีการเพิ่มการไหลบ่าของข้อมูลข่าวสารระหว่างพื้นหรือภูมิภาคที่อยู่ห่างไกลกันมาก
  • วัฒนธรรม – การเจริญเติบโตของการติดต่อสัมพันธ์ข้ามวัฒนธรรม เกิดมีประเภทใหม่ๆ ในด้านความสำนึกและเอกลักษณ์ เช่น “โลกาภิวัตน์นิยม” - ซึ่งครอบคลุมการแพร่กระจายทางวัฒนธรรมและการได้บริโภคผลิตภัณฑ์และความคิดจากต่างประเทศ การรับเทคโนโลยีใหม่มาใช้และการเข้าร่วมใน “วัฒนธรรมโลก”
  • นิเวศวิทยา – การปรากฏขึ้นของความท้าทายในปัญหาสภาวะแวดล้อมในระดับโลกที่ไม่สามารถแก้ปัญหาได้โดยปราศจากความร่วมระดับนานาชาติ เช่นปัญหา “การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศมลภาวะทางน้ำและอากาศที่ครอบคลุมหลายเขตประเทศ การทำประมงเกินขีดความสามารถในการรองรับ การกระจายของพันธุ์พืชและสัตว์ที่ไม่พึงประสงค์ การสร้างโรงงานเป็นจำนวนมากในประเทศกำลังพัฒนาที่ก่อมลภาวะได้อย่างเสรี
  • สังคม – ความสำเร็จในการบอกรับข่าวสารโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายสำหรับประชาชนของทุกชาติในโลก
  • การขนส่ง – การลดจำนวนลงไปเรื่อยๆ ของรถยุโรปในถนนของยุโรป (อาจกล่าวได้เช่นเดียวกันสำหรับอเมริกา) และการสิ้นปัญหาเรื่องระยะทางที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีต่างๆ มาช่วยลดเวลาการเดินทาง
  • การแลกเปลี่ยนที่มากขึ้นของวัฒนธรรมสากล
    • การขยายตัวของ “อเนกวัฒนธรรมนิยม” และการเข้าถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่ง่ายขึ้นสำหรับปัจเจกบุคคล (เช่นการส่งออกภาพยนตร์ของฮอลลีวูดและบอลลีวูด หรืออุตสาหกรรมภาพยนตร์ของอินเดีย) อย่างไรก็ดี การนำเข้าวัฒนธรรมอาจทำให้เกิดการกลืนทางวัฒนธรรมท้องถิ่นได้ง่าย มีผลให้ความหลากหลายทางวัฒนธรรมมีน้อยลงจากการผสมผสานระหว่างกันเกิดเป็นวัฒนธรรมพันธุ์ทาง หรืออาจถูกกลืนโดยการค่อยๆ รับวัฒนธรรมใหม่มาใช้โดยสิ้นเชิง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดในกรณีนี้ได้แก่การรับวัฒนธรรมตะวันตก Westernization) ของหลายประเทศเมื่อเร็วๆ นี้ แต่การรับวัฒนธรรมจีน ( Sinicization) ได้เกิดขึ้นทั่วเอเซียมานานนับศตวรรษแล้ว
  • การเดินทางและการท่องเที่ยวระหว่างประเทศที่มากขึ้น
    • การเข้าเมืองที่มากขึ้น รวมทั้งการเข้าเมืองที่ผิดกฎหมาย
    • การแพร่ขยายของสินค้าบริโภคของท้องถิ่น (เช่นอาหาร) สู่ต่างประเทศมากขึ้น
    • การคลั่งไคล้แฟชั่นวัฒนธรรมยอดนิยมระดับโลก เช่น คาราโอเกะ, โปเกมอน, ซุโดกุ, นูมะ นูมะ, โอริกามิ, Idol series, ยูทูบ, ออร์กัต, เฟซบุ๊ก, และ มายสเปซ
    • กีฬาระดับโลก เช่น ฟุตบอลโลก และกีฬาโอลิมปิก
    • การเกิดหรือการพัฒนาชุดของ “คุณค่าสากล” universal value
  • ด้านเทคนิค/กฎหมาย
    • การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของระบบการติดต่อสื่อสารระดับโลก และการเพิ่มการเคลื่อนไหลของข้อมูลข่าวสารข้ามพรมแดนที่ใช้เทคโนโลยี เช่น อินเทอร์เน็ต ดาวเทียมสื่อสารเคเบิลใยแก้วใต้น้ำ และโทรศัพท์มือถือ
    • การเพิ่มจำนวนของมาตรฐานที่นำออกใช้ทั่วโลก เช่น กฎหมายลิขสิทธิ์การจดทะเบียนลิขสิทธิ์ และการตกลงทางการค้าโลก
    • การผลักดันโดยผู้สนับสนุนให้มีศาลอาญานานาชาติ ( international criminal court) และศาลยุติธรรมนานาชาติ (International Court of JusticeIInternational Court of justice)
  • การตระหนักด้านเพศ – โดยทั่วไป การมองโลกาภิวัตน์เฉพาะด้านเศรษฐกิจเป็นเรื่องง่าย แต่ในด้านเพศนี้มีเบื้องหลังในความหมายทางสังคมที่หนักแน่น โลกาภิวัตน์มีความหมายในปฏิสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมระหว่างประเทศต่างๆ หลายประเทศ โลกาภิวัตน์อาจส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านความเสมอภาคทางเพศ และประเด็นนี้เองที่นำไปสู่การตระหนักถึงความไม่เสมอภาคของสตรีเพศ (บางครั้งเป็นความโหดร้าย) ที่เป็นอยู่ในหลายประเทศทั่วโลก ตัวอย่างเช่น สตรีในในหลายประเทศในแอฟริกาที่สตรีจะต้องถูกขริบอวัยวะเพศด้วยวิธีการที่เป็นอันตราย ซึ่งโลกเพิ่งรับรู้และทำให้ประเพณีนี้ลดน้อยลง
คำสำคัญ (Tags): #โลกาภิวัฒน์
หมายเลขบันทึก: 390777เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2010 15:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2014 07:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

อาจารย์คุณหลวงสอนด้านไหนกันแน่ค่ะ ทำไมรู้หลายเรื่องจัง

สวัสดีครับคุณไผ่ไม่มีกอ

           ด้านวัฒธรรมชนเผ่าเเละมนุษยวิทยาการแพทย์ครับ เเต่มีพิเศษบ้างคือ ด้านการแพทย์แผนไทยครับ 

น่าสนใจมากเลยคะ เพราะโลกเปลี่ยนแปลง ไป มีผลกระทบหลายอย่าง อย่างคุณหลวงว่า คิดว่าบทความนี้ นักศึกษาที่กำลังค้นเรื่องโลกาภวัตน์ จะถูกใจมาก เพราะนำไปส่งอาจารย์ ได้เลย แต่อยากบอกว่า แสดงที่มาของบทความด้วยคะ อ้างอิงคะ

สวัสดีครับพี่สุ

       อ้างอิงมาจากหลายเล่มเลยครับ เป็นการนำมาเรียบเรียงใหม่ครับ ของ นศ. ที่ได้จัดทำไว้ เเละนำมาวิเคราะห์ให้ละเอียดมากยิ่งขึ้น อีกรอบนึงครับ อิอิ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท